Category: แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1
ภาพบรรยากาศงานเปิดตัวภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 (Harry Potter and the Deathly Hallows Part 1) รอบปฐมทัศน์ ณ Odeon Leicester Square กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2010 CREDIT: Warner Bros.
หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์มีทั้งหมด 7 เล่มถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ทั้งหมด 8 ภาค สร้างกระแสให้เกิดสาวกที่ติดตามแฮร์รี่ พอตเตอร์ไปทั่วโลก ในกลุ่มสาวกแน่นอนว่าก็มีหลายแบบ กลุ่ม 1-ติดตามแค่ภาพยนตร์และไม่เคยอ่านหนังสือเลย (พูดเลยว่าคุณพลาดรายละเอียดความมันสุดๆแล้วล่ะ!!) กลุ่ม 2-พอใจติดตามแค่หนังสือ และกลุ่ม 3-ติดตามทั้งสองอย่าง แน่นอนว่าในแบบฉบับภาพยนตร์มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาเป็นหลัก รายละเอียดข้อมูลย่อมละเอียดสู้ในหนังสือไม่ได้ เลยทำให้เกิดปมเนื้อหามากมายที่คนที่ไม่อ่านหนังสือแล้วไปดูภาพยนตร์อย่างเดียวต้องมึนงงว่า เอ๊ะ! มันเกิดขึ้นได้ไงนะ นี่ยังไม่นับอีกว่าข้อมูลยิบย่อยหลายอย่างถูกเปลี่ยนแปลงต่างไปจากหนังสืออีก และเพราะแบบนี้เมื่อมีการคุยกันเรื่องรายละเอียดแฮร์รี่ พอตเตอร์เกิดขึ้น ซึ่งโดยส่วนมากกลุ่มที่คุยจะยึดรายละเอียดจากหนังสือเป็นหลักมากกว่า พอมีคนที่ดูแต่ภาพยนตร์อย่างเดียวมาร่วมวงก็อาจจะงงจนพูดอ้างข้อมูลผิดกันไปคนละทางได้ ถ้างั้นเรามาดูกันหน่อยไหมว่ามีประเด็นโดดเด่นอันไหนบ้างที่หนังสือกับภาพยนตร์ต่างกัน (จริงๆมีหลายประเด็นมากๆแต่คัดเอาอันเด่นๆที่คนกลุ่ม 3 …
เชื่อว่าต้องมีหลายคนเป็นเหมือนแอดมิน ที่หลงชื่นชอบงานสถาปัตยกรรมของฮอกวอตส์ที่สวยงามทั้งภายในและภายนอก ล่าสุด Nicholas Henderson ผู้กำกับศิลป์ของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 และ ภาค 2 (Harry Potter and The Deathly Hallows: Part 1 and 2) ได้เผยแพร่ภาพพิมพ์เขียว และภาพฉากสามมิติที่ใช้ในภาพยนตร์ให้แฟนๆ ได้รับชมกันครับ สามารถชมต่อได้ที่บล็อกส่วนตัวของ Nicholas Henderson …
การหลบหนีกลับไปยังป่าอย่างหวุดหวิด แฮร์รี่และเฮอร์ไมโอนี่ก็กลับมารวมตัวกับรอนอีกครั้งในไม่ช้า เขากลับมาเพื่อช่วยแฮร์รี่ทันเวลาจากหลุมฝังศพที่เต็มไปด้วยน้ำเย็นยะเยือก “มันเป็นช่วงเวลาอันยิ่งใหญ่ของรอนจริงๆ” กรินท์ กล่าวว่า “เขาก้าวไปข้างหน้าและกลายเป็นฮีโร่ด้วยความเชื่อในสิ่งที่อยู่ในใจของเขา ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ปรากฏแก่สายตาเบื้องหน้า” การดึงความสนใจของพวกเขากลับมาที่การไล่ล่าฮอร์ครักซ์ มีร่องรอยบางอย่างที่นำมาประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะเกี่ยวกับเครื่องหมายประหลาดที่ปรากฏขึ้นมาตลอดเวลา—วงกลมที่อยู่ในสามเหลี่ยมและมีเส้นคร่อมอยู่ตรงกลาง แฮร์รี่คือคนที่จำได้ในตอนแรกว่าพวกเขาเคยเห็นมัน: บนสร้อยที่มีเครื่องประดับซึ่งสวมโดย เซโนฟิเลียส เลิฟกู๊ด พวกเขาทั้งสามได้มุ่งความสนใจไปยังการค้นหาและทำลายฮอร์ครักซ์ แต่ทันใดนั้นความลึกลับใหม่ก็ปรากฏตัวขึ้นมา พวกเขาไม่รู้ว่าเครื่องหมายที่พวกเขาเห็น จะมีการเชื่อมโยงบางประการกับการค้นหาของพวกเขา แต่มันกลับมีความหมายอย่างยิ่ง ฉะนั้นแฮร์รี่, เฮอร์ไมโอนี่และรอนจึงเตรียมตัวไปที่บ้านของเลิฟกู๊ด สจ๊วต เครก กล่าวว่า บ้านหลังนั้นถูกออกแบบขึ้นตามที่โรว์ลิงบรรยายเอาไว้ในหนังสือ …
ภารกิจของแฮร์รี่แผ่ขยายตัวออกไป จากฮอร์ครักซ์ไปจนถึงวิธีการทำลายพวกมัน ที่การค้นหาดาบของก็อดดริก กริฟฟินดอร์ดีกว่าการค้นหาจุดกำเนิดของมัน, ก็อดดริกส์โฮลโล่? แต่เฮอร์ไมโอนี่เตือนพวกเขาว่า สถานที่ใดที่มีความหมายบางอย่างต่อแฮร์รี่ อาจเป็นสถานที่ซึ่งเจ้าแห่งศาสตร์มืดคาดคิดว่าเขาจะเดินทางไป “ก็อดดริกส์โฮลโล่เป็นสถานที่เกิดของแฮร์รี่ และเป็นสถานที่พ่อแม่ของเขาถูกฆ่า” เยทส์ กล่าวว่า “และเขาเพิ่งรู้เมื่อไม่นานว่าดัมเบิลดอร์ก็เคยอยู่ที่ที่นั่น ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาไม่เคยรู้มาก่อน มันจึงเป็นหลายเหตุผลรวมกันทำให้เขาไปที่นั่น: โดยยุทธศาสตร์แล้ว เขาคิดว่าอาจมีบางอย่างในที่นั้น สามารถช่วยพวกเขาในภารกิจได้ และด้วยอารมณ์แล้ว, เขาอยากกลับไป” ฉากของหมู่บ้านถูกออกแบบขึ้นโดยสไตล์ทูดอร์ และมีการผูกเรื่องขึ้นที่ Pinewood Studios เครกกล่าวว่า “มันมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยไม้สักครึ่งนึง, …
ในตอนท้าย, แฮร์รี่ก็ได้ครอบครองฮอร์ครักซ์ชิ้นที่สาม แต่การมีตัวตนมีผลลัพธ์ที่ไม่ได้คาดคิดเอาไว้เกี่ยวกับเพื่อนรักทั้งสาม ที่ได้ร่วมแบ่งปันสายสัมพันธ์ที่ไม่มีวันแตกสลายได้…จนตอนนี้ โดยคำจำกัดความแล้ว, ฮอร์ครักซ์คือชิ้นส่วนของวิญญาณอันชั่วร้ายของโวลเดอมอร์ ซึ่งความมีตัวตนของมันจะครอบงำและมีอารมณ์ก้าวร้าวที่รุนแรงขึ้นกับทุกคนที่เข้าใกล้มัน แรดคลิฟฟ์ เปิดเผยว่า “หากใครได้สวมใส่มันเข้าจริงๆ ผลที่จะได้รับตามมาคือพวกเขาจะกลายเป็นคนฉุนเฉียว หวาดระแวง และค่อนข้างน่ากลัว, พูดถึงโดยส่วนใหญ่นะ” ยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง เมื่อพ่อมดหนุ่มพยายามทำลายมัน ฮอร์ครักซ์ไม่สะทกสะท้านต่อเวทมนตร์ของพวกเขาเลย “พวกเขาพบว่ามันจะถูกทำลายได้โดยดาบของกริฟฟินดอร์ ซึ่งแน่นอนว่ามันหายไปแล้ว” แรดคลิฟฟ์ กล่าว รอนเหมือนจะอ่อนไหวต่อพลังอำนาจของมันได้เป็นพิเศษ กรินท์ กล่าวว่า “มันเป็นช่วงเวลาที่ตึงเครียดมาก เพราะพวกเขาอยู่กันตามลำพังและรอนก็กลุ้มใจเรื่องครอบครัวของเขา …
