Category: สถานที่

สภาเวทมนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (The Magical Congress of the United States of America (MACUSA))

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง https://www.youtube.com/watch?v=Pj4TltFJJKk ต้นกำเนิด สภาเวทมนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยแม่มดและพ่อมดแห่งอเมริกาด้วยตัวย่อว่า MACUSA (ปกติแล้วออกเสียงว่า: มา Mah – คูซ cooz – า ah) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1693 หลังจากการเริ่มต้นใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับความลับพ่อมดแม่มดนานาชาติ พ่อมดทั่วโลกก็เดินทางมาถึงจุดสำคัญ ด้วยความสงสัยว่าพวกเขาจะมีชีวิตที่อิสระและมีความสุขกว่าได้หรือไม่ถ้าเขาสร้างชุมชนใต้ดินที่ช่วยเหลือตัวเองและมีโครงสร้างเป็นของตนเอง ความรู้สึกนี้มีความเข้มข้นมากในอเมริกา เนื่องจากการพิจารณาคดีแม่มดเซเล็มเมื่อไม่นานมานี้ มาคูซามีต้นแบบมาจากสภาพ่อมดแห่งบริเตนใหญ่ ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาก่อนกระทรวงเวทมนตร์เสียอีก ผู้แทนจากชุมชนเวทมนตร์ทั่วอเมริกาเหนือได้รับเลือกเข้ามาที่ MACUSA เพื่อบัญญัติกฎหมายที่ทั้งรักษาความสงบและปกป้องพ่อมดแม่มดในอเมริกา เป้าหมายหลักของ …

โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์อิลเวอร์มอร์นี (Ilvermorny School of Witchcraft and Wizardry)

ก่อนอื่นต้องขอบคุณเนื้อหาฉบับภาษาไทยของทาง Pottermore ก่อนเลยครับ เพราะบทความนี้เนื้อหาแปลได้เกือบสมบูรณ์ทั้งหมดเลยครับ ชื่นชมการแปลไทยครั้งนี้มาก แต่มีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงอยู่บ้าง ทาง Muggle-V เลยปรับปรุงใหม่ครับ โรงเรียนเวทมนตร์แห่งอเมริกาเหนืออันยิ่งใหญ่แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่สิบเจ็ด โดยมีที่ตั้งอยู่ ณ ยอดสูงสุดของภูเขาเกรย์ล็อก (Greylock) ซึ่งซ่อนตัวจากการมองเห็นของผู้ที่ไม่มีเวทมนตร์ด้วยคาถาอันทรงพลังมากมาย ที่บางครั้งก็ปรากฏออกมาในรูปของวงเมฆหมอก จุดเริ่มต้นที่ไอร์แลนด์ อิโซลต์ เซเออร์ (Isolt Sayre) เกิดราวปี ค.ศ. 1603 เธอใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ในหุบเขาคูมลูกรา ในเคาน์ตีเคอร์รี (Coomloughra, County Kerry) …

โลกเวทมนตร์อเมริกาในทศวรรษที่ 1920 (1920s Wizarding America)

เหล่าพ่อมดในอเมริกาเคยมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอนปี 1914-1918 แม้ว่าโนแมจผู้ร่วมในสงครามครั้งนั้นจะไม่ตระหนักถึงความช่วยเหลือของพวกเขาก็ตาม เนื่องจากมีการใช้เวทมนตร์จากทั้งสองฝ่าย ท่าทีของผู้วิเศษไม่ได้ชัดเจนนัก พวกเขามีชัยหลายครั้งจากการป้องกันไม่ให้จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นและจากการเอาชนะศัตรูผู้ใช้เวทมนตร์ด้วยกัน ความร่วมมือกันในครั้งนี้ไม่ได้ทำให้ทัศนคติของมาคูซา (MACUSA) ในเรื่องการผูกสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างโนแมจและผู้วิเศษอ่อนลงแต่อย่างใด และกฎแรพพาพอร์ตยังบังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อไป ในทศวรรษที่ 1920 สังคมผู้วิเศษของสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้ข้อบังคับด้านความลับได้ดีกว่าชาวยุโรป และเลือกคู่ครองเฉพาะคนที่อยู่ชนชั้นเดียวกันเท่านั้น ความทรงจำเรื่องการละเมิดความลับครั้งร้ายแรงของดอร์คัส ทเวลฟ์ทรีส์ (Dorcus Twelvetrees) ทำให้เกิดศัพท์เวทมนตร์ใหม่ การทำตัวเป็น “ดอร์คัส” คือคำสแลงของพวกที่โง่เง่าไม่ก็ไร้สมอง   มาคูซายังคงวางบทลงโทษร้ายแรงสำหรับใครก็ตามที่ละเมิดบทบัญญัตินานาชาติเกี่ยวกับความลับพ่อมดแม่มด   มาคูซาไม่ยอมรับปรากฏการณ์เวทมนตร์อย่างพวกผี โพลเดอร์ไกส์ และสัตว์มหัศจรรย์มากเท่ากับพวกยุโรป เพราะความเสี่ยงที่สัตว์ร้ายและวิญญาณเหล่านั้นอาจชักนำให้พวกโนแมจรับรู้ถึงการมีอยู่ของเวทมนตร์ …

