Author: P.T.Riddle

ชมรมการต่อสู้ตัวต่อตัว (Duelling Club)

ชมรมการต่อสู้ตัวต่อตัว เป็นชมรมที่จัดตั้งขึ้นโดยกิลเดอรอย ล็อกฮาร์ต ในสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม 1992 ตอนสองทุ่ม (ห้องแห่งความลับ บ.11) และดำเนินกิจกรรมเรื่อยมาจนถึงปี 1993 โดยได้รับการอนุญาตจากอัลบัส ดัมเบิลดอร์ ให้จัดตั้งชมรมนี้ขึ้น และมีศาสตราจารย์เซเวอรัส สเนป เป็นผู้ช่วยของล็อกฮาร์ต มีจุดประสงค์เพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักคาถาที่ใช้สำหรับรับมือการต่อสู้ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ฮอกวอตส์ตกอยู่ในสถานการณ์ร้ายแรงจากการเปิดห้องแห่งความลับ และมีนักเรียนได้รับบาดเจ็บจากกรณีดังกล่าว “เอาล่ะ ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์อนุญาตให้ฉันเปิดชมรมการต่อสู้ตัวต่อตัวนี้ได้ เพื่อฝึกพวกเธอไว้ในกรณีที่จำเป็นต้องป้องกันตัวเอง ดังเช่นที่ฉันเคยทำมาแล้วหลายโอกาส นับครั้งไม่ถ้วน..” – กิลเดอรอย ล็อกฮาร์ต (ห้องแห่งความลับ บ.11) ปี …

นักโทษแห่งอัซคาบัน (Prisoner of Azkaban)

นักโทษแห่งอัซคาบัน ไม่ได้เป็นเพียงชื่อของหนังสือภาคสามของแฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่ยังหมายถึงพ่อมดแม่มดที่ทำผิดกฎหมายในเกาะบริเตนและไอร์แลนด์ แล้วถูกตัดสินโทษจำคุกที่คุกอัซคาบัน (รวมถึงนักโทษที่กลายเป็นแพะรับบาปด้วย) ซึ่งคุกแห่งนี้ตั้งอยู่ไกลออกไปบนเกาะกลางทะเลคลั่ง ที่ได้รับการควบคุมโดยเหล่าผู้คุมวิญญาณมายาวนาน ก่อนจะยกเลิกพวกผู้คุมวิญญาณไปในยุคสมัยของรัฐมนตรีคิงสลีย์ ชักเคิลโบลต์ โดยให้มือปราบมารจากแผ่นดินใหญ่หมุนเวียนมาดูแลแทน (Pottermore 1 และ 2) โดยปกติแล้ว หากนักโทษเสียชีวิตในคุก กระทรวงเวทมนตร์อังกฤษจะนำศพไปฝังไว้ข้างกำแพงของคุกอัซคาบัน (เจ้าชายเลือดผสม บ.17 น.353) รายชื่อ “นักโทษแห่งอัซคาบัน” แครบ (ผู้พ่อ) ถูกจับกุมได้หลังจากการต่อสู้ที่กองปริศนา ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1996 …

เพอร์ซี่ วีสลีย์ (Percy Weasley)

เพอร์ซี่ วีสลีย์ เป็นพ่อมดเลือดบริสุทธิ์ เป็นลูกชายคนที่สามของมอลลี่และอาเธอร์ วีสลีย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการขนส่งวิเศษประจำกระทรวงเวทมนตร์อังกฤษ (อ้างอิง Pottermore) คุณลักษณะของเพอร์ซี่ วีสลีย์ เพอร์ซี่เป็นผู้ชายผมแดง หน้าตกกระ ที่สวมแว่นตากรอบเขาสัตว์ (ภาคีนกฟีนิกซ์ บ.8) ในปี 2014 มีการรายงานข่าวโดยริต้าว่าผมที่เคยแดงของเขาเริ่มกลายเป็นสีเทาในวัย 38 เริ่มหัวล้าน และดูแก่ตัวลงด้วย (อ้างอิง Pottermore) เพอร์ซี่จัดได้ว่าเป็นคนจู้จี้ เจ้าระเบียบ คาดหวังให้คนรอบตัวเป็นอย่างที่ตนเองวางหรือคิดไว้ มีความมุ่งมั่น ทะเยอทะยานในเส้นทางของตนเองอย่างชัดเจน และขี้โม้อยู่ไม่น้อย …

ป็อปปี้ พอมฟรีย์ (Poppy Pomfrey)

