Category: Pottermore แปลไทย

โรคภัยไข้เจ็บและทุพพลภาพ (Illness and Disability)

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง ฉันเคยครุ่นคิดถึงเรื่องโรคภัยไข้เจ็บและทุพพลภาพในช่วงแรกๆ ระหว่างการสร้างโลกของแฮร์รี่… พ่อมดเป็นหวัดได้ไหม พวกเขาสามารถรักษาโรคที่ทำให้มักเกิ้ลงุนงงได้หรือเปล่า มีพ่อมดแม่มดที่พิการไหม ขีดจำกัดของยารักษาในโลกเวทมนตร์นั้นอยู่ตรงไหน หรือมันสามารถใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง คำถามบางข้อได้แทรกซึมเข้าไปยังหัวใจของเรื่อง เพราะว่าแก่นสารเกี่ยวกับความตายนั้นอยู่ในหนังสือทุกเล่ม หลังตัดสินใจว่าเวทมนตร์ไม่สามารถชุบชีวิตคนตายได้ (แม้แต่หินชุบวิญญาณก็ไม่สามารถทำให้พวกเขาฟื้นคืนชีพได้จริงๆ) ฉันจึงต้องตัดสินใจว่า อะไรที่สามารถสังหารพ่อมดได้ โรคประเภทไหนที่พวกเขาอาจจะติด ความบาดเจ็บแบบไหนที่พวกเขาต้องเอาใจใส่กับมัน และอะไรในสองอย่างหลังที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพูดในมุมกว้างๆ ฉันได้ตัดสินใจว่า พ่อมดแม่มดมีพลังอำนาจที่จะแก้ไข หรือเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ แต่ไม่ใช่กับโรคภัยไข้เจ็บทางเวทมนตร์ ดังนั้น พ่อมดแม่มดสามารถเป็นโรคอะไรก็ได้อย่างที่มักเกิ้ลเป็น แต่พวกเขาสามารถรักษามันได้ นอกจากนั้น เขายังสามารถเอาตัวรอดจากพิษแมงป่องที่อาจฆ่ามักเกิ้ลได้อย่างสบายๆ แต่ในขณะเดียวกัน …

ทะเลสาบอันกว้างใหญ่ (The Great Lake)

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง แผ่นดินส่วนหนึ่งของฮอกวอตส์ทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งธรรมชาติ ที่สงวนไว้สำหรับบรรดาสัตว์วิเศษ ซึ่งมีชีวิตอยู่อย่างยากลำบากในบริเวณที่อยู่อาศัยของมักเกิ้ล ในทะเลสาบเต็มไปด้วยเหล่าสัตว์วิเศษ ซึ่งอาจจะทำให้นักธรรมชาติวิทยาของมักเกิ้ลเป็นลมล้มพับไปด้วยความยินดี ถ้าความหวาดกลัวไม่เข้าจู่โจมพวกเขาซะก่อน สัตว์วิเศษต่างๆ ได้แก่ กรินดี้โลว์ (ปีศาจน้ำตัวเล็กๆ ที่ดุร้าย), ชาวเงือก (สายพันธุ์สก็อตที่แข็งแกร่ง) และปลาหมึกยักษ์ ซึ่งสามารถทำให้เชื่องได้กึ่งหนึ่ง และยินยอมให้พวกเด็กนักเรียนจั๊กจี้หนวดของมันได้ในวันที่แดดจ้า ระหว่างที่มันนอนอาบแดดอยู่บนผิวน้ำตื้นๆ ปลาหมึกยักษ์มีชีวิตอยู่จริงๆ แม้ว่ามันจะเป็นสัตว์วิเศษที่มีความลึกลับซับซ้อนเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่ร่างกายอันใหญ่โตเกินธรรมดาของมันถูกซัดเข้าหาฝั่งทั่วทุกมุมโลก แต่ปลาหมึกยักษ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่เคยถูกจับมาอยู่ในภาพยนตร์ของมักเกิ้ลเลย จนกระทั่งปี ค.ศ.2006 ฉันจึงสงสัยในพลังเวทมนตร์ที่พวกมันมีเหลือเกิน แนวคิดของ เจ.เค.โรว์ลิ่ง …

10 ประเด็นสำคัญที่แฟนควิดดิชทุกคนต้องรู้เกี่ยวกับการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพ ประจำปี 2014

