Tag: เจ.เค.โรว์ลิ่ง
เจ.เค.โรว์ลิ่ง (J.K.Rowling) แจ็ค ทอร์น (Jack Thorne) และจอห์น ทิฟฟานี (John Tiffany) ทีมผู้เขียนหลักเบื้องหลังการผลิตละครเวทีแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาปรอบแสดงที่ลอนดอนและรอบแสดงที่จะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ที่บรอดเวย์ มานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในรายการ CBS Sunday Morning ของมาร์ค ฟิลลิปส์ (Mark Phillips) ที่โรงละคร Palace Theatre ในลอนดอนเมื่อไม่นานมานี้ ในประเด็นการนำละครเวทีไปจัดแสดงที่นิวยอร์กซิตี้ การทำให้ซีรีส์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์กลับมาอีกครั้ง และประเด็นอื่น …
การสัมภาษณ์ครั้งล่าสุดของเจ.เค. โรว์ลิ่ง (J.K.Rowling) กับ CNN ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมองค์กรการกุศลลูมอส และสนทนาเรื่องงานเขียนของเธอ รวมถึงแฮร์รี่ พอตเตอร์ด้วย โรว์ลิ่งกล่าวถึงหนังสือเกี่ยวกับการเมืองสำหรับเด็กที่เธอเคยเกริ่นไว้เมื่อปีก่อนๆ และโอกาสที่แทบจะไม่มีในการนำไปตีพิมพ์ เธอยังให้ความเห็นเกี่ยวกับนามปากกาของตัวเอง – เจ.เค. โรว์ลิ่ง – และให้เหตุผลว่าเพราะเหตุใดถึงไม่ใช้ชื่อจริง รับชมคลิปสัมภาษณ์ตัวเต็มได้ที่คลิปด้านล่างนี้ คลิปต่อจากนี้คัดมาเฉพาะข้อมูลสำคัญเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างการสัมภาษณ์ ซึ่งได้ตัดเนื้อหาบางส่วนออกไป คือส่วนของ – เจ.เค. เขียนบทภาพยนตร์ …
เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง วันเกิด: 28 เมษายน ไม้กายสิทธิ์: ไม้ซีดาร์ แกนกลางบรรจุเอ็นหัวใจมังกร ความยาวสิบเศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว ยืดหยุ่นพอสมควร บ้านฮอกวอตส์: สลิธีริน ความสามารถพิเศษ: ผู้ชำนาญการสกัดใจ ผู้เชี่ยวชาญการปรุงยา การแปลงร่างระดับสูง บิดา มารดา: บิดาเป็นพ่อมด มารดาเป็นแม่มด (ตระกูลหนึ่งในยี่สิบแปดสกุลศักดิ์สิทธิ์) ครอบครัว: ไม่เคยแต่งงาน ไม่มีบุตร (ถึงกระนั้นตระกูลซลักฮอร์นยังคงสืบต่อผ่านสายข้างเคียง) งานอดิเรก: สโมสรซลัก ติดต่อทางจดหมายกับนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง ดื่มด่ำไวน์ชั้นดีและขนมหวาน …
ฉันเคยได้รับจดหมายมากมายที่ถามคำถามนี้ ซึ่งค่อนข้างน่าแปลกใจพอสมควร คำตอบคือ ใช่ ฉันชอบเขา ถึงฉันจะไม่คิดว่าเขามหัศจรรย์ผุดผ่องยองใยไร้ที่ติก็เถอะ (โอ้ววว เหมือนได้ยินเสียงลับมีดแว่ว ๆ มาจากเว็บ Immeritus* เลย) ซิเรียสมีความสามารถในการให้ปรัชญาการใช้ชีวิตดี ๆ หลายอย่าง แต่เขากลับไม่ค่อยดำเนินชีวิตตามนั้นสักเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น เขากล่าวใน “ถ้วยอัคนี” ว่าถ้าหากต้องการดูว่าคนคนหนึ่งเป็นอย่างไร “ให้ดูจากวิธีที่เขาปฏิบัติต่อคนที่ต่ำกว่า ไม่ใช่เท่าเทียมกัน” แต่ซิเรียสเกลียดครีเชอร์ เอลฟ์ประจำบ้านที่เขาได้รับตกทอดมา และปฏิบัติต่อมันอย่างดูถูกเหยียดหยันอย่างสิ้นเชิง ฉันใดก็ฉันนั้น ซิเรียสทำให้เรารู้ว่าไม่มีใครจะดีหรือชั่วไปเสียทั้งหมด ซึ่งวิธีที่เขาปฏิบัติต่อสเนปก็แก้ต่างไม่ได้เลยว่ามีอะไรดี ๆ …
