Category: Pottermore แปลไทย

5 กรกฎาคม 2014 – สหรัฐอเมริกา พบ บราซิล

จินนี่ พอตเตอร์ นักข่าวควิดดิชประจำเดลี่พรอเฟ็ต รายงานจากทะเลทรายปาตาโกเนีย บราซิล 420 – สหรัฐอเมริกา 310 ทันทีที่พระอาทิตย์ขึ้น ณ ปาตาโกเนีย 2 ทีมที่เหนื่อยอ่อนแต่ยังมุ่งมั่นดูเหมือนจะมีสมาธิจดจ่อและเคารพกฎกติกามากขึ้น หลังจากค่ำคืนการเล่นที่แสนเหนื่อยหนักหฤโหด พอมาถึงจุดนี้พวกเราก็ได้เห็นถึงเหตุผลที่ทั้ง 2 ทีมทะลุเข้ามาถึงรอบรองชนะเลิศ การเล่นกับลูกควัฟเฟิลที่ทรงพลังน่าตื่นเต้นระหว่างเชสเซอร์ทั้งสามของทั้งสองทีมทำเอาเกมพลิกไปมาได้ตลอดแมตช์ แต่คีปเปอร์บราซิล ราอูล อัลเมด้า (Raul Almeida) นั้นสร้างความแตกต่างที่สำคัญด้วยการป้องกันการจู่โจมทำประตูของฝ่ายอเมริกันได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดาเรียส สแมกแฮมเมอร์ (Darius Smackhammer) …

4 กรกฎาคม 2014 – สหรัฐอเมริกา พบ บราซิล

จินนี่ พอตเตอร์ นักข่าวควิดดิชประจำเดลี่พรอเฟ็ต รายงานจากทะเลทรายปาตาโกเนีย   สหรัฐอเมริกา 120 – บราซิล 100 (ยังแข่งต่อ)   เป็นหนที่ 2 แล้วในการแข่งขันนี้ที่ดูเหมือนว่าเกมจะเล่นยาวตลอดคืน หรือบางทีอาจเลยกว่านั้น ถ้าจะมีสักคำที่จะสรุปการแข่งรอบรองชนะเลิศนี้ได้จนถึงเดี๋ยวนี้ก็ต้องเป็นคำว่า ‘ปวดประสาท’ การเล่นที่ผิดพลาดไม่ระมัดระวังมีเสียเรี่ยราดไปหมดในแมตช์ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสิทธิ์ในการเข้ารอบสุดท้ายนั้นสำคัญมากขนาดไหนสำหรับทั้งสองทีม ทีมสหรัฐอเมริกาไต่อันดับสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ ในการแข่งขันกว่าที่เคยทำได้มาก่อนหน้านี้ ถือได้ว่าปี 2014 วิวัฒนาการของทีมเป็นที่หมายตาในฐานะกำลังสำคัญในกีฬานี้ ในขณะที่ทีมบราซิล ทีมที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่หลังเสียสูญกับแนวทางตัวเองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็กำลังสู้สุดใจขาดดิ้นเพื่อเข้ารอบสุดท้าย …

2 กรกฎาคม 2014 – วางเดิมพันของคุณกับลูโด แบ็กแมน

ความพ่ายแพ้ที่น่าสะพรึงของทีมตัวเก็งอย่างนอร์เวย์และไนจีเรีย ทำเอาพวกเจ้ามือรับแทงพากันยิ้มระรื่น และ ณ ตอนนี้ลูโด แบ็กแมน (Ludo Bagman) อดีตบีตเตอร์ทีมชาติอังกฤษและนักพนันผู้กระตือรือร้นได้ประเมินโอกาสของเหล่าทีมผู้เข้ารอบรองชนะเลิศที่ยังเหลืออยู่ พร้อมทั้งโอกาสที่ทีมพวกนี้จะได้ชูชัยถ้วยรางวัลที่หมายปองไว้ให้แล้ว บราซิล บราซิลชนะควิดดิชเวิลด์คัพมาแล้ว 5 ครั้ง แต่ในช่วงยุค 90 และต้นยุคปี 2000 กลับถูกพิจารณาโดยทั่วไปว่าเป็นช่วงปีแห่งความว่างเปล่าสำหรับทีมที่ครั้งหนึ่งดีเลิศหนักหนา ผู้จัดการโฮเซ่ บาร์โบซ่า (José Barboza) กลับมาทำให้เกมกีฬาประจำชาติกระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง ด้วยการรวมตัวผู้เล่นวัยละอ่อนจากทุกมุมประเทศมาไว้ด้วยกัน กับอายุโดยเฉลี่ยแค่ 22 ปี ถือได้ว่าเป็นทีมที่อ่อนประสบการณ์ที่สุดที่ยังอยู่ในการแข่งขัน …

