Author: Hogwartslover
ก่อนอื่นต้องขอบคุณเนื้อหาฉบับภาษาไทยของทาง Pottermore ก่อนเลยครับ เพราะบทความนี้เนื้อหาแปลได้เกือบสมบูรณ์ทั้งหมดเลยครับ ชื่นชมการแปลไทยครั้งนี้มาก แต่มีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงอยู่บ้าง ทาง Muggle-V เลยปรับปรุงใหม่ครับ โรงเรียนเวทมนตร์แห่งอเมริกาเหนืออันยิ่งใหญ่แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่สิบเจ็ด โดยมีที่ตั้งอยู่ ณ ยอดสูงสุดของภูเขาเกรย์ล็อก (Greylock) ซึ่งซ่อนตัวจากการมองเห็นของผู้ที่ไม่มีเวทมนตร์ด้วยคาถาอันทรงพลังมากมาย ที่บางครั้งก็ปรากฏออกมาในรูปของวงเมฆหมอก จุดเริ่มต้นที่ไอร์แลนด์ อิโซลต์ เซเออร์ (Isolt Sayre) เกิดราวปี ค.ศ. 1603 เธอใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ในหุบเขาคูมลูกรา ในเคาน์ตีเคอร์รี (Coomloughra, County Kerry) …
เมื่อคืนวันอังคารที่ 7 มิถุนายน (เวลา 19:30 น. ของอังกฤษ หรือ ตีหนึ่งสามสิบนาทีของวันที่ 8 ตามเวลาไทย) ที่ผ่านมา Harry Potter and The Cursed Child Part 1 ได้เปิดม่านการแสดงพรีวิวรอบแรกไปเป็นที่เรียบร้อยต่อหน้าผู้ชม 1,500 คน ณ โรงละคร Palace Theater กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ …
ในวันที่ 7 มิถุนายน (วันพรุ่งนี้) Harry Potter and the Cursed Child จะเปิดแสดงรอบพรีวิวเป็นวันแรกแล้ว! และนี่คือเนื้อหาในโค้งสุดท้ายที่ทีมผู้จัดและนักแสดงละครเวที Harry Potter and the Cursed Child ทั้งสองตอนได้เปิดเผยเบื้องหลังการทำงานของพวกเขาในการนำเรื่องราวตอนที่ 8 ของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มาเล่าในรูปแบบละครเวที ณ โรงละคร Palace Theater กรุงลอนดอน …
ในปี ค.ศ. 1790 ประธานลำดับที่สิบห้าของสภาเวทมนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา หรือ มาคูซา (MACUSA) เอมิลี่ แรพพาพอร์ต (Emily Rappaport) ได้ประกาศใช้กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งแยกเหล่าผู้วิเศษและชุมชนโนแมจออกจากกันอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งการประกาศใช้กฎหมายนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการละเมิดบทบัญญัติความลับนานาชาติครั้งรุนแรงที่ทำให้ มาคูซา ต้องเสียหน้าจากการถูกตำหนิโดยสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ เรื่องยิ่งหนักเข้าไปใหญ่เมื่อการละเมิดบทบัญญัติดังกล่าวมีต้นเหตุมาจากภายใน มาคูซา เสียเอง เล่าอย่างกระชับก็คือ หายนะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับบุตรสาวของผู้ดูแลการคลังและดรากอต (Keeper of Treasure and Dragots) คนสนิทของประธานแรพพาพอร์ต (ดรากอตคือสกุลเงินพ่อมดของอเมริกัน และตำแหน่งผู้ดูแลดรากอตก็มีความหมายตรงตัว เสมือนเลขานุการที่ดูแลด้านการคลังนั่นเอง) …