เหล่าพ่อมดในอเมริกาเคยมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอนปี 1914-1918 แม้ว่าโนแมจผู้ร่วมในสงครามครั้งนั้นจะไม่ตระหนักถึงความช่วยเหลือของพวกเขาก็ตาม เนื่องจากมีการใช้เวทมนตร์จากทั้งสองฝ่าย ท่าทีของผู้วิเศษไม่ได้ชัดเจนนัก พวกเขามีชัยหลายครั้งจากการป้องกันไม่ให้จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นและจากการเอาชนะศัตรูผู้ใช้เวทมนตร์ด้วยกัน ความร่วมมือกันในครั้งนี้ไม่ได้ทำให้ทัศนคติของมาคูซา (MACUSA) ในเรื่องการผูกสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างโนแมจและผู้วิเศษอ่อนลงแต่อย่างใด และกฎแรพพาพอร์ตยังบังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อไป ในทศวรรษที่ 1920 สังคมผู้วิเศษของสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้ข้อบังคับด้านความลับได้ดีกว่าชาวยุโรป และเลือกคู่ครองเฉพาะคนที่อยู่ชนชั้นเดียวกันเท่านั้น ความทรงจำเรื่องการละเมิดความลับครั้งร้ายแรงของดอร์คัส ทเวลฟ์ทรีส์ (Dorcus Twelvetrees) ทำให้เกิดศัพท์เวทมนตร์ใหม่ การทำตัวเป็น “ดอร์คัส” คือคำสแลงของพวกที่โง่เง่าไม่ก็ไร้สมอง มาคูซายังคงวางบทลงโทษร้ายแรงสำหรับใครก็ตามที่ละเมิดบทบัญญัตินานาชาติเกี่ยวกับความลับพ่อมดแม่มด มาคูซาไม่ยอมรับปรากฏการณ์เวทมนตร์อย่างพวกผี โพลเดอร์ไกส์ และสัตว์มหัศจรรย์มากเท่ากับพวกยุโรป เพราะความเสี่ยงที่สัตว์ร้ายและวิญญาณเหล่านั้นอาจชักนำให้พวกโนแมจรับรู้ถึงการมีอยู่ของเวทมนตร์ …
อย่างที่หลายคนน่าจะทราบกันแล้วว่าตอนนี้ Pottermore.com ได้ส่งเนื้อหาจากเจ.เค.โรว์ลิ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เวทมนตร์ในอเมริกาเหนือให้แฟนๆ ได้อ่านกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เริ่มปล่อยวันละ 1 ส่วนตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ไปจนถึงวันที่ 11 มีนาคมนี้ ซึ่งแต่ละบทความจะออกมาตอน 3 ทุ่มตรงตามเวลาประเทศไทย โดยส่วนที่ 1 ที่ออกมาเมื่อคืนนี้คือ “ศตวรรษที่สิบสี่ – ศตวรรษที่สิบเจ็ด” บทความชิ้นส่วนที่ 1 ออกมาวันเดียวก็สร้างกระแสคำถามอย่างครึกโครมในทวิตเตอร์ส่วนตัวของ เจ.เค.โรว์ลิ่ง และเธอก็ยินดีให้คำตอบแก่แฟนๆ ดังนี้ .@Weasley_dad …
หลังจากที่มีข้อมูลยืนยันหลายที่ว่าภาพยนตร์ “สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (Fantastic Beasts and Where to Find Them)” ภาพยนตร์ภาคแยกจากโลกเวทมนตร์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งได้ เจ.เค.โรว์ลิ่ง มานั่งแท่นผู้เขียนบทครั้งแรก โดยหยิบยกเอางานเขียนหนึ่งในตำราเรียนฮอกวอตส์อย่าง “สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่” มาบอกเล่าเรื่องราวของ นิวท์ สคามันเดอร์ ในช่วงปี 1926 (เพียง 1 ปีก่อนหนังสือเล่มนี้จะตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรก) จะมีทั้งหมด 3 ภาค หรืออย่างน้อย 3 …