ป็อปบี้ พอมฟรีย์ หรือมาดามพอมฟรีย์ เป็นพยาบาล (Matron) ประจำฮอกวอตส์ คุณลักษณะของป็อปปี้ พอมฟรีย์ ป็อปปี้ พอมฟรีย์ เป็นผู้หญิงที่ถือเอาบทบาทหน้าที่ของเธอเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด รักษากฎต่อการรักษาและดูแลผู้ป่วยอย่างเข้มงวดจริงจัง อาณาเขตห้องพยาบาลฮอกวอตส์อยู่ภายใต้อำนาจการดูแลของเธอเบ็ดเสร็จเต็มที่ ในด้านจิตใจเธอให้ความเป็นห่วงเป็นใยต่อนักเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแลของเธอทุกคน และไม่เลือกปฏิบัติแม้แต่กับคนอย่างอัมบริดจ์ เหตุการณ์ใดก็ตามที่สร้างความอันตรายแก่เด็ก เช่น การที่คนอย่างล็อกฮาร์ตเข้ามาในโรงเรียนและเสกคาถารักษาแฮร์รี่ด้วยคาถาที่ไร้ประสิทธิภาพจนเขาต้องเสียกระดูกแขนไป หรือการประลองเวทไตรภาคีที่ตัวแทนซึ่งยังเป็นเด็กต้องมาเสี่ยงตาย เป็นสิ่งที่พอมฟรีย์ไม่พึงพอใจอย่างยิ่ง เธอมักอารมณ์เสียและหงุดหงิดเอาง่าย ๆ เมื่อคำพูดของเธอไม่ได้รับความสนใจหรือให้ความสำคัญในขณะที่เธอปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาอาการผู้ป่วย โดยเฉพาะในกรณีที่เธอประเมินว่าผู้ป่วยกำลังได้รับความวุ่นวายจากคนที่เข้ามาเยี่ยมมากเกินไป หรือความไม่สงบในห้องพยาบาล แต่ก็ยอมผ่อนปรนความเข้มงวด (อย่างไม่เต็มใจ) ในการเยี่ยมไข้บ้างเป็นบางครั้งหากประเมินว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เช่น …

พยาบาล (Matron)

พยาบาล (Matron) คือผู้หญิงที่มีหน้าที่ดูแลรักษาอาการป่วยและบาดเจ็บต่าง ๆ ในโรงเรียน ขณะที่ผู้หญิงซึ่งทำงานในโรงพยาบาลวิเศษเซนต์มังโกจะรวมอยู่ในอาชีพเดียวกันคือ “ผู้บำบัด (Healer)” และยังหมายถึงผู้ดูแลเด็ก ๆ ของสถานรับเลี้ยงด้วย พยาบาลประจำฮอกวอตส์ ที่ฮอกวอตส์จะมีพยาบาลหลัก 1 คน โดยห้องทำงานของพยาบาลประจำฮอกวอตส์ตั้งอยู่ตรงสุดปลายห้องพักคนไข้ (นักโทษแห่งอัซคาบัน บ.21) ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าพยาบาลมีอำนาจในการเพิ่มหรือหักคะแนนบ้านหรือไม่ แต่การไม่มีหลักฐานในหนังสือน่าจะเป็นข้อยืนยันว่าไม่สามารถกระทำได้ ป็อปปี้ พอมฟรีย์ มาดามพอมฟรีย์ทำหน้าที่เป็นพยาบาลประจำฮอกวอตส์มายาวนานกระทั่งถึงปี ค.ศ. 2014 แฮนนาห์ อับบอต หนังสือพิมพ์เดลี่พรอเฟ็ต ฉบับวันที่ …

เฮกเตอร์ แด็กเวิร์ธ-เกรนเจอร์ (Hector Dagworth-Granger)

เฮกเตอร์ แด็กเวิร์ธ-เกรนเจอร์ เป็นพ่อมดผู้ก่อตั้งสมาคมพิเศษสุดของนักปรุงยา (Most Extraordinary Society of Potioneers) ประวัติที่น่าสนใจของเฮกเตอร์ ???? เฮกเตอร์เคยให้คำอธิบายถึงยาเสน่ห์ที่แท้จริงไว้ว่า “นักปรุงยาที่เชี่ยวชาญอาจก่อให้เกิดความลุ่มหลงอย่างรุนแรงขึ้นได้ แต่กระนั้น ยังไม่เคยมีใครเลยที่สามารถสร้างความผูกพันที่ไม่มีเงื่อนไข เป็นอมตะ และไม่แตกสลาย ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่สมควรเรียกว่าความรัก” (นิทานของบีเดิลยอดกวี น.70) 1996 ในคาบเรียนวิชาปรุงยาคาบแรกที่เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ เข้าเรียนกับศาสตราจารย์ซลักฮอร์น เธอได้แสดงความรู้น่าทึ่งแก่อาจารย์ จนถามไถ่ชื่อของเธอ และทำให้เขานึกถึง เฮกเตอร์ แด็กเวิร์ธ-เกรนเจอร์ ซึ่งมีนามสกุลเดียวกันกับเฮอร์ไมโอนี่ …

กองปริศนา (Department of Mysteries)

