Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the image-sizes domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/muggle-v.com/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the rank-math domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/muggle-v.com/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
คาถา Archives | Muggle-V

Category: คาถา

กิ่งไฟแห่งกูไบรเทียน (Gubraithian Fire)

กิ่งไฟแห่งกูไบรเทียน คือไฟที่เกิดขึ้นจากเวทมนตร์ เป็นไฟที่จะไม่มีวันดับไปชั่วกัลปาวสาน เป็นเวทมนตร์ขั้นสูงที่ไม่ใช่พ่อมดแม่มดทุกคนจะเสกได้โดยง่าย ประวัติศาสตร์ของไฟกูไบรเทียน ปี 1995 อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ได้มอบหมายให้แฮกริดและศาสตราจารย์มักซีมเดินทางไปพบยักษ์และมอบกิ่งไฟแห่งกูไบรเทียนให้เป็นของขวัญแก่เหล่ายักษ์ในวันแรกที่พวกเขาเข้าพบคาร์คัส (มีตำแหน่งเป็นเกิร์กหรือหัวหน้าพวกยักษ์) แม้จะไม่มีคำกล่าวใดจากยักษ์ แต่พวกมันชื่นชอบยินดีกับเวทมนตร์ที่ทั้งสองนำไปให้ (ธรรมชาติของยักษ์นั้นชื่นชอบเวทมนตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งไม่นับการใช้เวทมนตร์กับพวกมัน) แต่แล้วแผนซื้อใจยักษ์ของดัมเบิลดอร์ก็พังลง เมื่อยักษ์ฆ่ากันเอง แล้วกอลโกแมท เกิร์กตนใหม่ที่สังหารและขึ้นแทนคาร์คัสหันไปเข้ากับฝ่ายผู้เสพความตาย ทั้งสองเกือบเอาชีวิตไม่รอดจากเหตุการณ์พลิกผันนั้น แม้พยายามจะดึงพวกยักษ์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามมาเข้าร่วมกับตน แต่พวกมันก็ไม่อาจสู้อิทธิพลของเกิร์กใหม่ได้ (ภาคีนกฟีนิกซ์ บ.20) รอนและแฮร์รี่: “กิ่งอะไรนะครับ –“ เฮอร์ไมโอนี่: “ไฟที่ลุกชั่วกัลปาวสานไงล่ะ …

คาถางงงัน (Confundus Charm)

คาถางงงันใช้เพื่อทำให้เป้าหมายสับสน งุนงง หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดพลาด ด้วยการร่ายคาถาว่า “คอนฟันโด (Confundo)” ผู้ถูกคาถาจะทำบางอย่างผิดพลาด เข้าใจผิด หรือมั่นใจในสิ่งที่เขาได้ทำ พูด และคิดออกไป (เครื่องรางยมทูต บ.1) คาถางงงันไม่เพียงใช้ได้กับคน แต่ยังสามารถใช้กับสิ่งของที่มีความคิดอย่างถ้วยอัคนีได้ด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่บาร์ตี้ เคร้าช์ หลอกถ้วยให้เข้าใจว่าตัวแทนแข่งขันมีทั้งหมด 4 คนจาก 4 โรงเรียน และแฮร์รี่มาจากโรงเรียนที่ 4 (ถ้วยอัคนี บ.17) อย่างไรก็ตาม คาถางงงัน ไม่ได้จัดอยู่ในลิสต์คำสาปโทษผิดสถานเดียว …

บทที่ 3 : คาถาเกราะวิเศษ (Shield Charm)

