Category: Pottermore แปลไทย

ความแตกต่างระหว่างเฟร็ดกับจอร์จ วีสลีย์ โดย Pottermore

อ้า! เจร็ดกับฟอร์จที่รัก ขณะที่เฟร็ดกับจอร์จ วีสลีย์ อาจจะดูคล้ายกันมากและอยู่ด้วยกันตลอดซึ่งยากมากที่คุณจะเห็นคนหนึ่งโดยไม่มีอีกคน จนแม้แต่พ่อแม่ของพวกเขาเองก็ไม่สามารถแยกทั้งคู่ออกจากกันได้ในบางครั้ง แต่พวกเขาก็ยังเป็นคนละคนกัน มาทำความรู้จักกับความแตกต่างระหว่างฝากแฝดคู่โปรดของเรากัน เฟร็ดได้รับการพูดถึงมากกว่า เฟร็ด วีสลีย์ ได้รับการกล่าวถึงมากกว่า 900 ครั้งในหนังสือ มากกว่าฝาแฝดของเขาประมาณเกือบ 200 ครั้ง (จอร์จได้รับการกล่าวถึงประมาณ 731 ครั้ง) นี่อาจเป็นไปได้ว่าในแง่ความรู้สึก เฟร็ดนั้นค่อนข้างเข้าถึงง่ายกว่าเล็กน้อย ในขณะที่จอร์จจะรอให้เฟร็ดเริ่มก่อน ก็เลยเป็น เฟร็ดกับจอร์จ ไม่ใช่ จอร์จกับเฟร็ด ในบทสัมภาษณ์ เจ.เค …

ฮอเรซ ซลักฮอร์น (Horace Slughorn)

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง วันเกิด: 28 เมษายน ไม้กายสิทธิ์: ไม้ซีดาร์ แกนกลางบรรจุเอ็นหัวใจมังกร ความยาวสิบเศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว ยืดหยุ่นพอสมควร บ้านฮอกวอตส์: สลิธีริน ความสามารถพิเศษ: ผู้ชำนาญการสกัดใจ ผู้เชี่ยวชาญการปรุงยา การแปลงร่างระดับสูง บิดา มารดา: บิดาเป็นพ่อมด มารดาเป็นแม่มด (ตระกูลหนึ่งในยี่สิบแปดสกุลศักดิ์สิทธิ์) ครอบครัว: ไม่เคยแต่งงาน ไม่มีบุตร (ถึงกระนั้นตระกูลซลักฮอร์นยังคงสืบต่อผ่านสายข้างเคียง) งานอดิเรก: สโมสรซลัก ติดต่อทางจดหมายกับนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง ดื่มด่ำไวน์ชั้นดีและขนมหวาน …

สภาเวทมนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (The Magical Congress of the United States of America (MACUSA))

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง https://www.youtube.com/watch?v=Pj4TltFJJKk ต้นกำเนิด สภาเวทมนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยแม่มดและพ่อมดแห่งอเมริกาด้วยตัวย่อว่า MACUSA (ปกติแล้วออกเสียงว่า: มา Mah – คูซ cooz – า ah) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1693 หลังจากการเริ่มต้นใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับความลับพ่อมดแม่มดนานาชาติ พ่อมดทั่วโลกก็เดินทางมาถึงจุดสำคัญ ด้วยความสงสัยว่าพวกเขาจะมีชีวิตที่อิสระและมีความสุขกว่าได้หรือไม่ถ้าเขาสร้างชุมชนใต้ดินที่ช่วยเหลือตัวเองและมีโครงสร้างเป็นของตนเอง ความรู้สึกนี้มีความเข้มข้นมากในอเมริกา เนื่องจากการพิจารณาคดีแม่มดเซเล็มเมื่อไม่นานมานี้ มาคูซามีต้นแบบมาจากสภาพ่อมดแห่งบริเตนใหญ่ ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาก่อนกระทรวงเวทมนตร์เสียอีก ผู้แทนจากชุมชนเวทมนตร์ทั่วอเมริกาเหนือได้รับเลือกเข้ามาที่ MACUSA เพื่อบัญญัติกฎหมายที่ทั้งรักษาความสงบและปกป้องพ่อมดแม่มดในอเมริกา เป้าหมายหลักของ …

แอนิเมไจ (Animagi)

เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง แอนิเมจัส คือ แม่มดหรือพ่อมดที่สามารถเปลี่ยนร่างเป็นสัตว์ได้ดังใจ ขณะที่อยู่ในร่างสัตว์ พวกเขายังคงรักษาความสามารถส่วนใหญ่ในการคิดเหมือนมนุษย์ การรู้สึกถึงตัวตนของตนเอง และความทรงจำของพวกเขาเอาไว้ได้ พวกเขาจะรักษาความคาดหวังในการดำรงชีพแบบมนุษย์ปกติไว้ได้ด้วยถึงแม้ว่าพวกเขาจะอยู่ในร่างสัตว์เป็นระยะเวลานานก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามอารมณ์และความรู้สึกจะถูกลดความซับซ้อนลงและมีความต้องการแบบสัตว์มากขึ้น กินอะไรก็ตามที่ร่างสัตว์ของพวกเขาต้องการ มากกว่าการต้องการอาหารแบบมนุษย์ มันยากอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นแอนิเมจัส อีกทั้งวิธีการซึ่งซับซ้อนและกินเวลานานก็สามารถก่อความผิดพลาดได้อย่างเหลือเชื่อ ดังนั้นจึงเชื่อกันว่ามีพ่อมดแม่มดน้อยกว่าหนึ่งในพันที่เป็นแอนิเมจัส แอนิเมจัสมีประโยชน์อย่างยิ่งในแวดวงของการจารกรรมและอาชญากรรม ด้วยเหตุนี้จึงมีการจดทะเบียนผู้ที่เป็นแอนิเมจัส โดยมุ่งหวังว่าแอนิเมจัสทุกคนต้องระบุรายละเอียดส่วนบุคคลและลักษณะร่างที่แปลงของพวกเขาไว้ มักเป็นเรื่องปกติที่ตำหนิพิเศษหรือความพิการจากร่างมนุษย์จะเปลี่ยนมาพบเห็นในร่างสัตว์ด้วย การที่ไม่ได้ลงทะเบียนตนเองอาจนำไปสู่การถูกจับขังไว้ในคุกอัซคาบัน เมื่อขั้นตอนในการฝึกฝนเพื่อเป็นแอนิเมจัสเกิดความผิดพลาด บ่อยครั้งที่มันก่อให้เกิดความผิดพลาดที่ร้ายแรง โดยทั่วไปแล้วการขาดความอดทนต่อกระบวนการที่ซับซ้อนและยาวนานเป็นรากของมหันตภัยนี้ ซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบที่น่าสะพรึงของการกลายพันธุ์เป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ ยังไม่ทราบถึงวิธีรักษาสำหรับความผิดพลาดเหล่านี้ และผู้ที่ก่อมันขึ้นมาก็มักจะถูกบังคับให้ออกไปอยู่ในสภาพที่น่าสังเวช ไม่สามารถเป็นสัตว์เต็มตัวหรือคนเต็มตัวได้ ความสามารถในการแปลงร่างและการปรุงยาจำเป็นยิ่งสำหรับการเป็นแอนิเมจัส …

โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์อิลเวอร์มอร์นี (Ilvermorny School of Witchcraft and Wizardry)

ก่อนอื่นต้องขอบคุณเนื้อหาฉบับภาษาไทยของทาง Pottermore ก่อนเลยครับ เพราะบทความนี้เนื้อหาแปลได้เกือบสมบูรณ์ทั้งหมดเลยครับ ชื่นชมการแปลไทยครั้งนี้มาก แต่มีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงอยู่บ้าง ทาง Muggle-V เลยปรับปรุงใหม่ครับ โรงเรียนเวทมนตร์แห่งอเมริกาเหนืออันยิ่งใหญ่แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่สิบเจ็ด โดยมีที่ตั้งอยู่ ณ ยอดสูงสุดของภูเขาเกรย์ล็อก (Greylock) ซึ่งซ่อนตัวจากการมองเห็นของผู้ที่ไม่มีเวทมนตร์ด้วยคาถาอันทรงพลังมากมาย ที่บางครั้งก็ปรากฏออกมาในรูปของวงเมฆหมอก จุดเริ่มต้นที่ไอร์แลนด์ อิโซลต์ เซเออร์ (Isolt Sayre) เกิดราวปี ค.ศ. 1603 เธอใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ในหุบเขาคูมลูกรา ในเคาน์ตีเคอร์รี (Coomloughra, County Kerry) …