ทั้งสามมาสู่ถนนชาฟท์สเบอรี่ในใจกลางของโรงละครสัตว์พิคคาดิลลี่อันอึกทึกที่ลอนดอน และในย่านโรงละคร West End theatre ฉากนั้นได้ถ่ายทำในสถานที่จริง ซึ่งวัตสันกล่าวว่า “เหมือนกับความฝันเลย มันเหลือเชื่อที่ได้เห็นการจราจรที่หยุดชะงักตัวบนถนนที่มีการจราจรคับคั่งมากที่สุดในเมืองใหญ่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง” แม้ว่าการถ่ายทำภาพยนตร์จะเสร็จสิ้นภายในยามใกล้รุ่ง แฟนๆ หลายร้อยคนหันเหลือบมองนักแสดง “กลุ่มแฟนๆ มีขนาดใหญ่มาก” เฮย์แมน กล่าวว่า “พวกเขาไม่เข้ามาก้าวก่ายและมีอารมณ์ร่วมไปกับมันจริงๆ การถ่ายทำบนสถานที่วุ่นวายจะขาดความท้าทายไปไม่ได้เลย แต่เราก็ได้ช่วงเวลาดีๆ ด้วยเหมือนกัน” เยทส์ เห็นด้วยว่า “จริงๆ แล้วมันน่าประทับใจมาก ที่นั่นมีผู้คนมากมายยืนอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงในช่วงค่ำคืน มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก” ด้วยการยอมรับผลงานของแรดคลิฟฟ์บนเวทีเมื่อไม่นานมานี้ ผู้ที่ชื่นชอบภาพยนตร์ที่ช่างสังเกต …
เช่นเดียวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ ลอร์ดโวลเดอมอร์ก็กำลังอยู่ในภารกิจ: การปลิดชีพของ “เด็กชายผู้รอดชีวิต” เยทส์ กล่าวว่า “โวลเดอมอร์อยู่จุดสูงสุดของพลังอำนาจที่แท้จริง เขาหลบซ่อนตัวอยู่ในความมืด, รอเวลาของเขาจนเขาสามารถกลับมาและกำหนดความตั้งใจบนโลกที่เหลือได้ ทุกอย่างที่อยู่ในแผนการสำคัญของเขามารวมอยู่ด้วยกัน; เขาแค่อยากจัดการกับรายละเอียดเล็กๆ นี้ โวลเดอมอร์ไม่รู้ว่า ‘เด็ก’ กลายเป็นคู่ต่อสู้ผู้แข็งแกร่งที่สุดได้อย่างไร แต่เขารู้ว่าเขาต้องเป็นผู้ฆ่าแฮร์รี่ พอตเตอร์ อย่างแรกสุดมันถูกกำหนดเอาไว้แล้ว และอย่างที่สองคือมันจะเป็นความสะใจมาก หลังจากที่ถูกขัดขวางมาหลายต่อหลายครั้ง มันเป็นมากกว่าเรื่องส่วนตัวไปแล้วในจุดนี้” ราล์ฟ ฟีนส์ ผู้เป็นที่จดจำได้อย่างติดตาในบทบาทของลอร์ดโวลเดอมอร์ กล่าวว่า ตัวละครของเขาถูก …
จุดจบกำลังจะเริ่มต้น จากช่วงเวลาที่เขาได้นำผู้คนทั่วโลกเข้าสู่การผจญภัยอันน่าตื่นเต้นของแฮร์รี่ พอตเตอร์, พ่อมดน้อยที่เป็นผู้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ทางหนังสือและภาพยนตร์ เป็นเวลากว่าชั่วทศวรรษที่เดวิด เฮย์แมนได้ขลุกอยู่ในโลกแห่งเวทมนตร์ ในฐานะของผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ทุกตอนที่สร้างขึ้นจากหนังสือขายดีที่สุดของ เจ.เค.โรว์ลิ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างในภาพยนตร์ที่มีการดัดแปลงมาจากหนังสือเล่มที่ 7 และเป็นตอนสุดท้ายที่มีชื่อว่า “แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต” แต่เมื่อเฮย์แมนยิ่งเข้าใกล้ตอนสุดท้ายของภาพยนตร์แฟรนไชส์ที่ทำลายสถิติมากมาย เขาพบว่ามันมีการเสนอความท้าทายในรูปแบบพิเศษ ไม่น้อยไปกว่าสิ่งที่เป็นวิธีการรวมเรื่องราวของนวนิยายชุดที่เนื้อเรื่องมีการถักทอประสานกันทั้งหมด อย่างที่เขาเร่งความเร็วเพื่อก้าวเข้าสู่บทสรุปที่สำคัญ มีการแหวกแนวจากประเพณีของภาพยนตร์ที่เป็นภาคต่อ โดยตัดสินใจว่าจะแบ่งภาพยนตร์เรื่อง “แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต” ให้มีความยาวเป็น 2 ตอน “เมื่อ สตีฟ โคลฟส์ …