โรงเรียนเวทมนตร์ญี่ปุ่นอันเก่าแก่แห่งนี้มีนักเรียนที่ตัวเล็กที่สุดเมื่อเทียบกันทั้ง 11 โรงเรียน และรับนักเรียนตั้งแต่พวกเขาอายุเพียง 7 ปี (ถึงแม้ว่าจะยังไม่ต้องอยู่ที่โรงเรียนจนกว่าจะอายุ 11 ปีก็ตาม) โดยในแต่ละวันนักเรียนจะบินไปกลับบ้านโดยการนั่งบนหลังของฝูงนกโต้คลื่นยักษ์ (giant storm petrel) หลายส่วนของโรงเรียนได้รับการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามและหรูหราไปด้วยสิ่งที่ทำขึ้นจากหยกเนื้ออ่อนสีขาวโปร่ง (mutton-fat jade) และตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเกาะภูเขาไฟมินามิ อิโว จิมะ (Minami Iwo Jima) อันรกร้างไร้ประโยชน์ (หรืออย่างน้อยมักเกิ้ลก็คิดแบบนั้น) นักเรียนของที่นี่จะได้รับเสื้อคลุมมนตราทันทีที่พวกเขามาถึง โดยชุดคลุมนี้จะใหญ่ขึ้นตามขนาดตัวเจ้าของที่สวมใส่มัน รวมถึงจะค่อยๆ เปลี่ยนสีตามความรู้ที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของ แรกเริ่มนั้นจะเป็นสีชมพูจางก่อนจะค่อยๆ …
ประเทศที่มีโรงเรียนเวทมนตร์เป็นของตนเองนั้นมีจำนวนอยู่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ไม่มี สาเหตุเพราะว่าประชากรพ่อมดแม่มดในแต่ละประเทศส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะศึกษาด้วยตนเองที่บ้าน ในบางกรณีชุมชนผู้วิเศษในประเทศดังกล่าวนั้นมีขนาดเล็กหรือกว้างกระจายออกไป การศึกษาทางไปรษณีย์จึงมีประสิทธิผลที่ดีกว่าในการให้การศึกษาแก่เหล่าคนหนุ่มสาว มีโรงเรียนพ่อมดแม่มดที่ก่อตั้งมายาวนานและมีเกียรติทั่วโลก 11 แห่งด้วยกัน โดยโรงเรียนทั้งหมดนั้นได้ขึ้นทะเบียนกับสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ (International Confederation of Wizards) สถาบันที่เล็กกว่าและมีการจัดระเบียบด้อยกว่านั้นถูกสร้างขึ้นมาแล้วเลิกไป เฝ้าติดตามได้ยาก และไม่ค่อยได้ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงที่เหมาะสม (ในบางกรณีฉันไม่อาจรับรองเรื่องมาตรฐานการศึกษาที่เขาเสนอขึ้นมา) ใครก็ตามที่ปรารถนาจะรู้ว่ามีโรงเรียนเวทมนตร์ที่ได้รับการรับรองในพื้นที่ของพวกเขาหรือไม่ ควรส่งนกฮูกไปสอบถามที่สำนักงานการศึกษา (Educational Office) ของสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ ตำแหน่งที่ถูกต้องของโรงเรียนดังกล่าวนั้นถูกเก็บรักษาเป็นความลับอย่างเคร่งครัด โรงเรียนเหล่านี้ไม่ได้กลัวเพียงแค่การถูกรบกวนจากมักเกิ้ล สำหรับความจริงอันน่าเศร้าหลายๆ ครั้งในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพวกเขา สถาบันเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากสงครามพ่อมดแม่มด และการเพ่งเล็งที่ไม่เป็นมิตรจากชุมชมผู้วิเศษทั้งในและต่างประเทศ (ไม่ใช่แค่ในอังกฤษที่การศึกษาของผู้วิเศษวัยเยาว์เป็นหัวข้อที่นำไปสู่การแทรกแซงและการกดดันจากกระทรวง) เหมือนกับเป็นข้อบังคับทั่วไป …
ต้องเท้าความก่อนว่า เรื่องราวที่ว่านี้เป็นเรื่องราวความลับที่เกิดขึ้นนับแต่ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ถ่ายทำ ซึ่งอลัน ริคแมนเป็นผู้เดียวได้ที่รับข้อมูลตรงจากเจ.เค.โรว์ลิ่ง เกี่ยวกับตัวละคร เซเวอรัส สเนป และเป็นช่วงที่หนังสือเล่ม 7 ยังไม่วางจำหน่าย ซึ่งเมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา แฟนคลับคนหนึ่งถามเจ.เค.โรว์ลิ่ง เรื่องความลับที่เธอบอกกับอลันระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์ โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี 2011 อลัน ริคแมน ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความลับเล็กๆ น้อยๆ ที่เขาได้รับรู้จาก เจ.เค.โรว์ลิ่งโดยตรงกับทาง HITFIX “Not true. …