ควิดดิชเวิลด์คัพปีนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 427 ตามประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี ปีนี้จัดที่ทะเลทรายปาตาโกเนีย ทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอาร์เจนตินา (เป็นที่ที่เหมาะสำหรับจุพ่อมดหลายพันคนให้ห่างไกลจากมักเกิ้ล) มีรายงานว่า มีการใช้กุญแจนำทางถึง 10,000 ชิ้น ในการเดินทางมาชมพิธีเปิดการแข่งชัน มีผู้เข้าชมกว่า 300 คนที่ได้รับบาดเจ็บอย่าง ‘สาหัสสากรรจ์’ ระหว่างพิธีเปิด จากการปะทะกันอย่างดุเดือดของมาสคอตประจำทีมหลายฝ่าย การแข่งขันที่ยาวนานที่สุด คือการแข่งขันระหว่าง ลิกเตนสไตน์พบกับชาด ในรอบแรก ที่ใช้เวลาแข่ง นานถึง 3 วัน …

ควิดดิชเวิลด์คัพ (ค.ศ. 1990 – 2014)

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง 1990 แคนาดา 270, สกอตแลนด์ 240 ความผิดหวังอันขมขื่นของสกอตแลนด์ ที่มีซีกเกอร์อย่างเฮคเตอร์ ลามันต์ (Hector Lamont) พลาดการจับลูกสนิชไปอย่างเฉียดฉิวเพียงมิลลิเมตร ในการให้สัมภาษณ์หลังจบเกมเฮคเตอร์ตำหนิพ่อของเขา ไปทั่ว ที่ไม่ให้นิ้วมือแก่เขายาวกว่านี้อีกสักหน่อย   1994 ไอร์แลนด์ 170, บัลแกเรีย 160 พิธีเปิดสนามถูกข่มรัศมีไปเกือบหมดด้วยเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการแข่งขันครั้งนี้ การจับลูกสนิชที่น่าประทับใจด้วยฝีมือของซีกเกอร์ดาวรุ่ง วิกเตอร์ ครัม เพียงพอที่จะกอบกู้เกียรติยศของทีมบัลแกเรีย แต่ไม่เพียงพอที่จะปกป้องชัยชนะไว้ได้ …

ประวัติศาสตร์ของควิดดิชเวิลด์คัพ (History of the Quidditch World Cup)

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง ตาม คำแนะนำอย่างเป็นทางการของการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพ  ซึ่งได้รับการจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการกีฬาควิดดิชแห่งสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ (ICWQC) สามารถหาได้ทั่วไปตามแผงหนังสือที่มีชื่อเสียงของเหล่าพ่อมดแม่มดทั้งหลาย ซึ่งต่างรู้สึกตรงกันว่ามีราคาสูงอย่างน่าขันถึง 39 เกลเลียน ระบุไว้ว่า การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศถูกกำหนดให้จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1473 เป็นต้นมา ในฐานะที่ควิดดิชเป็นมากกว่าการแข่งขันกีฬาที่มีความสำคัญที่สุดในโลกของผู้วิเศษ จึงมีข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของถ้อยแถลงนี้ ในขณะที่มีเพียงทีมในทวีปยุโรปเท่านั้นที่มีการแข่งขันในระหว่างศตวรรษที่ 15 และ 16 บรรดาผู้เคร่งครัดทั้งหลายต่างเสนอช่วงเวลาของการเริ่มต้นการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพ ให้นับจากศตวรรษที่ 17 เป็นต้นไป เมื่อกีฬาชนิดนี้ได้เปิดตัวออกสู่ทั่วทุกทวีป นอกจากนี้ยังมีการโต้เถียงที่ดุเดือดเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของบันทึกทางประวัติศาสตร์บางส่วนของการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ การวิเคราะห์หลังจบเกมการแข่งขันจำนวนมาก มีเนื้อหาสาระสำคัญไปที่การแทรกแทรงด้วยเวทมนตร์*ให้เกิดผลตามต้องการ …

รวมทุกบทความแปลไทยจากพอตเตอร์มอร์ (Pottermore)

แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์HARRY POTTER and the Philosopher’s Stone / HARRY POTTER and the Sorcerer’s Stone กระจกเงาแห่งแอริเซด (The Mirror of Erised) การแต่งกาย (Clothing) แกนกลางของไม้กายสิทธิ์ (Wand Cores) ความยาวและความยืดหยุ่นของไม้กายสิทธิ์ (Wand Lengths & …