โลกเวทมนตร์อเมริกาในทศวรรษที่ 1920 (1920s Wizarding America)

เหล่าพ่อมดในอเมริกาเคยมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอนปี 1914-1918 แม้ว่าโนแมจผู้ร่วมในสงครามครั้งนั้นจะไม่ตระหนักถึงความช่วยเหลือของพวกเขาก็ตาม เนื่องจากมีการใช้เวทมนตร์จากทั้งสองฝ่าย ท่าทีของผู้วิเศษไม่ได้ชัดเจนนัก พวกเขามีชัยหลายครั้งจากการป้องกันไม่ให้จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นและจากการเอาชนะศัตรูผู้ใช้เวทมนตร์ด้วยกัน ความร่วมมือกันในครั้งนี้ไม่ได้ทำให้ทัศนคติของมาคูซา (MACUSA) ในเรื่องการผูกสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างโนแมจและผู้วิเศษอ่อนลงแต่อย่างใด และกฎแรพพาพอร์ตยังบังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อไป ในทศวรรษที่ 1920 สังคมผู้วิเศษของสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้ข้อบังคับด้านความลับได้ดีกว่าชาวยุโรป และเลือกคู่ครองเฉพาะคนที่อยู่ชนชั้นเดียวกันเท่านั้น ความทรงจำเรื่องการละเมิดความลับครั้งร้ายแรงของดอร์คัส ทเวลฟ์ทรีส์ (Dorcus Twelvetrees) ทำให้เกิดศัพท์เวทมนตร์ใหม่ การทำตัวเป็น “ดอร์คัส” คือคำสแลงของพวกที่โง่เง่าไม่ก็ไร้สมอง   มาคูซายังคงวางบทลงโทษร้ายแรงสำหรับใครก็ตามที่ละเมิดบทบัญญัตินานาชาติเกี่ยวกับความลับพ่อมดแม่มด   มาคูซาไม่ยอมรับปรากฏการณ์เวทมนตร์อย่างพวกผี โพลเดอร์ไกส์ และสัตว์มหัศจรรย์มากเท่ากับพวกยุโรป เพราะความเสี่ยงที่สัตว์ร้ายและวิญญาณเหล่านั้นอาจชักนำให้พวกโนแมจรับรู้ถึงการมีอยู่ของเวทมนตร์ …

กฎแรพพาพอร์ต (Rappaport’s Law)

ในปี ค.ศ. 1790 ประธานลำดับที่สิบห้าของสภาเวทมนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา หรือ มาคูซา (MACUSA) เอมิลี่ แรพพาพอร์ต (Emily Rappaport) ได้ประกาศใช้กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งแยกเหล่าผู้วิเศษและชุมชนโนแมจออกจากกันอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งการประกาศใช้กฎหมายนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการละเมิดบทบัญญัติความลับนานาชาติครั้งรุนแรงที่ทำให้ มาคูซา ต้องเสียหน้าจากการถูกตำหนิโดยสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ เรื่องยิ่งหนักเข้าไปใหญ่เมื่อการละเมิดบทบัญญัติดังกล่าวมีต้นเหตุมาจากภายใน มาคูซา เสียเอง เล่าอย่างกระชับก็คือ หายนะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับบุตรสาวของผู้ดูแลการคลังและดรากอต (Keeper of Treasure and Dragots) คนสนิทของประธานแรพพาพอร์ต (ดรากอตคือสกุลเงินพ่อมดของอเมริกัน และตำแหน่งผู้ดูแลดรากอตก็มีความหมายตรงตัว เสมือนเลขานุการที่ดูแลด้านการคลังนั่นเอง) …

ศตวรรษที่สิบเจ็ดและต่อจากนั้น (Seventeenth Century and Beyond)

