Tag: pottermore

ศตวรรษที่สิบสี่ – ศตวรรษที่สิบเจ็ด (Fourteenth Century – Seventeenth Century)

บทความนี้ทาง Pottermore มีการแปลไทยให้เป็นพิเศษ ควบคู่ไปกับต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง แต่ทาง Muggle-V ขอมาแปลไทยเองอีกต่อเพื่อให้เกิดความตรงต่อหนังสือฉบับภาษาไทย และเข้าใจได้ไหลลื่นขึ้น โดยเนื้อหาจะมีทั้งหมด 4 ส่วนซึ่งอีก 3 ส่วนจะทยอยตามกันมาในวันที่ 9 10 และ 11 มีนาคมนี้ เวลา 3 ทุ่มตรงตามเวลาประเทศไทยเช่นเดิมครับ ซึ่งทาง Muggle-V จะรีบแปลไทยให้ทันทีครับ ถึงแม้นักสำรวจชาวยุโรปเรียกมันว่า “โลกใหม่” เมื่อพวกเขาไปถึงทวีปนั้นเป็นครั้งแรก แต่ผู้วิเศษรู้จักอเมริกามาเนิ่นนานก่อนพวกมักเกิ้ล …

จับตาพอตเตอร์ พรุ่งนี้! กับเนื้อหาใหม่ล่าสุดจาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง ส่งตรงที่ Pottermore!

พบกับงานเขียนชิ้นใหม่พรุ่งนี้ ประวัติศาสตร์เวทมนตร์ในอเมริกาเหนือ By J.K. Rowling โลกแห่งเวทมนตร์ที่คุณคิดว่ารู้จักดีนั้นใหญ่เกินกว่าที่คุณจินตนาการไว้… (คลิก CC ในคลิปวิดีโอ เพื่อรับชมพร้อมบรรยายไทย) พรุ่งนี้ บ่ายสองโมง เวลามาตรฐานกรีนิช (8 มีนาคม 2016) หรือวันที่ 8 มีนาคม 2016 เวลา 21:00 น. ตามเวลาประเทศไทย! เรามีความยินดีที่จะเสนองานเขียนชิ้นใหม่ลำดับที่หนึ่งในสี่ของเจ.เค. โรว์ลิ่ง เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แห่งเวทมนตร์ในทวีปอเมริกาเหนือ ยังมีเรื่องราวอีกมากมายให้คุณได้ค้นพบก่อนที่สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ จะออกฉายในเดือนพฤศจิกายน …

6 กรกฎาคม 2014 – บัลแกเรีย พบ ญี่ปุ่น

จินนี่ พอตเตอร์ นักข่าวควิดดิชประจำเดลี่พรอเฟ็ต รายงานจากทะเลทรายปาตาโกเนีย   บัลแกเรีย 610 – ญี่ปุ่น 460   หนึ่งนาทีก่อนเดินออกสู่สนามของการแข่งรอบรองชนะเลิศนัดที่สองของปีนี้ บีตเตอร์บัลแกเรีย บอริส วัลชานอฟ (Boris Vulchanov) บอกกับดิฉันว่า ‘พวกเราถูกมองเป็นไก่รองบ่อนมาตลอดการแข่งขันนี้ พวกเราไม่มีอะไรจะต้องเสีย แต่ก็มีทุกอย่างพอที่จะชนะ พวกเราจะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปข้างนอกนั่น’ ไม่มีใครที่จะปฏิเสธได้ว่าพวกเขาเป็นเช่นนั้น ถ้าจะมีอะไรสักอย่างที่ทำให้ญี่ปุ่น ทีมซึ่งเล่นได้ยอดเยี่ยมตลอดการแข่งขันนี้และส่งให้สองบีตเตอร์มือฉมัง ชินโกะ (Shingo) และฮงโกะ (Hongo) …