คาถาเกราะวิเศษ (Shield Charm) คาถาสุดพื้นฐานสำหรับการประลองเวท คาถาเกราะวิเศษนี้จะปกป้องผู้ร่ายเวทจากคาถาโจมตีแทบทุกบท คาถานี้คงไม่มีประโยชน์มากนักหากปราศจากการตอบสนองอย่างว่องไว และหนทางที่ดีที่สุดที่จะเรียนรู้ได้ก็คือการฝึกการสะท้อนกลับกับคำสาปจริง ๆ ที่สุดแล้วการต้องอยู่กับคำสาปหูกระตุก (Twitchy-Ears Hex) หรือคำแช่งขาปุยนุ่น (Jelly-Legs Jinx) ก็เป็นวิธีอันแสนยอดเยี่ยมที่จะทำให้เราตั้งอกตั้งใจกับการเรียนคาถาเพื่อใช้ป้องกันตัว มีคาถาป้องกันหลากหลายบท แต่สำหรับบทที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน นี่คือคาถาที่ให้ผลดีที่สุด การใช้คาถานี้ครั้งที่โด่งดังที่สุดเกิดขึ้นในปี 1484 ระหว่างการแข่งขันประลองยุทธ์บนหลังม้าในหมู่บ้านที่ป็อปเปิลตัน ประเทศอังกฤษ ทัศนียภาพของเมืองป็อปเปิลตันมองเห็นได้จากปราสาทที่เอิร์ลแห่งพอนช์ลีย์ (Earl of Paunchley) เป็นเจ้าของ เอิร์ลคือเผด็จการจอมกดขี่ผู้ทำให้ชีวิตของชาวเมืองน่าอดสู เขาออกกฎลงโทษอย่างโหดเหี้ยมต่อความผิดหยุมหยิม …

บทที่ 3 : คาถาสะอาดเอี่ยม (Scouring Charm)

คาถาสะอาดเอี่ยม (Scouring Charm) ตั้งแต่คราบน้ำฟักทอง เศษเครื่องในกบ ยันปุ๋ยมูลมังกรเกรอะกรัง คาถาสะอาดเอี่ยมอันยอดเยี่ยมจะทำให้มันอันตรธานไปจนหมด วิธีการร่ายการขจัดคราบอันไม่พึงประสงค์ ให้ร่ายคาถา ‘สเกอร์จิฟาย (Scourgify)’ ท่าทางในการร่ายขยับไม้กายสิทธิ์ให้เรียบลื่นเป็นเส้นคดเคี้ยวเหมือนอักษร ‘S’ (ดูภาพ K) หมายเหตุหากคุณโตมาในครอบครัวผู้วิเศษที่มีเอลฟ์ประจำบ้าน คุณอาจจะรู้สึกว่าการใช้เวทมนตร์ในการทำความสะอาดด้วยตัวเองเป็นสิ่งที่ต่ำต้อยเกินไป แต่สบายใจได้ ครั้งแรกที่คุณต้องการจะล้างยางเหม็นออกจากเน็กไทโรงเรียนโดยไม่มีเอลฟ์ประจำบ้านคอยช่วยล่ะก็ คุณก็จะรู้สึกซาบซึ้งใจที่ได้เรียนคาถาสะอาดเอี่ยมแน่

บทที่ 3 : คาถาซ่อมแซม (Mending Charm)

คาถาซ่อมแซม (Mending Charm) คาถาซ่อมแซมจะซ่อมแซมข้าวของที่พังได้ด้วยการสะบัดไม้ อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้จักการแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเอง อย่างไรก็ตาม นักเรียนจอมซุ่มซ่ามควรจำไว้ให้ดีว่าการใช้คาถานี้ได้อย่างเชี่ยวชาญนั้นไม่สามารถทดแทนการเรียนรู้ที่จะไม่ทำอะไรพังไปตั้งแต่แรกได้ คาถาปรับปรุงและซ่อมแซมมากมายถูกใช้กันมาหลายศตวรรษ แต่บทที่ได้ผลและทรงพลังที่สุดนั้นคิดค้นขึ้นโดยออราเบลล่า นัตต์ลีย์ (Orabella Nuttley) ในศตวรรษที่ 18 เพราะเป็นเสมียนผู้ต่ำต้อยในกระทรวงเวทมนตร์ ของกองตรวจสอบการใช้เวทมนตร์ในทางที่ไม่ถูกต้อง ความเขินอายอย่างยิ่งยวดของออราเบลล่าคืออุปสรรคในหน้าที่การงานของเธอ ทั้งขี้กลัว นั่งบื้อใบ้เสมอในที่ประชุม และลุกลนเหลือเกินทุกครั้งที่พูด ออราเบลล่าจึงถูกมอบหมายให้ทำงานแสนธรรมดาที่สุดในสำนักงาน เช่น งานเอกสาร งานขัดถูและทำความสะอาดนกฮูกของกอง กระนั้น เมื่ออยู่บ้านออราเบลล่าได้ใช้เวลาว่างของเธอไปกับการทดลองคาถาด้วยความพยายามที่จะพัฒนาและเสริมความแข็งแกร่งให้กับคาถาที่เคยใช้ในวัยเยาว์ เรื่องแสนบังเอิญจึงนำไปสู่การเปิดเผยพรสวรรค์ที่ถูกซ่อนไว้ของออราเบลล่า ในปี …