มาโฮโทะโคะโระ (Mahoutokoro) [Mah – hoot – o – koh – ro]

โรงเรียนเวทมนตร์ญี่ปุ่นอันเก่าแก่แห่งนี้มีนักเรียนที่ตัวเล็กที่สุดเมื่อเทียบกันทั้ง 11 โรงเรียน และรับนักเรียนตั้งแต่พวกเขาอายุเพียง 7 ปี (ถึงแม้ว่าจะยังไม่ต้องอยู่ที่โรงเรียนจนกว่าจะอายุ 11 ปีก็ตาม) โดยในแต่ละวันนักเรียนจะบินไปกลับบ้านโดยการนั่งบนหลังของฝูงนกโต้คลื่นยักษ์ (giant storm petrel) หลายส่วนของโรงเรียนได้รับการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามและหรูหราไปด้วยสิ่งที่ทำขึ้นจากหยกเนื้ออ่อนสีขาวโปร่ง (mutton-fat jade) และตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเกาะภูเขาไฟมินามิ อิโว จิมะ (Minami Iwo Jima) อันรกร้างไร้ประโยชน์ (หรืออย่างน้อยมักเกิ้ลก็คิดแบบนั้น) นักเรียนของที่นี่จะได้รับเสื้อคลุมมนตราทันทีที่พวกเขามาถึง โดยชุดคลุมนี้จะใหญ่ขึ้นตามขนาดตัวเจ้าของที่สวมใส่มัน รวมถึงจะค่อยๆ เปลี่ยนสีตามความรู้ที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของ แรกเริ่มนั้นจะเป็นสีชมพูจางก่อนจะค่อยๆ …

คาสเตลโลบรูชู (Castelobruxo) [Cass – tell – o – broo – shoo]

โรงเรียนเวทมนตร์ในบราซิล ซึ่งรับเด็กนักเรียนทั่วภาคพื้นทวีปอเมริกาใต้ สามารถถูกพบได้ลึกเข้าไปในป่าดงดิบ ปราสาทอันงดงามนี้จะปรากฏให้พวกมักเกิ้ลมองเห็นเป็นเพียงซากปรักหักพัง (กลเม็ดที่ฮอกวอตส์เองก็ใช้ ทำให้ผู้คนมีความเห็นต่างกันออกไปว่าใครลอกใครกันแน่) คาสเตลโลบรูชูเป็นสิ่งก่อสร้างทรงเหลี่ยมสง่างามทำด้วยหินสีทองซึ่งมักถูกนำไปเทียบเคียงกับการเป็นวัดวาอาราม ทั้งตัวอาคารและพื้นดินถูกปกปักษ์โดยไคปอเร (Caipora) สิ่งมีชีวิตชนิดภูตผีวิญญาณขนาดเล็กขนปุยซึ่งมีลักษณะนิสัยซุกซนอย่างล้ำเหลือและเล่ห์เหลี่ยมจัด และจะปรากฏกายขึ้นในยามกลางคืนเข้าปกคลุมเพื่อดูแลเหล่านักเรียนและสิงสาราสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่า อดีตอาจารย์ใหญ่ของคาสเตลโลบรูชู เบเนดิตา โดว์ราโด (Benedita Dourado) ครั้งหนึ่งเคยหัวเราะร่าในวาระการมาเยือนฮอกวอตส์เมื่ออาจารย์ใหญ่อาร์มันโด ดิพพิตบ่นอุบเกี่ยวกับผีโพลเตอร์ไกสต์นามว่าพีฟส์ ข้อเสนอของเธอที่จะส่งไคปอเรจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่ป่าต้องห้ามเพื่อ “แสดงให้เห็นว่าความโกลาหลที่แท้จริงเป็นยังไง” นั้นถูกตอบปฏิเสธ นักเรียนของคาสเตลโลบรูชูสวมเสื้อคลุมสีเขียวสดและมีความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับสมุนไพรศาสตร์ (herbology) และสัตว์วิเศษวิทยา (magizoology) และทางโรงเรียนเองมีการจัดการให้ทุนแลกเปลี่ยน* อันเป็นที่นิยมยิ่งสำหรับนักเรียนจากทวีปยุโรปผู้ใดก็ตามที่สนใจจะศึกษาพืชและสัตว์วิเศษของอเมริกาใต้ คาสเตลโลบรูชูผลิตบุคลากรโด่งดังผู้เคยเป็นศิษย์เก่ามาแล้วมากมาย รวมไปถึงนักปรุงยาชื่อดังก้องโลก …