5 กรกฎาคม 2014 – สหรัฐอเมริกา พบ บราซิล

จินนี่ พอตเตอร์ นักข่าวควิดดิชประจำเดลี่พรอเฟ็ต รายงานจากทะเลทรายปาตาโกเนีย บราซิล 420 – สหรัฐอเมริกา 310 ทันทีที่พระอาทิตย์ขึ้น ณ ปาตาโกเนีย 2 ทีมที่เหนื่อยอ่อนแต่ยังมุ่งมั่นดูเหมือนจะมีสมาธิจดจ่อและเคารพกฎกติกามากขึ้น หลังจากค่ำคืนการเล่นที่แสนเหนื่อยหนักหฤโหด พอมาถึงจุดนี้พวกเราก็ได้เห็นถึงเหตุผลที่ทั้ง 2 ทีมทะลุเข้ามาถึงรอบรองชนะเลิศ การเล่นกับลูกควัฟเฟิลที่ทรงพลังน่าตื่นเต้นระหว่างเชสเซอร์ทั้งสามของทั้งสองทีมทำเอาเกมพลิกไปมาได้ตลอดแมตช์ แต่คีปเปอร์บราซิล ราอูล อัลเมด้า (Raul Almeida) นั้นสร้างความแตกต่างที่สำคัญด้วยการป้องกันการจู่โจมทำประตูของฝ่ายอเมริกันได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดาเรียส สแมกแฮมเมอร์ (Darius Smackhammer) …

4 กรกฎาคม 2014 – สหรัฐอเมริกา พบ บราซิล

จินนี่ พอตเตอร์ นักข่าวควิดดิชประจำเดลี่พรอเฟ็ต รายงานจากทะเลทรายปาตาโกเนีย   สหรัฐอเมริกา 120 – บราซิล 100 (ยังแข่งต่อ)   เป็นหนที่ 2 แล้วในการแข่งขันนี้ที่ดูเหมือนว่าเกมจะเล่นยาวตลอดคืน หรือบางทีอาจเลยกว่านั้น ถ้าจะมีสักคำที่จะสรุปการแข่งรอบรองชนะเลิศนี้ได้จนถึงเดี๋ยวนี้ก็ต้องเป็นคำว่า ‘ปวดประสาท’ การเล่นที่ผิดพลาดไม่ระมัดระวังมีเสียเรี่ยราดไปหมดในแมตช์ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสิทธิ์ในการเข้ารอบสุดท้ายนั้นสำคัญมากขนาดไหนสำหรับทั้งสองทีม ทีมสหรัฐอเมริกาไต่อันดับสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ ในการแข่งขันกว่าที่เคยทำได้มาก่อนหน้านี้ ถือได้ว่าปี 2014 วิวัฒนาการของทีมเป็นที่หมายตาในฐานะกำลังสำคัญในกีฬานี้ ในขณะที่ทีมบราซิล ทีมที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่หลังเสียสูญกับแนวทางตัวเองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็กำลังสู้สุดใจขาดดิ้นเพื่อเข้ารอบสุดท้าย …

2 กรกฎาคม 2014 – วางเดิมพันของคุณกับลูโด แบ็กแมน

ความพ่ายแพ้ที่น่าสะพรึงของทีมตัวเก็งอย่างนอร์เวย์และไนจีเรีย ทำเอาพวกเจ้ามือรับแทงพากันยิ้มระรื่น และ ณ ตอนนี้ลูโด แบ็กแมน (Ludo Bagman) อดีตบีตเตอร์ทีมชาติอังกฤษและนักพนันผู้กระตือรือร้นได้ประเมินโอกาสของเหล่าทีมผู้เข้ารอบรองชนะเลิศที่ยังเหลืออยู่ พร้อมทั้งโอกาสที่ทีมพวกนี้จะได้ชูชัยถ้วยรางวัลที่หมายปองไว้ให้แล้ว บราซิล บราซิลชนะควิดดิชเวิลด์คัพมาแล้ว 5 ครั้ง แต่ในช่วงยุค 90 และต้นยุคปี 2000 กลับถูกพิจารณาโดยทั่วไปว่าเป็นช่วงปีแห่งความว่างเปล่าสำหรับทีมที่ครั้งหนึ่งดีเลิศหนักหนา ผู้จัดการโฮเซ่ บาร์โบซ่า (José Barboza) กลับมาทำให้เกมกีฬาประจำชาติกระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง ด้วยการรวมตัวผู้เล่นวัยละอ่อนจากทุกมุมประเทศมาไว้ด้วยกัน กับอายุโดยเฉลี่ยแค่ 22 ปี ถือได้ว่าเป็นทีมที่อ่อนประสบการณ์ที่สุดที่ยังอยู่ในการแข่งขัน …