สัญญาเลือด (Blood Pact)

การทำสัญญาทางเวทมนตร์ของคนสองคน ที่ใช้เลือดของทั้งคู่เป็นตัวเชื่อมโยงพันธะสัญญา การทำสัญญาเลือด ผู้ทำสัญญาทั้งสองคนจะใช้ไม้กายสิทธิ์กรีดมือของตนเอง จากนั้นใช้มือที่กรีดเลือดของทั้งคู่ผสานกันและกัน เมื่อเลือดของผู้ทำสัญญาเกี่ยวผสานกัน และภาชนะทำด้วยโลหะปรากฏขึ้นและครอบหยดเลือดทั้งสองหยดแห่งสัญญาไว้ การทำสัญญาเลือดก็เป็นอันสมบูรณ์ (บทภาพยนตร์สัตว์มหัศจรรย์: อาชญากรรมของกรินเดลวัลด์ ฉากที่ 73) เป็นไปได้ว่า หากภาชนะที่บรรจุเลือดของผู้ทำสัญญาถูกทำลาย สัญญาที่ทำไว้ก็จะสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตามการทำลายหรือยกเลิกสัญญาเลือดจะทำได้อย่างไรยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด คนที่ทำสัญญาเลือด อัลบัส ดัมเบิลดอร์ และเกลเลิร์ต กรินเดลวัลด์ ทั้งคู่ได้ทำสัญญาเลือดร่วมกันในช่วงที่สนิทสนมกันตอนวัยรุ่น โดยทำสัญญาเลือดเพื่อยืนยันว่าทั้งคู่จะไม่ทำร้ายกันและกัน และนั่นทำให้ในเดือนมิถุนายน 1927 อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ไม่สามารถต่อต้านหรือต่อสู้กรินเดลวัลด์ได้ แม้จะถูกขู่บังคับจากทางกระทรวงเวทมนตร์ให้เขาลุกขึ้นสู้กับกรินเดลวัลด์ …

ปฏิญาณไม่คืนคำ (Unbreakable Vow)

ปฏิญาณไม่คืนคำเป็นคาถาสร้างพันธสัญญาที่รุนแรงมาก หากผู้ทำปฏิญาณพยายามยกเลิกคำมั่น ผิดคำมั่น หรือไม่ทำตามสัญญาที่ตกลงไว้จะถึงแก่ความตายทันที ปฏิญาณไม่คืนคำไม่ปรากฏคำร่ายที่แน่ชัดในการร่ายคาถา ในการทำปฏิญาณจะใช้คนทั้งหมด 3 คน โดย 1 คนทำหน้าที่เป็นผู้พันธนา (Bonder) หรือร่ายกำกับคาถา และอีกสองคนคือคู่สัญญา ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าปฏิญาณไม่คืนคำนี้สามารถสร้างคำสัญญามากกว่าคน 2 คนได้หรือไม่ รอน “ฟังนะ นายบอกเลิกปฏิญาณไม่คืนคำไม่ได้…” แฮร์รี่ “เรื่องนั้นฉันคิดเองได้แล้ว แปลกใจไหม  แต่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นล่ะถ้านายบอกเลิกมัน” รอน “นายตาย” – แฮร์รี่ พอตเตอร์ …

บทที่ 3 : คําสาปปีศาจค้างคาว (Bat-bogey Hex)