เจ.เค.โรว์ลิ่ง กับรักบี้ทีมชาติสกอตแลนด์ (J.K.Rowling on Scottish Rugby)

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง ความชอบของพ่อมดแม่มดที่มีต่อรักบี้ทีมชาติสกอตแลนด์นับว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งกว่าพิสดาร เพราะสังคมผู้วิเศษส่วนมากนั้น ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับกีฬาของมักเกิ้ล ซึ่งพวกเขามักจะมองว่าเป็นกีฬาที่จืดชืดและงี่เง่าสิ้นดี อย่างไรก็ตาม รักบี้ทีมชาติสกอตแลนด์ ก็ได้กลายมาเป็นกระแสของโลกเวทมนตร์ ซึ่งเป็นทั้งเรื่องขบขัน เป็นทั้งสิ่งที่พ่อมดแม่มดส่วนหนึ่งให้ความสนใจ เรื่องราวเหล่านี้ได้ถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่สิบเก้า มันเป็นเรื่องราวที่สุขและเศร้าคละเคล้ากันไป ครอบครัวพ่อมดตระกูลบูแคนัน (Buchanan) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านบริเวณพรมแดนสกอตแลนด์มาหลายชั่วอายุคนแล้ว ชื่อเสียงในด้านของความรุนแรงและความเมามาย รวมไปถึงรูปร่างที่ใหญ่โตมโหฬาร (เท่าที่จำความได้ ลำพังเพียงลูกสาวจากบ้านบูแคนันคนเดียวก็สามารถเอาชนะกีฬาชักเย่อประจำหมู่บ้านทุกปีได้) ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าไปสุงสิงกับพวกเขา และไม่มีใครล่วงรู้ถึงความสามารถทางเวทมนตร์ของครอบครัวนี้อีกด้วย เมื่อใดก็ตามที่เด็กจากบ้านบูแคนันอายุครบสิบเอ็ดปี พวกเขาจะหายตัวไปทีละคนๆ (เพื่อเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนที่ฮอกวอตส์) มีเสียงกระซิบกระซาบกันในหมู่บ้านว่า เด็กตัวใหญ่คึกคะนองพวกนั้นล้วนถูกพาตัวไปส่งยังสถานดัดสันดาน หรือยิ่งกว่านั้นที่สถานบำบัดจิต ในช่วงกลางศตวรรษที่สิบเก้า …

เดลี่พรอเฟ็ต (The Daily Prophet)

เดลี่พรอเฟ็ต เป็นหนังสือพิมพ์รายวันของผู้วิเศษ ราคาค่าส่งหนังสือพิมพ์ (โดยใช้นกฮูก) เป็นเงิน 5 คนุต เนื้อหาใหม่จากเจ.เค.โรว์ลิ่ง เดลี่พรอเฟ็ตเป็นหนังสือพิมพ์ของผู้วิเศษเพียงฉบับเดียวเท่านั้นในสหราชอาณาจักร ไม่นับรวมสิ่งพิมพ์ที่มีการเผยแพร่ในวงแคบๆ อย่าง เดอะควิบเบลอร์ หนังสือพิมพ์เดลี่พรอเฟ็ต ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในตรอกไดแอกอน จะถูกส่งไปให้ครอบครัวผู้วิเศษเกือบทุกหลังในสหราชอาณาจักรเป็นประจำทุกวันโดยนกฮูก การชำระเงินค่าส่งทำได้โดยการหย่อนเหรียญลงในกระเป๋าที่ผูกติดอยู่กับขาของนกฮูกที่มาส่งหนังสือพิมพ์ บางครั้ง (เมื่อมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องน่าสนใจหรือน่าตื่นเต้น อย่าง การบินของรถยนต์ฟอร์ดแองเกลียอย่างผิดกฎหมายเวทมนตร์ในสหราชอาณาจักร) หนังสือพิมพ์อีฟนิ่งพรอเฟ็ต ก็จะตีพิมพ์ออกมาอย่างรวดเร็ว พรอเฟ็ต ไม่ได้เป็นแหล่งข่าวที่เป็นกลางนัก และบางครั้งการนำเสนอข่าวก็น่าเศร้าใจเพราะโน้มเอียงไปทางกระตุ้นความสนใจซะมากกว่า ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ ฝีมือของนักข่าวดาวเด่น …