มาโฮโทะโคะโระ (Mahoutokoro) [Mah – hoot – o – koh – ro]

โรงเรียนเวทมนตร์ญี่ปุ่นอันเก่าแก่แห่งนี้มีนักเรียนที่ตัวเล็กที่สุดเมื่อเทียบกันทั้ง 11 โรงเรียน และรับนักเรียนตั้งแต่พวกเขาอายุเพียง 7 ปี (ถึงแม้ว่าจะยังไม่ต้องอยู่ที่โรงเรียนจนกว่าจะอายุ 11 ปีก็ตาม) โดยในแต่ละวันนักเรียนจะบินไปกลับบ้านโดยการนั่งบนหลังของฝูงนกโต้คลื่นยักษ์ (giant storm petrel) หลายส่วนของโรงเรียนได้รับการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามและหรูหราไปด้วยสิ่งที่ทำขึ้นจากหยกเนื้ออ่อนสีขาวโปร่ง (mutton-fat jade) และตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเกาะภูเขาไฟมินามิ อิโว จิมะ (Minami Iwo Jima) อันรกร้างไร้ประโยชน์ (หรืออย่างน้อยมักเกิ้ลก็คิดแบบนั้น) นักเรียนของที่นี่จะได้รับเสื้อคลุมมนตราทันทีที่พวกเขามาถึง โดยชุดคลุมนี้จะใหญ่ขึ้นตามขนาดตัวเจ้าของที่สวมใส่มัน รวมถึงจะค่อยๆ เปลี่ยนสีตามความรู้ที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของ แรกเริ่มนั้นจะเป็นสีชมพูจางก่อนจะค่อยๆ …

แวกกาดู (Uagadou) [Wag-a-doo]

ถึงแม้ว่าในแอฟริกาจะมีจำนวนโรงเรียนเวทมนตร์น้อยที่สุด แต่ที่เดียวที่มีก็ได้ก่อตั้งมาอย่างยาวนาน (อย่างน้อยๆ ก็ราวหนึ่งพันปี) และมีชื่อเสียงประสบความสำเร็จอย่างน่าอิจฉาในระดับนานาชาตินั่นก็คือ แวกกาดู (Uagadou) โรงเรียนเวทมนตร์ที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถรองรับนักเรียนจากทวีปอันยิ่งใหญ่ได้ทั้งทวีป โดยมีข้อมูลที่อยู่เพียงแค่ “เทือกเขาจันทรา (Mountains of the Moon)” ที่ซึ่งนักเดินทางได้กล่าวไว้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอันงดงามสลักเสลาจากภูเขาด้านหนึ่งและถูกปกคลุมไปด้วยหมอกทึบ นั่นทำให้บางครั้งมันก็ดูเหมือนกำลังลอยอยู่กลางอากาศ เวทมนตร์โดยมาก (บางตำราก็กล่าวว่าทั้งหมด) เป็นเวทมนตร์ท้องถิ่นของแอฟริกา และที่แวกกาดูนี้นักเรียนส่วนใหญ่จะมีความเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ การเล่นแร่แปรธาตุ และศาสตร์การแปลงร่างเป็นพิเศษ ไม้กายสิทธิ์นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นในยุโรป ขณะที่ส่งต่อมายังพ่อมดแม่มดแอฟริกาในลักษณะของเครื่องใช้อันมีประโยชน์เมื่อศตวรรษก่อนนี้เอง ทำให้การร่ายคาถาส่วนใหญ่พวกเขามักจะใช้การชี้นิ้วหรือโบกมือเป็นท่าทางต่างๆ นั่นทำให้นักเรียนแวกกาดู สามารถใช้เป็นข้ออ้างได้เมื่อถูกกล่าวหาว่าแหกกฎบทบัญญัติว่าด้วยการปกปิดความลับพ่อมดแม่มดนานาชาติ (‘ผมแค่สะบัดมือไปมา ไม่ได้หมายความว่าผมต้องการร่ายคาถาใส่คางของเขาสักหน่อย’) …