ฉันต้องยอมรับเลยว่าฉันค่อนข้างชื่นชอบคาถานี้เป็นพิเศษราวกับว่ามันเป็นคาถาที่ฉันสร้างขึ้นมาเองเลยทีเดียว มีข้อถกเถียงกันว่ามันควรจะถูกรวมไว้กับคำแช่งที่ใช้ในแบบเรียนหรือไม่ ฉันยังคงคิดว่าคาถาจู่โจมที่ไม่รุนแรงอย่างเช่นคาถานี้จะช่วยขจัดความพยายามของเด็กนักเรียนที่จะค้นหาหรือฝึกฝนคำสาปที่อันตรายมากกว่าเพื่อไปใช้ในการสู้กันในโรงเรียน อย่างที่ฉันเคยอธิบายไปก่อนหน้าในหนังสือเล่มนี้ ฉันเติบโตขึ้นในครอบครัวที่ใหญ่มาก และกับการที่เป็นสมาชิกที่เด็กที่สุด บางครั้งมันก็ยากที่จะทำอะไรที่ตั้งใจให้สำเร็จได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามหากความกลัวของใครสักคนกลายเป็นเหล่าค้างคาวสีดำ ที่ทยอยคลานออกมาจากรูจมูกของพวกเขาและกระพือปีกบินไป การใช้พวกค้างคาวก็อาจช่วยให้พวกเขาเงียบลงได้นานพอที่จะปล่อยให้คุณพูดได้บ้าง ฉันรับรองความช่ำชองในคำสาปนี้ของฉันได้เลยจากที่ใช้ในการโน้มน้าวพี่สาวของฉัน ไดอาดีมา (Diadema) เพื่อให้หล่อนคืนบรรดาชุดที่หล่อนยืมฉันไป แล้วก็ใช้เตือนความจำพี่สาวฉัน โรมิลด้า (Romilda) ให้ออกจากห้องฉันไปสักทีเวลาที่ฉันต้องการ และใช้ช่วยพี่สาวฉันอีกคน แท็งวิสทล์ (Tangwystl) เงียบเสียงลงหน่อยเวลาที่ฉันพยายามทำการบ้าน

คาถากุ๊กกุ๋ย

คาถากุ๊กกุ๋ย ปรากฏครั้งแรกในแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ บทที่ 13 ซึ่งในภาษาอังกฤษคาถากุ๊กกุ๋ยมาจากคำว่า Hocus Pocus สเนป: “คาถากุ๊กกุ๋ยของคุณน่ะ… ผมคอยอยู่นะ” ควีเรลล์: “ตะ-แต่ ผมไม่…” สเนป: “งั้นก็ดีแล้ว” – แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ บ.12 และยังมาปรากฏอีกครั้งในเล่ม 2 เมื่อแฮร์รี่พยายามร่ายคาถาปลอมๆ เพื่อแกล้งแหย่ดัดลีย์ให้ตกใจกลัว “จิกเกอรี่ โพกเคอรี่! โฮคัส …

คาถาและคำสาปที่มีคำร่าย ในหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน

ในหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบันหรือหนังสือเล่ม 3 ของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์มีการใช้คาถาเกิดขึ้นมากมายทั้งที่สามารถระบุคำร่ายกับผลที่ชัดเจนได้และระบุไม่ได้ ในบทความนี้ผู้เขียนขอเจาะจงเขียนถึงแค่คาถาและคำสาปที่มีคำร่ายชัดเจนเท่านั้น อย่างไรก็ดีหากมีคาถาที่มีผลใกล้เคียงกับกลุ่มคาถาดังกล่าวแต่ชี้ชัดไม่ได้ว่าเป็นคาถาเดียวกันหรือไม่ ผู้เขียนจะไม่นับรวม นอกจากนี้ในส่วนของการออกเสียงคำร่ายและพิกัดหน้าที่ปรากฏคาถา เนื่องจากการตีพิมพ์หนังสือฉบับภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งผู้เขียนจึงขอยึดเปรียบเทียบเนื้อหาใน 2 รุ่นด้วยกันคือ ปก (อ่อน) รุ่นแรกที่วาดโดยแมรี่ กรองแปร (พิมพ์ครั้งที่ 1 – พฤศจิกายน 2543) และปก (แข็ง) รุ่นฉลอง 15 ปีที่วาดโดยคาซึ คิบุอิชิ (พิมพ์ครั้งที่ …