วิทยาลัยเวทมนตร์โบซ์บาตง (Beauxbatons Academy of Magic)

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง โบซ์บาตง Beauxbatons คาดว่าตั้งอยู่ที่ไหนสักแห่งบนเทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees) ผู้มาเยือนจะตกตะลึงในความสวยงามของตัวปราสาทที่ห้อมล้อมไปด้วยสวนประดิษฐ์และสนามหญ้าที่ตกแต่งให้เป็นภาพจำลองของภูมิทัศน์แบบเทือกเขาซึ่งสร้างด้วยเวทมนตร์ แม้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ของวิทยาลัยโบซ์บาตงเป็นชาวฝรั่งเศส แต่ก็ยังมีนักเรียนอีกจำนวนมากเป็นชาวสเปน โปรตุเกส ดัตช์ ลักเซมเบิร์ก และเบลเยียม (ทั้งโบซ์บาตงและเดิร์มสแตรงก์มีจำนวนนักเรียนมากกว่าฮอกวอตส์) ว่ากันว่าตัวปราสาทและเขตพื้นที่ของสถาบันที่มีชื่อเสียงนี้ได้รับการสนับสนุนโดยทองของนักเล่นแร่แปรธาตุ คือ นิโคลัสและเพอรีแนล แฟลมเมล ซึ่งพบกันที่โบซ์บาตงในช่วงวัยรุ่น รวมไปถึงน้ำพุอันงดงามที่ตั้งอยู่ใจกลางสวนของสถาบัน ที่เชื่อกันว่ามีคุณสมบัติช่วยรักษาและคงความงามได้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสถาบันนั่นเอง โบซ์บาตงมีความสัมพันธ์อันดีกับฮอกวอตส์มาโดยตลอด แม้ว่าจะมีการชิงดีชิงเด่นกันอยู่บ้าง เช่น ในการประลองเวทไตรภาคี ซึ่งโบซ์บาตงชนะไป 62 ครั้ง …

สถาบันเดิร์มสแตรงก์ (Durmstrang Institute)

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง เดิร์มสแตรงก์ (Durmstrang) เดิร์มสแตรงก์เป็นโรงเรียนสำหรับพ่อมดแม่มดวัยเยาว์ที่มีชื่อเสียงไม่ค่อยสู้ดีนัก และเป็นที่รู้กันดีว่าให้ความสำคัญกับการสอนศาสตร์มืดอย่างมาก แต่เดิมนั้น เดิร์มสแตรงก์มีชื่อเสียงในแง่ลบที่สุดในบรรดาโรงเรียนเวทมนตร์ทั้งสิบเอ็ดโรงเรียน แม้จะไม่สมควรได้รับชื่อเสียงนี้เท่าไหร่ มันเป็นความจริงที่ว่าเดิร์มสแตรงก์ โรงเรียนที่ผลิตพ่อมดแม่มดเก่งกาจหลายคนออกมานั้น เคยตกอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อมดที่ภักดีจนน่าสงสัย หรือมีเจตนามุ่งร้ายถึงสองหนในประวัติศาสตร์ รวมไปถึงอดีตนักเรียนเดิร์มสแตรงก์ที่สร้างชื่อเสียงอันเลวทรามให้กับโรงเรียนอีกด้วย ชายคนแรกในบรรดากลุ่มคนที่ไม่น่าอภิรมย์เหล่านั้น คือ ฮาร์แฟงก์ มุนเธอร์ (Harfang Munter) ผู้เข้าควบคุมโรงเรียนหลังการเสียชีวิตของผู้ก่อตั้งโรงเรียนเดิร์มสแตรงก์ เนริดา วุลชาโนวา (Nerida Vulchanova) แม่มดผู้ยิ่งใหญ่แห่งบัลแกเรียอย่างมีเงื่อนงำ มุนเธอร์ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนเดิร์มสแตรงก์ด้วยการฝึกสอนการต่อสุ้ตัวต่อตัว และเวทมนตร์การต่อสู้ทุกแขนง ซึ่งปัจจุบันยังคงนับว่าเป็นหนึ่งในหลักสูตรที่โดดเด่นและน่าประทับใจ …