กฎแรพพาพอร์ต (Rappaport’s Law)

ในปี ค.ศ. 1790 ประธานลำดับที่สิบห้าของสภาเวทมนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา หรือ มาคูซา (MACUSA) เอมิลี่ แรพพาพอร์ต (Emily Rappaport) ได้ประกาศใช้กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งแยกเหล่าผู้วิเศษและชุมชนโนแมจออกจากกันอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งการประกาศใช้กฎหมายนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการละเมิดบทบัญญัติความลับนานาชาติครั้งรุนแรงที่ทำให้ มาคูซา ต้องเสียหน้าจากการถูกตำหนิโดยสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ เรื่องยิ่งหนักเข้าไปใหญ่เมื่อการละเมิดบทบัญญัติดังกล่าวมีต้นเหตุมาจากภายใน มาคูซา เสียเอง เล่าอย่างกระชับก็คือ หายนะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับบุตรสาวของผู้ดูแลการคลังและดรากอต (Keeper of Treasure and Dragots) คนสนิทของประธานแรพพาพอร์ต (ดรากอตคือสกุลเงินพ่อมดของอเมริกัน และตำแหน่งผู้ดูแลดรากอตก็มีความหมายตรงตัว เสมือนเลขานุการที่ดูแลด้านการคลังนั่นเอง) …

ศตวรรษที่สิบเจ็ดและต่อจากนั้น (Seventeenth Century and Beyond)

เมื่อพวกโนแมจชาวยุโรปเริ่มอพยพมายังโลกใหม่ แม่มดและพ่อมดชาวยุโรปจำนวนมากก็มาตั้งรกรากในอเมริกาเช่นเดียวกัน เหมือนกับเหล่ามิตรสหายโนแมจ พวกเขามีเหตุผลมากมายเอื้อให้ตัดสินใจละทิ้งถิ่นกำเนิด บ้างถูกผลักดันด้วยความกระหายการผจญภัย ทว่าส่วนใหญ่มาเพื่อหลบหนีเอาตัวรอดจากสาเหตุเช่น การขับไล่ข่มเหงจากพวกโนแมจในบางครั้ง จากเพื่อนๆ พ่อมดแม่มดด้วยกันในบางที รวมไปถึงจากอำนาจหน่วยงานของโลกเวทมนตร์เอง ซึ่งปัจจัยประการหลังนี้ได้มุ่งหมายพยายามจะปะปนตัวเองไปกับคลื่นมหาชนโนแมจที่ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หรือพยายามแฝงตัวอยู่ท่ามกลางประชากรผู้วิเศษชาวอเมริกันพื้นเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่โดยปกติต้อนรับและปกป้องพี่น้องชาวยุโรปอยู่แล้ว จากช่วงต้นเห็นได้ชัดว่าโลกใหม่นั้นมีสภาพแวดล้อมที่ทารุณสำหรับพ่อมดแม่มดมากกว่าโลกเก่า ด้วยสามเหตุผลหลัก ประการแรก เช่นเดียวกับพวกโนแมจ พวกเขามายังประเทศนี้ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงน้อยนิด ยกเว้นที่พวกเขาทำได้เอง ตอนอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด พวกเขาเพียงแค่ตรงไปร้านเครื่องยาท้องถิ่นหาของที่จำเป็นสำหรับปรุงยา แต่ที่นี่พวกเขาต้องออกตามหาพืชวิเศษที่ไม่คุ้นเคยเอง แถมที่นี่ยังไม่มีช่างทำไม้กายสิทธิ์ที่เป็นที่รู้จัก และโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์อิลเวอร์มอร์นี (Ilvermorny School of Witchcraft and …

มาโฮโทะโคะโระ (Mahoutokoro) [Mah – hoot – o – koh – ro]