กองปริศนาเป็นหนึ่งในแผนกของกระทรวงเวทมนตร์แห่งเกาะบริเตน เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในกองแห่งนี้จะทำงานเพื่อการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับความลับของจักรวาล เวลา ชีวิต ความตาย และปริศนาของเวทมนตร์ต่าง ๆ ไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ากองปริศนาก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่ ทราบเพียงว่าก่อตั้งก่อนปี 1672 (นิทานของบีเดิลยอดกวี น.94) ตำแหน่งที่ตั้ง กองปริศนา ตั้งอยู่ลึกลงไปชั้นที่ 9 ของกระทรวงเวทมนตร์ ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายที่ลิฟต์ลงมาถึง (ภาคีนกฟีนิกซ์ บ.7) จากประตูลิฟต์ ระเบียงทางเดินของกองปริศนาค่อนข้างแตกต่างจากระเบียงข้างบน ผนังสองด้านว่างเปล่า ไม่มีหน้าต่างหรือประตูใด ๆ เลยนอกจากประตูสีดำเกลี้ยง ๆ ตรงสุดทาง ด้านซ้ายของทางเดินเป็นบันไดลงไปสู่ห้องพิจารณาคดี …

คำพยากรณ์หายนะ (the Lost Prophecy)

คำพยากรณ์หายนะ คือ คำทำนายที่ศาสตราจารย์ทรีลอว์นีย์เป็นผู้ทำนาย โดยบอกเล่าถึงชะตากรรมของลอร์ดโวลเดอมอร์และเด็กที่จะเติบโตขึ้นมาฆ่าโวลเดอมอร์ ซึ่งเขาตัดสินใจเลือก แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นเด็กในคำทำนายดังกล่าว ลูกแก้วพยากรณ์ในกองปริศนา คำพยากรณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะได้รับการเก็บรวบรวมไว้ในกองปริศนา ซึ่งคำพยากรณ์หายนะที่ทำนายชะตากรรมของโวลเดอมอร์จากปากของทรีลอว์นีย์ก็ได้รับการเก็บรักษาไว้ในกองปริศนาแห่งนี้ ซึ่งลูกแก้วพยากรณ์ดังกล่าววางอยู่ในชั้นลูกแก้วแถวที่ 97 โดยมีป้ายสีเหลืองติดอยู่ที่ชั้นใกล้ลูกแก้ว ซึ่งเขียนด้วยลายมือบาง ๆ ตั้งแต่ปี 1980 และแก้ไขป้ายใหม่อีกครั้งในปี 1981 ระบุข้อความว่า ซ.พ.ท. กับ อ.พ.ว.บ.ด.เจ้าแห่งศาสตร์มืดและ (?) แฮร์รี่ พอตเตอร์ …

สกุลเงินพ่อมด

สิ่งหนึ่งที่การใช้ชีวิตของพ่อมดแม่มดคล้ายคลึงกับมักเกิ้ลก็คือ การใช้เงินเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยน สกุลเงินของพ่อมดแม่มดก็แตกต่างกันในแต่ละประเทศด้วย “นั่นถืออะไรอยู่ครับ อ้อ พวกคุณเอาเงินมักเกิ้ลมาแลก มอลลี่ ดูสิ!” – อาเธอร์ วีสลีย์ ที่กำลังตื่นเต้นกับธนบัตรสิบปอนด์ในมือของนายเกรนเจอร์ (ห้องแห่งความลับ บ.4 น.66) สกุลเงินมักเกิ้ลสามารถแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินของพ่อมดแม่มดได้ ดังจะเห็นได้จากกรณีของพ่อแม่เฮอร์ไมโอนี่ รวมถึงผู้ปกครองของเด็ก ๆ ที่เป็นมักเกิ้ล ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่เวทมนตร์อย่างตรอกไดแอกอนเป็นการเฉพาะ พวกเขานำเงินปอนด์มาแลกเป็นเงินพ่อมดที่ธนาคารกริงกอตส์ ซึ่งเจ.เค.โรว์ลิ่งเองได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่าสกุลเงินเกลเลียน 1 เกลเลียน “มีค่าประมาณ 5 ปอนด์ของอังกฤษ แต่ก็แปรผันไปตามอัตราแลกเปลี่ยน” …

ผู้เสียชีวิตใน “แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต”

บทความนี้รวบรวมรายชื่อตัวละครที่ได้รับการระบุชะตากรรมอย่างชัดเจนว่าตาย โดยอ้างอิงจากหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ฉบับฉลองครบรอบ 20 ปี แฮร์รี่ พอตเตอร์ในไทย เป็นสำคัญ ตัวละครที่ไม่ได้ระบุชื่อจะไม่นำเสนอในบทความนี้ รายนามผู้เสียชีวิตเรียงตามลำดับ แชริตี้ เบอร์เบจ เสียชีวิตช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 1997 ด้วยคำสาปพิฆาตของลอร์ดโวลเดอมอร์ ที่คฤหาสน์มัลฟอย ท่ามกลางโต๊ะประชุมของผู้เสพความตาย (เครื่องรางยมทูต บ.1 น.22) เฮ็ดวิก เสียชีวิตในวันที่ 27 กรกฎาคม 1997 ด้วยคำสาปพิฆาตจากผู้เสพความตายที่บุกโจมตีในระหว่างการเคลื่อนย้ายพอตเตอร์ทั้งเจ็ดออกจากบ้านเลขที่ …