เมื่อพวกโนแมจชาวยุโรปเริ่มอพยพมายังโลกใหม่ แม่มดและพ่อมดชาวยุโรปจำนวนมากก็มาตั้งรกรากในอเมริกาเช่นเดียวกัน เหมือนกับเหล่ามิตรสหายโนแมจ พวกเขามีเหตุผลมากมายเอื้อให้ตัดสินใจละทิ้งถิ่นกำเนิด บ้างถูกผลักดันด้วยความกระหายการผจญภัย ทว่าส่วนใหญ่มาเพื่อหลบหนีเอาตัวรอดจากสาเหตุเช่น การขับไล่ข่มเหงจากพวกโนแมจในบางครั้ง จากเพื่อนๆ พ่อมดแม่มดด้วยกันในบางที รวมไปถึงจากอำนาจหน่วยงานของโลกเวทมนตร์เอง ซึ่งปัจจัยประการหลังนี้ได้มุ่งหมายพยายามจะปะปนตัวเองไปกับคลื่นมหาชนโนแมจที่ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หรือพยายามแฝงตัวอยู่ท่ามกลางประชากรผู้วิเศษชาวอเมริกันพื้นเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่โดยปกติต้อนรับและปกป้องพี่น้องชาวยุโรปอยู่แล้ว จากช่วงต้นเห็นได้ชัดว่าโลกใหม่นั้นมีสภาพแวดล้อมที่ทารุณสำหรับพ่อมดแม่มดมากกว่าโลกเก่า ด้วยสามเหตุผลหลัก ประการแรก เช่นเดียวกับพวกโนแมจ พวกเขามายังประเทศนี้ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงน้อยนิด ยกเว้นที่พวกเขาทำได้เอง ตอนอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด พวกเขาเพียงแค่ตรงไปร้านเครื่องยาท้องถิ่นหาของที่จำเป็นสำหรับปรุงยา แต่ที่นี่พวกเขาต้องออกตามหาพืชวิเศษที่ไม่คุ้นเคยเอง แถมที่นี่ยังไม่มีช่างทำไม้กายสิทธิ์ที่เป็นที่รู้จัก และโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์อิลเวอร์มอร์นี (Ilvermorny School of Witchcraft and …

ศตวรรษที่สิบสี่ – ศตวรรษที่สิบเจ็ด (Fourteenth Century – Seventeenth Century)

บทความนี้ทาง Pottermore มีการแปลไทยให้เป็นพิเศษ ควบคู่ไปกับต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง แต่ทาง Muggle-V ขอมาแปลไทยเองอีกต่อเพื่อให้เกิดความตรงต่อหนังสือฉบับภาษาไทย และเข้าใจได้ไหลลื่นขึ้น โดยเนื้อหาจะมีทั้งหมด 4 ส่วนซึ่งอีก 3 ส่วนจะทยอยตามกันมาในวันที่ 9 10 และ 11 มีนาคมนี้ เวลา 3 ทุ่มตรงตามเวลาประเทศไทยเช่นเดิมครับ ซึ่งทาง Muggle-V จะรีบแปลไทยให้ทันทีครับ ถึงแม้นักสำรวจชาวยุโรปเรียกมันว่า “โลกใหม่” เมื่อพวกเขาไปถึงทวีปนั้นเป็นครั้งแรก แต่ผู้วิเศษรู้จักอเมริกามาเนิ่นนานก่อนพวกมักเกิ้ล …

6 กรกฎาคม 2014 – บัลแกเรีย พบ ญี่ปุ่น

จินนี่ พอตเตอร์ นักข่าวควิดดิชประจำเดลี่พรอเฟ็ต รายงานจากทะเลทรายปาตาโกเนีย   บัลแกเรีย 610 – ญี่ปุ่น 460   หนึ่งนาทีก่อนเดินออกสู่สนามของการแข่งรอบรองชนะเลิศนัดที่สองของปีนี้ บีตเตอร์บัลแกเรีย บอริส วัลชานอฟ (Boris Vulchanov) บอกกับดิฉันว่า ‘พวกเราถูกมองเป็นไก่รองบ่อนมาตลอดการแข่งขันนี้ พวกเราไม่มีอะไรจะต้องเสีย แต่ก็มีทุกอย่างพอที่จะชนะ พวกเราจะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปข้างนอกนั่น’ ไม่มีใครที่จะปฏิเสธได้ว่าพวกเขาเป็นเช่นนั้น ถ้าจะมีอะไรสักอย่างที่ทำให้ญี่ปุ่น ทีมซึ่งเล่นได้ยอดเยี่ยมตลอดการแข่งขันนี้และส่งให้สองบีตเตอร์มือฉมัง ชินโกะ (Shingo) และฮงโกะ (Hongo) …