โรงเรียนเวทมนตร์ญี่ปุ่นอันเก่าแก่แห่งนี้มีนักเรียนที่ตัวเล็กที่สุดเมื่อเทียบกันทั้ง 11 โรงเรียน และรับนักเรียนตั้งแต่พวกเขาอายุเพียง 7 ปี (ถึงแม้ว่าจะยังไม่ต้องอยู่ที่โรงเรียนจนกว่าจะอายุ 11 ปีก็ตาม) โดยในแต่ละวันนักเรียนจะบินไปกลับบ้านโดยการนั่งบนหลังของฝูงนกโต้คลื่นยักษ์ (giant storm petrel) หลายส่วนของโรงเรียนได้รับการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามและหรูหราไปด้วยสิ่งที่ทำขึ้นจากหยกเนื้ออ่อนสีขาวโปร่ง (mutton-fat jade) และตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเกาะภูเขาไฟมินามิ อิโว จิมะ (Minami Iwo Jima) อันรกร้างไร้ประโยชน์ (หรืออย่างน้อยมักเกิ้ลก็คิดแบบนั้น) นักเรียนของที่นี่จะได้รับเสื้อคลุมมนตราทันทีที่พวกเขามาถึง โดยชุดคลุมนี้จะใหญ่ขึ้นตามขนาดตัวเจ้าของที่สวมใส่มัน รวมถึงจะค่อยๆ เปลี่ยนสีตามความรู้ที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของ แรกเริ่มนั้นจะเป็นสีชมพูจางก่อนจะค่อยๆ …

คาสเตลโลบรูชู (Castelobruxo) [Cass – tell – o – broo – shoo]

โรงเรียนเวทมนตร์ในบราซิล ซึ่งรับเด็กนักเรียนทั่วภาคพื้นทวีปอเมริกาใต้ สามารถถูกพบได้ลึกเข้าไปในป่าดงดิบ ปราสาทอันงดงามนี้จะปรากฏให้พวกมักเกิ้ลมองเห็นเป็นเพียงซากปรักหักพัง (กลเม็ดที่ฮอกวอตส์เองก็ใช้ ทำให้ผู้คนมีความเห็นต่างกันออกไปว่าใครลอกใครกันแน่) คาสเตลโลบรูชูเป็นสิ่งก่อสร้างทรงเหลี่ยมสง่างามทำด้วยหินสีทองซึ่งมักถูกนำไปเทียบเคียงกับการเป็นวัดวาอาราม ทั้งตัวอาคารและพื้นดินถูกปกปักษ์โดยไคปอเร (Caipora) สิ่งมีชีวิตชนิดภูตผีวิญญาณขนาดเล็กขนปุยซึ่งมีลักษณะนิสัยซุกซนอย่างล้ำเหลือและเล่ห์เหลี่ยมจัด และจะปรากฏกายขึ้นในยามกลางคืนเข้าปกคลุมเพื่อดูแลเหล่านักเรียนและสิงสาราสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่า อดีตอาจารย์ใหญ่ของคาสเตลโลบรูชู เบเนดิตา โดว์ราโด (Benedita Dourado) ครั้งหนึ่งเคยหัวเราะร่าในวาระการมาเยือนฮอกวอตส์เมื่ออาจารย์ใหญ่อาร์มันโด ดิพพิตบ่นอุบเกี่ยวกับผีโพลเตอร์ไกสต์นามว่าพีฟส์ ข้อเสนอของเธอที่จะส่งไคปอเรจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่ป่าต้องห้ามเพื่อ “แสดงให้เห็นว่าความโกลาหลที่แท้จริงเป็นยังไง” นั้นถูกตอบปฏิเสธ นักเรียนของคาสเตลโลบรูชูสวมเสื้อคลุมสีเขียวสดและมีความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับสมุนไพรศาสตร์ (herbology) และสัตว์วิเศษวิทยา (magizoology) และทางโรงเรียนเองมีการจัดการให้ทุนแลกเปลี่ยน* อันเป็นที่นิยมยิ่งสำหรับนักเรียนจากทวีปยุโรปผู้ใดก็ตามที่สนใจจะศึกษาพืชและสัตว์วิเศษของอเมริกาใต้ คาสเตลโลบรูชูผลิตบุคลากรโด่งดังผู้เคยเป็นศิษย์เก่ามาแล้วมากมาย รวมไปถึงนักปรุงยาชื่อดังก้องโลก …

แวกกาดู (Uagadou) [Wag-a-doo]