โรงเรียนเวทมนตร์ (Wizarding Schools)

ประเทศที่มีโรงเรียนเวทมนตร์เป็นของตนเองนั้นมีจำนวนอยู่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ไม่มี สาเหตุเพราะว่าประชากรพ่อมดแม่มดในแต่ละประเทศส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะศึกษาด้วยตนเองที่บ้าน ในบางกรณีชุมชนผู้วิเศษในประเทศดังกล่าวนั้นมีขนาดเล็กหรือกว้างกระจายออกไป การศึกษาทางไปรษณีย์จึงมีประสิทธิผลที่ดีกว่าในการให้การศึกษาแก่เหล่าคนหนุ่มสาว มีโรงเรียนพ่อมดแม่มดที่ก่อตั้งมายาวนานและมีเกียรติทั่วโลก 11 แห่งด้วยกัน โดยโรงเรียนทั้งหมดนั้นได้ขึ้นทะเบียนกับสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ (International Confederation of Wizards) สถาบันที่เล็กกว่าและมีการจัดระเบียบด้อยกว่านั้นถูกสร้างขึ้นมาแล้วเลิกไป เฝ้าติดตามได้ยาก และไม่ค่อยได้ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงที่เหมาะสม (ในบางกรณีฉันไม่อาจรับรองเรื่องมาตรฐานการศึกษาที่เขาเสนอขึ้นมา) ใครก็ตามที่ปรารถนาจะรู้ว่ามีโรงเรียนเวทมนตร์ที่ได้รับการรับรองในพื้นที่ของพวกเขาหรือไม่ ควรส่งนกฮูกไปสอบถามที่สำนักงานการศึกษา (Educational Office) ของสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ ตำแหน่งที่ถูกต้องของโรงเรียนดังกล่าวนั้นถูกเก็บรักษาเป็นความลับอย่างเคร่งครัด โรงเรียนเหล่านี้ไม่ได้กลัวเพียงแค่การถูกรบกวนจากมักเกิ้ล สำหรับความจริงอันน่าเศร้าหลายๆ ครั้งในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพวกเขา สถาบันเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากสงครามพ่อมดแม่มด และการเพ่งเล็งที่ไม่เป็นมิตรจากชุมชมผู้วิเศษทั้งในและต่างประเทศ (ไม่ใช่แค่ในอังกฤษที่การศึกษาของผู้วิเศษวัยเยาว์เป็นหัวข้อที่นำไปสู่การแทรกแซงและการกดดันจากกระทรวง) เหมือนกับเป็นข้อบังคับทั่วไป …

วิธีซื้อไม้กายสิทธิ์กับ Pottermore

ในหน้า My Profile หลังจากที่สมัครสมาชิกแล้ว ให้คลิกที่ Let your wand choose you ตรงภาพหัวข้อ Discover your wand จากนั้นระบบจะพามาหน้า Wand Quiz เพื่อเริ่มทำแบบทดสอบรับไม้กายสิทธิ์ โดยการคลิกที่ปุ่ม BEGIN THE EXPERIENCE ด้านขวามือ จากนั้นเราก็จะเจอชุดคำถามให้เลือกตอบครับ To ensure we find the …