เดิมที Warner Bros คิดว่าจะให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการเกาะติดชีวิตของนิวท์ ที่เดินทางศึกษาสัตว์วิเศษชนิดต่าง ๆ แล้วกลับมาเขียนหนังสือ แต่ J.K. Rowling เปลี่ยนทิศทางของมันอย่างสิ้นเชิง! ในภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้ง 8 ภาค J.K. Rowling ได้มีส่วนให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับบทและฉากต่าง ๆ แต่ใน “สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่” เธอได้เขียนบทภาพยนตร์อย่างเต็มตัว และข้อความที่คุณจะได้อ่านต่อจากนี้คือโครงเรื่องย่อๆ ของภาคแรก ถ้าคุณอยากชมภาพยนตร์เรื่องนี้โดยไม่ต้องการรับรู้ข้อมูลใดๆ เพราะกลัวเสียอรรถรสล่ะก็ ปิดบทความนี้ …
“ฉันคิดไว้ตลอดว่าเกิดอะไรขึ้นกับ แฮร์รี่ รอน และเฮอร์ไมโอนี่บ้างหลังจากทุกอย่างจบลง แต่มันจะไม่เกิดขึ้นหรอก” นี่คือบทสัมภาษณ์ของ JK ที่ยืนยันไว้ว่าเธอคิดเรื่องราวชีวิตของสามสหายและครอบครัวของพวกเขาหลังจากเหตุการณ์ใน แฮร์รี่ พอตเตอร์ เล่ม 7 เอาไว้ แต่เธอจะไม่เขียนออกมาเป็นหนังสือเล่มที่ 8 อย่างแน่นอน ทำเอาแฟนคลับเศร้าไปตาม ๆ กัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี “อย่างอื่น” ที่ไม่ใช่หนังสือซะหน่อย! แน่นอนว่าก่อนหน้านี้เราได้อ่านเรื่องราวเล็กน้อยของแฮร์รี่ในวัย 35 ปีที่พาครอบครัวไปชมควิดดิชเวิลด์คัพที่ทะเลทรายปาตาโกเนีย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2014 …
ในหอคอยเล็ก ๆ ของฮอกวอตส์ซึ่งถูกลั่นกุญแจไว้และไม่เคยมีนักเรียนคนใดย่างกรายเข้าไปถึง มีหนังสือโบราณเล่มหนึ่งที่ไม่เคยถูกสัมผัสด้วยมือมนุษย์คนใดเลยนับตั้งแต่ผู้ก่อตั้งทั้งสี่ได้ประดิษฐานมันไว้ในวาระซึ่งปราสาทถูกสร้างแล้วอย่างเสร็จสมบูรณ์ ข้าง ๆ หนังสือซึ่งหุ้มปกด้วยหนังมังกรสีดำที่หลุดลอกแล้วนั้น มีขวดหมึกสีเงินขวดเล็ก ๆ พร้อมทั้งปากกาขนนกสีซีดโผล่พ้นออกมา สิ่งนี้คือปากกาขนนกรับรองและหนังสืออนุญาต อันเป็นเครื่องกำหนดเพียงอย่างเดียวว่านักเรียนคนไหนบ้างที่จะได้เข้าศึกษา ณ โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ถ้าจะมีใครสักคนเข้าใจเวทมนตร์แต่นมนานกาเลที่ทำให้หนังสือและปากกาขนนกนี้ทำหน้าที่อย่างที่มันทำมาตลอด ก็ไม่เคยมีผู้ใดออกมาอ้างตัวว่าเข้าใจมันเลย แต่กระนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันช่วยให้เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนประหยัดเวลาในการอธิบายเรื่องน่าเหนื่อยหน่าย (อย่างที่ทำให้ อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ต้องถอนหายใจมาแล้วครั้งหนึ่ง) ให้บรรดาผู้ปกครองอารมณ์ร้อนเข้าใจว่าทำไมบุตรหลานของพวกเขาถึงไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนที่ฮอกวอตส์ การตัดสินของหนังสือและปากกาขนนกนี้เป็นที่สิ้นสุด ไม่เคยมีเด็กคนใดที่เข้าเรียนที่นี่โดยที่ชื่อของเขาไม่ถูกจดจารึกไว้ในหน้ากระดาษเหลือง ๆ ของหนังสือเล่มนี้ ในช่วงเวลาอันจำเพาะเจาะจงที่เด็กคนหนึ่งแสดงสัญญาณของการมีเวทมนตร์ออกมา ปากกาขนนกดังกล่าว …