ถึงแม้ว่าในแอฟริกาจะมีจำนวนโรงเรียนเวทมนตร์น้อยที่สุด แต่ที่เดียวที่มีก็ได้ก่อตั้งมาอย่างยาวนาน (อย่างน้อยๆ ก็ราวหนึ่งพันปี) และมีชื่อเสียงประสบความสำเร็จอย่างน่าอิจฉาในระดับนานาชาตินั่นก็คือ แวกกาดู (Uagadou) โรงเรียนเวทมนตร์ที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถรองรับนักเรียนจากทวีปอันยิ่งใหญ่ได้ทั้งทวีป โดยมีข้อมูลที่อยู่เพียงแค่ “เทือกเขาจันทรา (Mountains of the Moon)” ที่ซึ่งนักเดินทางได้กล่าวไว้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอันงดงามสลักเสลาจากภูเขาด้านหนึ่งและถูกปกคลุมไปด้วยหมอกทึบ นั่นทำให้บางครั้งมันก็ดูเหมือนกำลังลอยอยู่กลางอากาศ เวทมนตร์โดยมาก (บางตำราก็กล่าวว่าทั้งหมด) เป็นเวทมนตร์ท้องถิ่นของแอฟริกา และที่แวกกาดูนี้นักเรียนส่วนใหญ่จะมีความเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ การเล่นแร่แปรธาตุ และศาสตร์การแปลงร่างเป็นพิเศษ ไม้กายสิทธิ์นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นในยุโรป ขณะที่ส่งต่อมายังพ่อมดแม่มดแอฟริกาในลักษณะของเครื่องใช้อันมีประโยชน์เมื่อศตวรรษก่อนนี้เอง ทำให้การร่ายคาถาส่วนใหญ่พวกเขามักจะใช้การชี้นิ้วหรือโบกมือเป็นท่าทางต่างๆ นั่นทำให้นักเรียนแวกกาดู สามารถใช้เป็นข้ออ้างได้เมื่อถูกกล่าวหาว่าแหกกฎบทบัญญัติว่าด้วยการปกปิดความลับพ่อมดแม่มดนานาชาติ (‘ผมแค่สะบัดมือไปมา ไม่ได้หมายความว่าผมต้องการร่ายคาถาใส่คางของเขาสักหน่อย’) …

นูร์เมนการ์ด (Nurmengard)

ปราสาทนูร์เมนการ์ด ปราสาทนูร์เมนการ์ดของเกลเลิร์ต กรินเดลวัลด์ ตั้งอยู่บนภูเขาสูงของประเทศออสเตรีย (บทภาพยนตร์สัตว์มหัศจรรย์: อาชญากรรมของกรินเดลวัลด์ ฉากที่ 117) ผู้ที่เคยมาเยือนปราสาทแห่งนี้คือ ครีเดนซ์ แบร์โบน (ออเรเลียส ดัมเบิลดอร์) และ ควีนนี่ โกลด์สตีน) ในยุคของแฮร์รี่ พอตเตอร์ แฮร์รี่ : “นูร์เมนการ์ดคืออะไรล่ะ”เฮอร์ไมโอนี่ : “คุกที่กรินเดลวัลด์สร้างไว้ขังคนที่ต่อต้านเขาน่ะสิ ตอนหลัง พอโดนดัมเบิลดอร์จับได้ เขาก็ถูกส่งไปอยู่ที่นั่นเหมือนกัน…” – แฮร์รี่ พอตเตอร์ …

บ้านโพรงกระต่าย (The Burrow)

บ้านโพรงกระต่าย (The Burrow) คือบ้านของครอบครัววีสลีย์ ซึ่งอยู่นอกอาณาเขตหมู่บ้านอัตเทอรี่ เซนต์ แคทช์โพล (Ottery St. Catchpole) เขตเดวอน ประเทศอังกฤษ ในปี 1997 หลังจากอัลบัส ดัมเบิลดอร์เสียชีวิต บ้านหลังนี้ก็กลายเป็นกองบัญชาการใหญ่ของภาคีนกฟีนิกซ์ด้วย   ลักษณะภายนอกของบ้าน “เดิมบ้านนี้เคยเป็นโรงเลี้ยงหมูขนาดใหญ่ที่สร้างด้วยหินมาก่อน แต่ได้ต่อเติมห้องเข้าไปตรงนั้นตรงนี้จนกลายเป็นบ้านสูงหลายชั้น และมันโย้เย้บิดเบี้ยวเสียจนดูราวกับว่ามันตั้งอยู่ได้ด้วยเวทมนตร์ (ซึ่งมันก็อาจจะเป็นจริงอย่างนั้น แฮร์รี่เตือนตัวเอง) มีปล่องไฟสี่หรือห้าปล่องตั้งอยู่บนหลังคาสีแดง ป้ายที่เอียงไปข้างหนึ่งปักอยู่บนพื้นดินใกล้ๆทางเข้า เขียนว่า ‘บ้านโพรงกระต่าย’ ที่หน้าประตูบ้านมีรองเท้าบู๊ตกันน้ำและหม้อใหญ่ขึ้นสนิมจับเขรอะวางกองกันไว้” …