แวกกาดู (Uagadou) [Wag-a-doo]

ถึงแม้ว่าในแอฟริกาจะมีจำนวนโรงเรียนเวทมนตร์น้อยที่สุด แต่ที่เดียวที่มีก็ได้ก่อตั้งมาอย่างยาวนาน (อย่างน้อยๆ ก็ราวหนึ่งพันปี) และมีชื่อเสียงประสบความสำเร็จอย่างน่าอิจฉาในระดับนานาชาตินั่นก็คือ แวกกาดู (Uagadou) โรงเรียนเวทมนตร์ที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถรองรับนักเรียนจากทวีปอันยิ่งใหญ่ได้ทั้งทวีป โดยมีข้อมูลที่อยู่เพียงแค่ “เทือกเขาจันทรา (Mountains of the Moon)” ที่ซึ่งนักเดินทางได้กล่าวไว้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอันงดงามสลักเสลาจากภูเขาด้านหนึ่งและถูกปกคลุมไปด้วยหมอกทึบ นั่นทำให้บางครั้งมันก็ดูเหมือนกำลังลอยอยู่กลางอากาศ เวทมนตร์โดยมาก (บางตำราก็กล่าวว่าทั้งหมด) เป็นเวทมนตร์ท้องถิ่นของแอฟริกา และที่แวกกาดูนี้นักเรียนส่วนใหญ่จะมีความเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ การเล่นแร่แปรธาตุ และศาสตร์การแปลงร่างเป็นพิเศษ ไม้กายสิทธิ์นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นในยุโรป ขณะที่ส่งต่อมายังพ่อมดแม่มดแอฟริกาในลักษณะของเครื่องใช้อันมีประโยชน์เมื่อศตวรรษก่อนนี้เอง ทำให้การร่ายคาถาส่วนใหญ่พวกเขามักจะใช้การชี้นิ้วหรือโบกมือเป็นท่าทางต่างๆ นั่นทำให้นักเรียนแวกกาดู สามารถใช้เป็นข้ออ้างได้เมื่อถูกกล่าวหาว่าแหกกฎบทบัญญัติว่าด้วยการปกปิดความลับพ่อมดแม่มดนานาชาติ (‘ผมแค่สะบัดมือไปมา ไม่ได้หมายความว่าผมต้องการร่ายคาถาใส่คางของเขาสักหน่อย’) …

โรงเรียนเวทมนตร์ (Wizarding Schools)

ประเทศที่มีโรงเรียนเวทมนตร์เป็นของตนเองนั้นมีจำนวนอยู่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ไม่มี สาเหตุเพราะว่าประชากรพ่อมดแม่มดในแต่ละประเทศส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะศึกษาด้วยตนเองที่บ้าน ในบางกรณีชุมชนผู้วิเศษในประเทศดังกล่าวนั้นมีขนาดเล็กหรือกว้างกระจายออกไป การศึกษาทางไปรษณีย์จึงมีประสิทธิผลที่ดีกว่าในการให้การศึกษาแก่เหล่าคนหนุ่มสาว มีโรงเรียนพ่อมดแม่มดที่ก่อตั้งมายาวนานและมีเกียรติทั่วโลก 11 แห่งด้วยกัน โดยโรงเรียนทั้งหมดนั้นได้ขึ้นทะเบียนกับสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ (International Confederation of Wizards) สถาบันที่เล็กกว่าและมีการจัดระเบียบด้อยกว่านั้นถูกสร้างขึ้นมาแล้วเลิกไป เฝ้าติดตามได้ยาก และไม่ค่อยได้ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงที่เหมาะสม (ในบางกรณีฉันไม่อาจรับรองเรื่องมาตรฐานการศึกษาที่เขาเสนอขึ้นมา) ใครก็ตามที่ปรารถนาจะรู้ว่ามีโรงเรียนเวทมนตร์ที่ได้รับการรับรองในพื้นที่ของพวกเขาหรือไม่ ควรส่งนกฮูกไปสอบถามที่สำนักงานการศึกษา (Educational Office) ของสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ ตำแหน่งที่ถูกต้องของโรงเรียนดังกล่าวนั้นถูกเก็บรักษาเป็นความลับอย่างเคร่งครัด โรงเรียนเหล่านี้ไม่ได้กลัวเพียงแค่การถูกรบกวนจากมักเกิ้ล สำหรับความจริงอันน่าเศร้าหลายๆ ครั้งในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพวกเขา สถาบันเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากสงครามพ่อมดแม่มด และการเพ่งเล็งที่ไม่เป็นมิตรจากชุมชมผู้วิเศษทั้งในและต่างประเทศ (ไม่ใช่แค่ในอังกฤษที่การศึกษาของผู้วิเศษวัยเยาว์เป็นหัวข้อที่นำไปสู่การแทรกแซงและการกดดันจากกระทรวง) เหมือนกับเป็นข้อบังคับทั่วไป …

ตระกูลพอตเตอร์ (The Potter Family)

โดย เจ.เค.โรว์ลิ่ง ตระกูลพอตเตอร์เป็นตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง ทว่าไม่เคยโดดเด่นในระดับแถวหน้าของประวัติศาสตร์ผู้วิเศษ (กระทั่งแฮร์รี่ เจมส์ พอตเตอร์เกิดมา) เนื่องด้วยพอใจที่จะมีชีวิตอยู่หลังฉากในมุมสงบของตัวเองอย่างมั่นคงเรียบง่าย ‘พอตเตอร์’ เป็นนามสกุลมักเกิ้ลที่แสนจะธรรมดา และตระกูลนี้ไม่ได้ถูกรวมอยู่ใน ‘ยี่สิบแปดสกุลศักดิ์สิทธิ์’ (‘Sacred Twenty-Eight’) ด้วยเหตุผลนี้ ผู้รวบรวมข้อมูลไร้นามซึ่งรวบรวมรายชื่อตระกูลเลือดบริสุทธิ์ฉบับที่ว่ากันว่าสมบูรณ์ที่สุดตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า พวกเขามาจากครอบครัวที่เขาเห็นว่าเป็นพวกเลือดเสีย ตระกูลพอตเตอร์ผู้วิเศษมีที่มาแรกเริ่มที่รุ่งโรจน์ อย่างไรก็ตาม บางรายมีส่วนเกี่ยวข้องโดยนัยกับเครื่องรางยมทูต ในโลกมักเกิ้ล ‘พอตเตอร์’ เป็นนามสกุลที่บ่งบอกถึงอาชีพ ซึ่งหมายถึงบุคคลผู้ผลิตพวกหม้อเครื่องปั้นดินเผา ตระกูลผู้วิเศษ ‘พอตเตอร์’ สืบเชื้อสายมาจากพ่อมดในศตวรรษที่สิบสองนาม ลินเฟรดแห่งสตินช์คอมบ์ (Linfred …

การเล่นแร่แปรธาตุ (Alchemy)

แนวคิดของเจ.เค.โรว์ลิ่ง การเล่นแร่แปรธาตุ (การค้นคว้าเกี่ยวกับศิลาอาถรรพ์ ซึ่งจะเปลี่ยนแร่โลหะให้กลายเป็นทองคำ และทำให้ผู้ครอบครองอ่อนเยาว์อยู่ตลอดกาล) ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าเป็นไปได้และมีอยู่จริง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญในการค้นคว้าเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุอาจจะซับซ้อนมากกว่านั้น และเป็นรูปธรรมน้อยกว่านั้น เมื่อเทียบกับสิ่งที่มันเผยโฉมออกมาครั้งแรก หนึ่งในการตีความเกี่ยวกับ ‘คำแนะนำ’ ที่นักเล่นแร่แปรธาตุบอกไว้ก็คือ มันเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนำนักเล่นแร่แปรธาตุออกจากความเขลา (แร่โลหะ) ไปสู่การรู้แจ้งเห็นจริง (ทองคำ) ดูเหมือนว่ามันจะมีองค์ประกอบอันลึกลับในการทำงานของนักเล่นแร่แปรธาตุ นั่นคือ พันธะสัญญาที่มีอยู่เรื่อยไป ซึ่งทำให้มันแตกต่างจากวิชาเคมี (ไม่น่าสงสัยเลยว่าศาสตร์หนึ่งเป็นเหมือนแขนงย่อย และอีกศาสตร์หนึ่งเป็นเหมือนผู้บุกเบิก) สีแดงและสีขาวต่างก็เกี่ยวข้องกับบทความเก่าแก่ของการเล่นแร่แปรธาตุมาหลายยุคสมัย การตีความอย่างหนึ่งก็คือ ทั้งแร่โลหะและทองคำนั้นเป็นสัญลักษณ์ของสองด้านที่แตกต่างกันในธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งจะต้องประนีประนอมให้เข้ากัน  นี่เป็นแรงบันดาลใจสำหรับชื่อของชาวคริสเตียน …

คาถาขยายพื้นที่ (Extension Charms)

 เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง หีบสัมภาระโรงเรียนฮอกวอตส์ ก็เหมือนเช่นกระเป๋าสัมภาระเวทมนตร์ส่วนใหญ่ ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของขนาดเนื้อที่หรือพวกคาถาขยายพื้นที่ตามมาตรฐาน พวกคาถานี้ไม่เพียงแต่เพิ่มขอบเขตภายในของเหล่าวัตถุ ในขณะที่ปล่อยให้ลักษณะภายนอกไม่มีการเปลี่ยนแปลง พวกมันยังทำให้น้ำหนักสิ่งของเบาลงอีกด้วย คาถาขยายพื้นที่ (‘แคเปเชียส เอ็กซ์ตรีมิส! (Capacious extremis!)’) เป็นคาถาขั้นสูง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมที่เคร่งครัด เพราะมันอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ ตามทฤษฎีแล้ว พ่อมดนับร้อยคนสามารถย้ายที่อยู่อาศัยไปอยู่ในห้องส้วมได้ ถ้าพวกเขามีความชำนาญเพียงพอในการใช้คาถาพวกนี้ การกระทำผิดกฎหมายที่พอเป็นไปได้ตามบทบัญญัตินานาชาติเกี่ยวกับความลับของพ่อมดแม่มดนั้นชัดเจน ดังนั้นกระทรวงเวทมนตร์จึงประกาศกฎเข้มงวดว่าการเพิ่มขนาดเนื้อที่จะต้องไม่ใช่เพื่อการใช้งานส่วนตัว จะมีเพียงแค่พวกสิ่งของที่ผลิตขึ้นบางชนิด (เช่น หีบสัมภาระโรงเรียนและเต็นท์ครอบครัว) ซึ่งผ่านการตรวจสอบเฉพาะในการผลิตโดยแผนกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งนายวีสลีย์และเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ประพฤติตนผิดกฎหมายเมื่อพวกเขาเสกคาถา กล่าวโดยลำดับคือ พื้นที่ภายในรถฟอร์ดแองเกลีย …