หลังจากที่มีข่าวออกมาถึงภาพยนตร์ Fantastic Beasts and Where to Find Them (สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่) พร้อมกับกำหนดฉายภาคแรก (จากไตรภาค) ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2016 รวมถึงข่าวอื่นๆ มากมายที่ตามมาเป็นระยะ ล่าสุด เดวิด เฮย์แมน ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็กวนกลับมาคุมบังเหียนภาพยนตร์เรื่องนี้อีกครั้ง ได้ให้สัมภาษณ์เล็กๆ น้อยๆ ถึงการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ให้แฟนๆ ได้ติดตามกันครับ ซึ่งแอดมินขอคัดเนื้อหาบางส่วนที่สำคัญสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้มาให้ได้อ่านกันครับ (ต้องขอบคุณพี่แชมป์ …
โค้กเวิร์ธเป็นชื่อเมืองในอังกฤษ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตรอกช่างปั่นฝ้าย เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง โค้กเวิร์ธคือเมืองซึ่งอยู่ทางตอนกลางของอังกฤษ ซึ่งถูกแต่งให้เป็นที่ที่แฮร์รี่ไปค้างคืนที่โรงแรมเรลวิวกับลุง ป้า และดัดลีย์ ลูกพี่ลูกน้องของเขา ชื่อ โค้กเวิร์ธ มักทำให้นึกถึงเมืองอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นที่อยู่รวม ๆ กันของการทำงานหนักและปัญหาฝุ่นละออง ถึงจะไม่เคยเปิดเผยชัดเจนในหนังสือก็ตาม แต่โค้กเวิร์ธก็คือเมืองที่เพ็ตทูเนียและลิลี่ เอฟเวนส์ รวมถึงสเนปเติบโตกันขึ้นมา ในตอนที่ป้าเพ็ตทูเนียและลุงเวอร์นอนพยายามหนีให้พ้นจากบรรดาจดหมายจากฮอกวอตส์ พวกเขาเดินทางมาที่โค้กเวิร์ธ ซึ่งเป็นที่ที่ลุงเวอร์นอนคงจะคิดว่าปลอดเวทมนตร์อย่างสิ้นเชิง และจดหมายพวกนั้นจะไล่ตามพวกเขาไปไม่ถึง อันที่จริงเขาควรจะได้รู้บ้าง อย่างน้อยก็เกี่ยวกับ ลิลี่ น้องสาวของเพ็ตทูเนีย ว่าเธอได้เติบโตมาเป็นแม่มดมากความสามารถคนหนึ่งของโค้กเวิร์ธ โค้กเวิร์ธนี่เองที่เบลลาทริกซ์และนาร์ซิสซาเดินทางมาถึงในตอนต้นของ …
รัฐมนตรีกระทรวงเวทมนตร์ คือผู้นำที่ดูแลชุมชนผู้วิเศษในประเทศหนึ่ง ๆ เป็นการเฉพาะ และเป็นผู้นำของกระทรวงเวทมนตร์ในประเทศนั้น ๆ เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง กระทรวงเวทมนตร์ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1707 โดยบุคคลแรกที่ถูกเรียกว่าเป็น “รัฐมนตรีกระทรวงเวทมนตร์” ก็คือ อูลิค แกมป์ (Ulick Gamp) ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงเวทมนตร์มีที่มาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ในบางเวลาที่มีสถานการณ์วิกฤตตำแหน่งนี้ก็จะถูกเสนอให้บุคคลหนึ่ง ๆ เป็นการเฉพาะโดยไม่ต้องอาศัยการลงคะแนนเสียงของสาธารณะ (อัลบัส ดัมเบิลดอร์ เคยได้รับการเสนอชื่อในลักษณะดังกล่าว แต่เจ้าตัวก็ปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำอีก) วาระการดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีนั้นไม่มีกำหนดไว้ตายตัว แต่ก็มีข้อบังคับให้เขาหรือเธอสามารถดำรงตำแหน่งได้นานที่สุดไม่เกินเจ็ดปี แล้วต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ …