การแก้ไขและปรับปรุง “แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ฉบับภาพประกอบสี่สี (ภาษาไทย)”

กลุ่มพอตเตอร์พรูฟ (Potterproof) ก่อตั้งขึ้น โดยทีมงานของ Muggle-V และ MuggleThai มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงเนื้อหาของหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาษาไทย ให้มีความสมบูรณ์และถูกต้องตามเนื้อหาต้นฉบับ และเพื่อให้แฟนๆ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ชาวไทยได้มีโอกาสเห็นถึงความแตกต่างทางภาษา รวมถึงข้อมูลที่น่าสนใจจากจุดผิดพลาดเล็กๆ ร่วมกับสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ในการปรับปรุงแฮร์รี่ พอตเตอร์ให้ดียิ่งขึ้น จึงต้องขอขอบคุณสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์มา ณ โอกาสนี้ ที่ยินดีรับการตรวจแก้จากพวกเราครับ

การตรวจแก้ยึดข้อมูลประกอบจาก

  • ฉบับภาษาไทยจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ฉบับปก 15 ปี ปกของ Kazu Kibuishi
  • ฉบับภาษาอังกฤษแบบบริติช จาก Harry Potter and the Philosopher’s Stone ปกของ Jonny Duddle
  • ฉบับภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน จาก Harry Potter and the Sorcerer’s Stone ปกของ Kazu Kibuishi

ข้อมูลต่อไปนี้คือข้อมูลที่มีการปรับปรุงแก้ไขใน “แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ฉบับภาพประกอบสี่สี ภาษาไทย” ซึ่งออกแบบภาพปกและภาพประกอบโดย จิม เคย์ (Jim Kay) บางส่วนในการปรับปรุงแก้ไขเกิดขึ้นจากทางสำนักพิมพ์เอง เพื่อให้ถูกต้องตามหลักการทับศัพท์ เช่น โกลเดนสนิช / เฟลตช์ลีย์ / ราสป์เบอร์รี เป็นต้น

 

ส่วนที่มีการปรับปรุงแก้ไขในฉบับภาพประกอบสี่สีแล้ว มีดังนี้

แก้ไขจาก: กอดริกส์โฮลโล่ > เป็น: ก็อดดริกส์โฮลโล่

พิกัด: หน้า 9 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 10-11

แหล่งอ้างอิง : อ้างอิงจากชื่อ ก็อดดริก กริฟฟินดอร์ ในเล่มที่ 2 ห้องแห่งความลับ และต้นฉบับ Godric’s Hollow

 

แก้ไขชื่อแมวของมิสซิสฟิกจาก : เจ้าทิปเปิ้ล สโนว์อี้ มิสเตอร์พอวส์ และทัฟฟี > เป็น : เจ้าทิบเบิ้ลส์ สโนว์อี้ มิสเตอร์พอวส์ และทัฟตี้

พิกัด: หน้า 18 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 5-6

แหล่งอ้างอิง : ฉบับภาษาอังกฤษของ Bloomsbury ใช้ว่า Tibbles, Snowy, Mr Paws and Tufty

 

แก้ไขจาก : มุขตลก > เป็น : มุกตลก

พิกัด: หน้า 28 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 12

แหล่งอ้างอิง : ราชบัณฑิตยสภา

หมายเหตุ: เพื่อความถูกต้องตามหลักภาษาไทยของราชบัณฑิตยสภา

 

แก้ไขจาก : หัวหน้าหมอผี > เป็น : หัวหน้าผู้วิเศษ

พิกัด: หน้า 43 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 12

แหล่งอ้างอิง : http://www.paganspath.com/faqs.htm

หมายเหตุ : เนื่องจาก Warlock เมื่อแปลเป็นหมอผี มันให้ความรู้สึกเหมือนลัทธิหรือไปในทางไสยศาสตร์มากเกินไป หรือเป็นพวกบูชาผี แต่ในหนังสือไม่มีการกล่าวถึงการบูชาผีเลย ซึ่งจริงๆ แล้ว Warlock เป็นคำเก่าก่อนคำว่า Wizard แต่มีลักษณะใกล้เคียงกับพ่อมด หรือ Witch กับ Wizard มาก แตกต่างที่ พ่อมดนั้นเกิดมามีอำนาจเวทมนตร์ มีพรสวรรค์เลย ขณะที่ Warlock ไม่ได้มีเวทมนตร์มาแต่กำเนิด แต่สามารถฝึกฝนจนใช้เวทมนตร์ได้ และ Chief Warlock มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าศาลสูงวิเซ็นกาม็อต ซึ่งมีเกียรติและยศสูง จึงคิดว่าควรเปลี่ยนจากหัวหน้าหมอผีไปในทางบวกมากกว่า ให้เป็น หัวหน้าผู้วิเศษ

 

แก้ไขจาก : การประชุมพ่อมดมนตร์ดำ > เป็น : การประชุมผู้วิเศษ

พิกัด : หน้า 185 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 27

แหล่งอ้างอิง : http://www.paganspath.com/faqs.htm

หมายเหตุ : เนื่องจาก Warlock ไม่ได้แปลว่าเป็นพ่อมดที่เชี่ยวชาญในมนตร์ดำ หรือชั่วร้ายเสมอไป  Warlock เป็นคำเก่าก่อนคำว่า Wizard แต่มีลักษณะใกล้เคียงกับพ่อมด หรือ Witch กับ Wizard มาก แตกต่างที่ พ่อมดนั้นเกิดมามีอำนาจเวทมนตร์ มีพรสวรรค์เลย ขณะที่ Warlock ไม่ได้มีเวทมนตร์มาแต่กำเนิด แต่สามารถฝึกฝนจนใช้เวทมนตร์ได้ และ Chief Warlock มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าศาลสูงวิเซ็นกาม็อต ซึ่งมีเกียรติและยศสูง จึงคิดว่าควรเปลี่ยนการประชุมพ่อมดมนตร์ดำ เป็น การประชุมผู้วิเศษ ซึ่งต้นฉบับใช้ว่า Warlock’s Convention ไปในทางที่มีเกียรติ มากกว่าทางชั่วร้ายหรือมนตร์ดำ ซึ่งในหนังสือกำหนดให้มนตร์ดำเป็นศาสตร์ชั่วร้าย เป็นความรู้ที่คนดีๆ ไม่กระทำกัน

 

แก้ไขจาก : คนุตส์ > เป็น : คนุต

พิกัด :

  • หน้า 53 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 27 และ 28
  • หน้า 65 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 4
  • หน้า 65 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 15
  • หน้า 70 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 16
  • หน้า 85 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 1

แหล่งอ้างอิง : รวมชื่อเฉพาะ โดย Scholastic / Knut / Bronze wizarding money. There are twenty-nine Knuts to a Sickle.

หมายเหตุ : เนื่องจากสกุลเงินจริงๆ คือ Knut และ Knuts เป็นพหูพจน์ครับ

 

แก้ไขจาก : ตำราคาถาพื้นฐาน (ปี 1) > เป็น : ตำราคาถามาตรฐาน ปี 1

พิกัด : หน้า 57 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 6

แหล่งอ้างอิง : หนังสือเล่ม 2-7

หมายเหตุ : เนื่องจากหนังสือ The Standard Book of Spells มีการแปลด้วยหลายชื่อในภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็น ตำราคาถาพื้นฐาน (ปี 1) / บทเรียนคาถามาตรฐานปี 2 / ตำราคาถามาตรฐานสำหรับปีสาม / ตำราคาถามาตรฐานระดับ 4 / บทเรียนคาถามาตรฐานปีห้า / ตำราคาถามาตรฐานปีหก จึงปรับให้ใช้ชื่อกลางที่เหมือนกันทั้งหมด และระบุชั้นปีให้เป็นมาตรฐานโดยเลือกใช้ “ตำราคาถามาตรฐาน ปี 1” แทน

 

แก้ไขจาก : กริ๊บฮุก > เป็น : กริ๊ปฮุก

พิกัด :

  • หน้า 64 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 11
  • หน้า 64 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 12 และ 14
  • หน้า 64 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 22 และ 26
  • หน้า 65 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 19
  • หน้า 65 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 18
  • หน้า 66 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 4
  • หน้า 66 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 8
  • หน้า 66 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 12

แหล่งอ้างอิง : ชื่อในภาษาอังกฤษใช้ว่า Griphook

หมายเหตุ : เพื่อให้ถูกต้องตามหลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา

 

แก้ไขจาก : ไอศกรีมใหญ่สองแท่ง > เป็น : สองถ้วย

พิกัด : หน้า 68 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 23

แหล่งอ้างอิง : เนื่องจากในหน้า 68 และ 69 ระบุว่าไอศกรีมราสป์เบอร์รีโรยด้วยถั่วบด จึงไม่น่าจะเป็นแท่ง แต่เป็นถ้วย หรือโคนมากกว่า

หมายเหตุ : หากอิงจากสวนสนุก Wizarding World of Harry Potter จะเน้นขายไปที่ไอศกรีมเป็นถ้วย และแบบโคน ซึ่งในภาพยนตร์ปรากฏเป็นถ้วยสำหรับนั่งทานครับ

 

 

แก้ไขจาก : ราสเบอรี่ เป็น : ราสป์เบอร์รี

พิกัด : หน้า 68 คอลัมน์ขวาบรรทัดที่ 30 และหน้า 69 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 1

แหล่งอ้างอิง :  หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ โดย ราชบัณฑิตยสภา

 

แก้ไขจาก : ร้านขายยาแผนโบราณ > เป็น : ร้านเครื่องยา

พิกัด : หน้า 70 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 3

แหล่งอ้างอิง : ฉบับแปลไทยใน แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (แปลโดย วลีพร หวังซื่อกุล)

หมายเหตุ : ชื่อนี้แปลมาจาก Apothecary ซึ่งเป็นคำเก่า หมายถึงร้านที่จำหน่ายส่วนผสมเพื่อการปรุงยา หรือทำหน้าที่ปรุงยาให้ ขายตั้งแต่สมุนไพรไปจนถึงสารเคมีสำหรับการทำยา คนเหล่านี้จะทำหน้าที่ปรุงยาให้หมอนำไปใช้ และในแฮร์รี่ พอตเตอร์ ระบุเป็นเพียงร้านที่จำหน่ายส่วนผสมเพื่อการปรุงยาเท่านั้น

 

แก้ไขจาก :อือม์ / อืมม์ > เป็น : อืม

พิกัด :

  • หน้า 71 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 19
  • หน้า 100 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 14

หมายเหตุ : แม้ว่าจะเป็นคำเลียงเสียง (Onomatopoeia หรือ สัทพจน์) แต่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้ตัวการันต์ก็สามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจครับ

 

แก้ไขจาก : อารมณ์ลึกซึ้งของมังกร > เป็น :  เอ็นหัวใจมังกร

พิกัด :

  • หน้า 72 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 1
  • หน้า 72 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 12

แหล่งอ้างอิง : เล่ม 4 หน้า 355 ย่อหน้าที่ 1 บรรทัดที่ 2 (ฉบับแปลไทยโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ)

หมายเหตุ : heartstrings ในที่นี้หมายถึงเอ็นหัวใจ

 

แก้ไขจาก : ไม้ยิว > เป็น : ไม้ยู

พิกัด : หน้า 72 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 25

แหล่งอ้างอิง : Oxford Dictionary ออกเสียง /ju:/ และ เล่ม 4 หน้า 720 ย่อหน้าที่ 1 บรรทัดที่ 4 (ฉบับแปลไทยโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ)

 

แก้ไขจาก : แปลกไปอย่างไรก็ไม่บอกไม่ถูก > เป็น : แปลกไปอย่างไรก็บอกไม่ถูก

พิกัด : หน้า 73 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 18

หมายเหตุ : เนื่องจากในฉบับเก่ามีการใช้คำเกินทำให้เกิดความสับสน ซึ่งต้นฉบับคือ  Everything looked so strange, somehow

 

แก้ไขจาก : ประวัติเวทมนตร์ > เป็น : ประวัติศาสตร์เวทมนตร์

พิกัด : หน้า 74 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 2

แหล่งอ้างอิง : หนังสือเล่ม 2-7

หมายเหตุ : เพื่อให้ชื่อหนังสือเหมือนกันในทุกเล่ม

 

แก้ไขจาก : คุณยาย / ยาย > เป็น : คุณย่า / ย่า

พิกัด :

  • หน้า 77 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 20
  • หน้า 102 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 10
  • หน้า 119 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 25 และ 26
  • หน้า 119 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 14 และบรรทัดที่ 19
  • หน้า 121 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 24

แหล่งอ้างอิง : รายชื่อตัวละคร ใน วิกิพีเดีย

หมายเหตุ : ต้นฉบับ Augusta Longbottom is Neville Longbottom’s paternal grandmother ออกัสต้า ลองบอตทอม เป็นแม่ของพ่อเนวิลล์ ดังนั้น จึงต้องมีศักดิ์เป็น “ย่า” ซึ่งเคยมีการปรับปรุงแก้ไขไปบางจุดในฉบับ 15 ปีแฮร์รี่ พอตเตอร์

 

แก้ไขจาก : แมงมุมทารันทูร่า > เป็น : แมงมุมทาแรนทูลา

พิกัด : หน้า 82 คอลัมน์ซ้ายบรรทัดที่ 13

แหล่งอ้างอิง : ชื่อในภาษาอังกฤษคือ Tarantula จึงต้องเปลี่ยนจาก ร เป็น ล ครับ และทางสำนักพิมพ์ได้แก้ไขให้ถูกต้องตามหลักการทับศัพท์ด้วยในฉบับนี้

 

แก้ไขจาก : อะกริบป้า > เป็น : อะกริปป้า

พิกัด :

  • หน้า 85 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 24
  • หน้า 85 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 29

หมายเหตุ : เนื่องจากชื่อในภาษาอังกฤษคือ Agrippa จึงต้องเปลี่ยนจาก บ เป็น ป

 

แก้ไขจาก : เป็ปเปอร์มินต์ > เป็น : เปปเปอร์มินต์

พิกัด :

  • หน้า 86 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 30
  • หน้า 101 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 9

แหล่งอ้างอิง : อ้างอิงหลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา

 

แก้ไขจาก : สตรอเบอรี่ > เป็น : สตรอว์เบอร์รี

พิกัด :

  • หน้า 86 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 8
  • หน้า 102 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 2

แหล่งอ้างอิง : บทความของ วอยซ์ทีวี ที่อ้างอิงจาก ราชบัณฑิตยสภา

 

แก้ไขจาก : ร้านเสื้อคลุมของมิสซิสมัลกิ้น > เป็น : ร้านเสื้อคลุมของมาดามมัลกิ้น

พิกัด : หน้า 89 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 18

แหล่งอ้างอิง : ฉบับภาษาอังกฤษใช้ว่า Madam Malkin’s robe shop

 

แก้ไขจาก : เฟลชลีย์ > เป็น : เฟลตช์ลีย์

พิกัด : หน้า 98 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 27

แหล่งอ้างอิง : หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ โดย ราชบัณฑิตยสภา

หมายเหตุ : แปลมาจาก Fletchley

 

แก้ไขจาก : หนังสือประวัติฮอกวอตส์ > เป็น : หนังสือฮอกวอตส์: ประวัติศาสตร์น่ารู้

พิกัด : หน้า 96 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 16

แหล่งอ้างอิง : จากต้นฉบับใช้คำว่า Hogwarts: A History.

หมายเหตุ : ในเล่มอื่นๆ ของฉบับภาษาไทยใช้ชื่อหนังสือว่า ฮอกวอตส์: ประวัติศาสตร์น่ารู้ ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากชื่อในต้นฉบับ แต่เนื่องจากเป็นชื่อที่คุ้นชินในกลุ่มนักอ่านมากกว่า ประวัติฮอกวอตส์ จึงเปลี่ยนให้เหมือนกันในทุกเล่มว่า ฮอกวอตส์: ประวัติศาสตร์น่ารู้

 

แก้ไขจาก :  น็อต > เป็น : น็อตต์

พิกัด : หน้า 98 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 28

แหล่งอ้างอิง : หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ โดย ราชบัณฑิตยสภา

หมายเหตุ : ในเล่ม 4 ถ้วยอัคนี ใช้ว่า น็อตต์

 

แก้ไขจาก : เหลือให้คัดสรรอยู่แค่สามคนเท่านั้น ‘โธมัส, ดีน’ > เป็น : สี่คนเท่านั้น ‘โทมัส, ดีน’

พิกัด : หน้า 100 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 30 และหน้า 101 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 1

แหล่งอ้างอิง : ปูมหลังของ ดีน โทมัส ในเว็บไซต์ส่วนตัวของ เจ.เค.โรว์ลิ่ง (แปลไทย คลิก!) และ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ โดย ราชบัณฑิตยสภา (th ใช้เป็นพยัญชนะต้น ให้ใช้ ท)

หมายเหตุ : เนื่องจากทางบรรณาธิการของ Bloomsbury ตัดสินใจตัดข้อมูลของดีน โทมัสออกไป ขณะที่สำนักพิมพ์ Scholastic ได้ต้นฉบับที่ยังไม่ได้ตัดส่วนของดีนออก และคงเนื้อหาส่วนของดีน โทมัสไว้ ทำให้เนื้อหาส่วนนี้ทั้งสองฉบับจะแตกต่างกัน

ส่วนฉบับภาษาไทยเล่มนี้ ยังมีเนื้อหาของ ดีน โทมัส อยู่ตาม US แต่เนื่องจากนักเรียนปีหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการคัดสรร ณ ตอนนั้น หากนับรวม ดีน โทมัส ตามการแปลเดิมของสำนักพิมพ์ จะมี 4 คนครับ ประกอบด้วย โทมัส, ดีน / เทอร์พิน, ลิซ่า / วีสลีย์, รอน / ซาบินี, เบลส

ทั้งนี้เอง ในปก 15 ปีของ Scholastic ได้ปรับจาก 3 เป็น 4 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเราและสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์อยากคงดีน โทมัส ไว้เหมือนเดิมในฉบับภาษาไทย เพราะในเล่มอื่นๆ ไม่มีการระบุว่า ดีน โทมัส เป็นพ่อมดผิวดำเลย

 

แก้ไขจาก : พุดดิ้ง > เป็น : พุดดิง

พิกัด :

  • หน้า 101 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 7-8
  • หน้า 102 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 2
  • หน้า 166 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 2

 

แก้ไขจาก : แครอท เป็น : แครอต

พิกัด : หน้า 101 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 8

 

แก้ไขจาก : แฮรี่ > เป็น : แฮร์รี่

พิกัด : หน้า 102 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 3

 

แก้ไขจาก : คุณยายอีนิด > เป็น : คุณย่าน้อยอีนิด

พิกัด : หน้า 102 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 18

แหล่งอ้างอิง : รายชื่อตัวละคร โดย วิกิพีเดีย และ หนังสือเรียนศัพท์กับแฮร์รี่ พอตเตอร์ หน้า 131 ในข้อมูลภาษาอังกฤษระบุว่า Enid – Great-aunt of Neville Longbottom.

หมาย เหตุ : aunt หมายถึง ป้า (หรืออา หรือน้า) ของพ่อ (หรือของแม่) ซึ่งยังไม่มีข้อมูลที่ระบุแน่ชัดว่า อีนิดมีความสัมพันธ์ทางฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่ของเนวิลล์ แต่ในระดับภาษาไทย great-aunt จะใช้คำว่า “ยายน้อย หรือย่าน้อย” ครับ คือไม่ใช่ย่าหรือยายแท้ๆ หากสำนักพิมพ์ติดต่อกับ เจ.เค.โรว์ลิ่ง เพื่อสอบถามได้ จะเป็นประโยชน์ต่อ Potterhead ทั่วโลกอย่างมากเลยทีเดียว

 

แก้ไขจาก : อาจารย์สเนป และ ครูสเนป ตามลำดับ > เป็น : ศาสตราจารย์สเนป หรือ อาจารย์สเนป

พิกัด :

  • หน้า 104 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 3 จากสุดท้าย
  • หน้า 106 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 6 จากสุดท้าย

หมาย เหตุ : เนื่องจากในหนังสือมีการเพิ่มคำนำหน้าหลากหลาย ทั้งศาสตราจารย์ ตามต้นฉบับ และเพิ่มคำนำหน้าให้แสดงถึงความเคารพแบบไทยด้วยคำว่า อาจารย์สเนป หรือครูสเนป จึงมีความเห็นให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นศาสตราจารย์ทั้งหมด หรือ เมื่อนักเรียนกล่าวถึงศาสตราจารย์ใช้คำว่า อาจารย์ ตามชีวิตจริงที่เราใช้กัน ไม่ใช้คำว่าครู ครับ

 

แก้ไขจาก : “เรียนวิชาปรุงยากับพวกบ้านสลิธีริน” > เป็น : “เรียนวิชาปรุงยาสองคาบกับพวกบ้านสลิธีริน”

พิกัด : หน้า 109 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 2 จากสุดท้าย

แหล่งอ้างอิง : ในฉบับภาษาอังกฤษใช้ว่า Double Potions with the Slytherins

 

แก้ไขจาก : ทรัยเฟิล > เป็น : ไทรเฟิล

พิกัด :

  • หน้า 102 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 1
  • หน้า 167 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 2

 

แก้ไขจาก : เอาล่ะ > เป็น : เอาละ

พิกัด : หน้า 121 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 13

 

แก้ไขจาก : โกลเด้นสนิช > เป็น : โกลเดนสนิช

พิกัด: หน้า 139 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดสุดท้าย

แก้ไขจาก : ลูกโป่งเรืองแสงที่ไม่มวันแตก > เป็น : ลูกโป่งเรืองแสงที่ไม่มีวันแตก

พิกัด : หน้า 166 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 15

 

แก้ไขจาก : ร่างๆ หนึ่ง > เป็น : ร่างร่างหนึ่ง

พิกัด : หน้า 181 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 26

หมายเหตุ : ร่างคำแรกเป็นสามานยนาม ร่างคำที่สองเป็นลักษณนาม

 

แก้ไขจาก : คนๆ นั้น > เป็น : คนคนนั้น

พิกัด : หน้า 181 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 27

หมายเหตุ : คนคำแรกเป็นสามานยนาม คนคำที่สองเป็นลักษณนาม

 

แก้ไขจาก : พันธุ์สีเขียวคอมมอนเวลช์ > เป็น : พันธุ์เวลส์สีเขียวธรรมดา

พิกัด : หน้า 186 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 5

แหล่ง อ้างอิง : มังกรสายพันธุ์ Common Welsh Green มีการแปลในฉบับภาษาไทยหลายชื่อ ในเล่ม 4 (ถ้วยอัคนี) หน้า 375 ใช้ว่า “เวลส์ธรรมดาสีเขียว” และหน้า 400 ใช้ว่า “เวลส์สีเขียว” / ในสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ หน้า 46 ใช้ว่า “เวลส์สีเขียวธรรมดา”

 

แก้ไขจาก : ริมผีปาก > เป็น : ริมฝีปาก

พิกัด : หน้า 189 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 16

 

แก้ไขจาก : เพ็ตตริพิคัส โททาลัส และ ท่องถาคา ตามลำดับ > เป็น : เพ็ตตริฟิคัส โททาลัส และ ท่องคาถา ตามลำดับ

พิกัด : หน้า 218 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 20

แหล่งอ้างอิง : ต้นฉบับใช้ Petrificus Totalus

 

แก้ไขจาก : อาโลโฮโมรา > เป็น : อาโลโฮโมร่า

พิกัด : หน้า 223 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 28

แหล่งอ้างอิง : ในเล่ม 3 หน้า 492 ใช้ว่า อาโลโฮโมร่า

 

แก้ไขจาก : เยลลี่เม็ดเบอร์ตี้บอตต์มีทุกรสเลยอยู่นี่ไง > เป็น : เยลลี่เม็ดทุกรสของเบอร์ตี้บอตต์อยู่นี่ไง

พิกัด : หน้า 240 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 14-15

แหล่งอ้างอิง : หนังสือเล่มอื่นๆ

 

ส่วนที่อยากให้มีการแก้ไขในโอกาสถัดไป

แก้ไขจาก : การแข่งขันไม้กวาด > ให้เป็น : ไม้กวาดแข่ง

พิกัด : หน้า 66 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 4 จากสุดท้าย

หมายเหตุ : ในต้นฉบับใช้ว่า racing broom ซึ่งแปลว่า ไม้กวาดสำหรับการแข่งขัน หรือไม้กวาดแข่ง ไม่ใช่ไม้กวาดทั่วไป และในหนังสือ ควิดดิชในยุคต่างๆ ใช้คำว่า “ไม้กวาดแข่ง”

แก้ไขจาก : ยอร์กเชียร์พุดดิง > เป็น : ยอร์กเชอร์พุดดิง

พิกัด : หน้า 101 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 7-8

แหล่งอ้างอิง : การออกเสียงของ Oxford

หมายเหตุ : คำว่า Yorkshire อ่านออกเสียงได้ 2 แบบ คือ “ยอร์กเชอร์” = สำเนียงของ UK และ “ยอร์กเชียร์” = สำเนียงของ US ทาง Potterproof อยากให้ใช้การออกเสียงตาม UK เนื่องจากเหตุการณ์ของแฮร์รี่เกิดขึ้นในอังกฤษ จึงควรอิงการออกเสียงตามแบบฉบับ UK

 

แก้ไขจาก : พวกโบน > เป็น : พวกโบนส์

พิกัด : หน้า 46 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 27

แหล่งอ้างอิง : รายชื่อตัวละคร โดย Scholastic / Bones, Susan / A Hogwarts Hufflepuff student in the same year as Harry, and a member of Dumbledore’s Army. Niece of Amelia Susan Bones.

หมายเหตุ : ส่วนของพวกมักคินนอน และเพรอเว็ต ในหนังสือใช้ถูกต้องแล้วครับ ทั้งสองตระกูลในฉบับภาษาอังกฤษสะกดว่า McKinnon Prewett แต่ในเหตุการณ์ที่ใช้เพื่อหมายถึง ตระกูลนั้นทั้งหมด การเติม s เพื่อหมายถึงมักคินนอนทั้งหลาย แต่ Bones นั้นเป็นนามสกุลที่มี s ในสกุลอยู่แล้ว

 

แก้ไขจาก : ร้านนกฮูกอายล็อปส์ > เป็น : ห้างนกฮูกอายล็อปส์

พิกัด :

  • หน้า 62 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 7
  • หน้า 70 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 1

แหล่งอ้างอิง : ฉบับภาษาอังกฤษใช้ว่า Eeylop’s Owl Emporium ซึ่งผู้แปลได้ระบุไว้ในหนังสือเรียนศัพท์กับแฮร์รี่ พอตเตอร์ (หน้า 64) ว่า “คำว่า Emporium หมายถึงร้านขนาดใหญ่ ศูนย์รวมสินค้า อันที่จริงแปลเป็นไทยเรียกว่า ห้างนกฮูกอายล็อปส์ จะเหมาะกว่า”

 

แก้ไขจาก : นกฮูกโรงนา > เป็น : นกแสก

พิกัด :

  • หน้า 62 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 8
  • หน้า 119 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 14

แหล่งอ้างอิง : Facebook ของอาจารย์สุมาลี (ผู้แปล) Sumalee Bumroongsook 9 July 2014 · ขออภัยผู้อ่านแฮร์รี่ พอตเตอร์ ทุกท่าน Barn owl คือ นกแสก ค่ะ ตอนที่แปลแฮรี่ พอตเตอร์ เล่มแรก ดิฉันแปลผิดคิดว่า เป็นนกฮูก แปลตรงตัวว่า คือ นกฮูกโรงนา กูเกิลแปลว่า นกฮูกยุ้งข้าว แต่ที่ถูกต้อง คือ นกแสก ดังที่เพื่อนของพิมพ์อนงค์บอกไว้เมื่อสองสามวันก่อนค่ะ ขอบคุณมากที่ทำให้ดิฉันฉุกใจและตรวจทานค่ะ

 

แก้ไขจาก : อ้อ ใช่ และฉันก็ยังไม่ได้ของขวัญวันเกิดให้เธอเลย > ให้เป็น :  อ้อ ใช่ และฉันยังไม่ได้ให้ของขวัญวันเกิดเธอเลย

พิกัด : หน้า 70 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 20-22

หมายเหตุ : แม้จะแปลตรงจากต้นฉบับ แต่เนื่องจากอ่านแล้วให้ความรู้สึกไม่รื่นหู และรู้สึกเหมือนคำขาดหายไปเมื่อเป็นภาษาไทย เลยเสนอให้เปลี่ยนเพื่อให้เกิดความไหลลื่นในการอ่าน

 

แก้ไขจาก : หนึ่งกระเบียด > เป็น : เศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว (หรือแทรกเชิงอรรถเพื่ออธิบายเป็นความรู้ผู้อ่าน)

พิกัด : หน้า 71 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 12-13

แหล่งอ้างอิง : มาตราวัด ของ ราชบัณฑิตยสภา

หมายเหตุ : เนื่องจากในเล่มที่ 4 มีการใช้ว่า เศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว แทนการใช้ว่าหนึ่งกระเบียด จึงอยากให้มีการใช้ตรงกัน

 

แก้ไขจาก : หนูอ้วนปี๋สีเทา > เป็น : หนูตัวอ้วนสีเทา

พิกัด : หน้า 83 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 6

แหล่งอ้างอิง : ฉบับภาษาอังกฤษใช้ว่า a fat grey rat, ซึ่งไม่มีคำขยาย “อ้วน”

แก้ไขจาก : และนักเรียนรุ่นโตของเราหลายคนจะมีวิธีทำให้พวกเธอจำได้ไม่ลืมเลย > ให้เป็น : และนักเรียนรุ่นพี่เองก็ให้จดจำด้วยเช่นกัน

พิกัด : หน้า 104 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 7

แหล่งอ้างอิง : ต้นฉบับภาษาอังกฤษคือ And a few of our older students would do well to remember that as well.

 

แก้ไขจาก : น้ำกระสายที่ได้มาจากต้นเวิร์มวูด > ให้เป็น : น้ำสกัดที่ได้จากการแช่ต้นเวิร์มวูด

พิกัด : หน้า 112 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 14 และ 15

แหล่งอ้างอิง : ต้นฉบับคือ infusion of wormwood

คำ ว่า infusion ไม่ใช่น้ำกระสาย เพราะน้ำกระสายคือตัวละลายยาหรือน้ำที่ทานร่วมกับยาเพื่อให้ทานง่ายขึ้น อ้างอิงจาก ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์: วิธีแช่ (Infusion) สกัดโดยแช่สมุนไพรด้วยน้ำร้อนหรือน้ำเย็นในเวลาช่วงสั้น และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: การชง (Infusion) คือการสกัดโดยแช่สมุนไพรด้วยน้าร้อนหรือน้าเย็นในช่วงเวลาสั้น สารสกัดที่ได้จะเป็นสารที่ละลายน้าได้ดีที่อุณหภูมิไม่สูงมาก จึงเสนอให้เปลี่ยนเพื่อความถูกต้องทางความหมาย

 

แก้ไขจาก : คาถาของจอมผีซน > ให้เป็น : คำสาปของจอมผีซน

พิกัด : หน้า 128 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 6-7 และ 10

แหล่งอ้างอิง : หนังสือเรียนศัพท์กับแฮร์รี่ พอตเตอร์ หน้า 199

 

แก้ไขจาก : หน่วยเมตริก > ให้เป็น : หน่วยอิมพีเรียล ตามต้นฉบับและความต้องการของเจ.เค.โรว์ลิ่ง

แก้ไขจาก : บินขึ้นไปสักเกือบเมตร > ให้เป็น : บินขึ้นไปสักสองสามฟุต

พิกัด : หน้า 121 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 15

ต้นฉบับ: rise a few feet

แก้ไขจาก : สามเมตรครึ่ง และ หกเมตร > ให้เป็น : สิบสองฟุต และ ยี่สิบฟุต ตามลำดับ

พิกัด : หน้า 121 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 23

ต้นฉบับ: twelve feet – twenty feet.

แก้ไขจาก : บินดิ่งลงมาสิบห้าเมตร > ให้เป็น : บินดิ่งลงมาห้าสิบฟุต

พิกัด : หน้า 124 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 3 จากสุดท้าย

ต้นฉบับ: a fifty-foot dive

แก้ไขจาก : อยู่ห่างจากห้องถ้วยรางวัลหลายกิโลเมตร > ให้เป็น : อยู่ห่างจากห้องถ้วยรางวัลหลายไมล์

พิกัด : หน้า 130 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 4 จากสุดท้าย

ต้นฉบับ: miles from the trophy room

แก้ไขจาก : เสานี้สูงจากพื้นตั้งสิบห้าเมตร > ให้เป็น : เสานี้สูงจากพื้นตั้งห้าสิบฟุต

พิกัด : หน้า 137 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 16

ต้นฉบับ:  fifty feet high

แก้ไขจาก : ลอยค้างอยู่ประมาณเมตรกว่าๆ > ให้เป็น : ลอยค้างอยู่ประมาณสี่ฟุต

พิกัด : หน้า 140 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 10 จากสุดท้าย

ต้นฉบับ: about four feet

แก้ไขจาก : มันสูงสามเมตรครึ่ง > ให้เป็น : มันสูงสิบสองฟุต

พิกัด : หน้า 142 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 6

ต้นฉบับ: Twelve feet tall

แก้ไขจาก : ห่างจากเฮอร์ไมโอนี่ไม่ถึงหนึ่งเมตร > ให้เป็น :  ห่างจากเฮอร์ไมโอนี่เพียงสองสามฟุต

พิกัด : หน้า 143 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 1-2

ต้นฉบับ: a few feet

แก้ไขจาก : โทรลล์ภูเขาสูงสามเมตรครึ่ง > ให้เป็น : โทรลล์ภูเขาสูงสิบสองฟุต

พิกัด : หน้า 148 คอลัมน์ขวา บรรทัดสุดท้าย

ต้นฉบับ: a twelve-foot mountain troll

แก้ไขจาก : หิมะหนาเกือบเมตร > ให้เป็น : หิมะหนาหลายฟุต

พิกัด : หน้า 159 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 3

ต้นฉบับ: several feet of snow

แก้ไขจาก : กองไว้บนโต๊ะอาหารทุกๆ หนึ่งเมตร > ให้เป็น : กองไว้บนโต๊ะอาหารทุกๆ สองสามฟุต

พิกัด : หน้า 166 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 13

ต้นฉบับ: every few feet

แก้ไขจาก : อยู่ห่างไปราวๆ สามเมตร > ให้เป็น : อยู่ห่างไปสิบฟุต

พิกัด : หน้า 193 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 13 จากสุดท้าย

ต้นฉบับ: ten feet away

แก้ไขจาก : สักครึ่งเมตรได้ > ให้เป็น : สักหนึ่งฟุตได้

พิกัด : หน้า 219 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 7

ต้นฉบับ: about a foot

แก้ไขจาก : หลายกิโลเมตร > ให้เป็น : หลายไมล์

พิกัด : หน้า 222 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 6

ต้นฉบับ: We must be miles under the school

อ้างอิง: https://www.muggle-v.com/630 , Pottermore

หมายเหตุ : เนื่องจากพ่อมดแม่มดไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลมักเกิ้ล จึงไม่ได้เปลี่ยนไปใช้หน่วยระบบเมตริก แต่ใช้หน่วยแบบเก่าคือระบบอิมพีเรียล

 

แก้ไขจาก : มีหนังสือเป็นหมื่นๆ เล่ม  มีตู้หนังสือพันๆ ตู้  ชั้นหนังสือแคบๆ เป็นร้อยๆ ชั้น > ให้เป็น : มีหนังสือเป็นหมื่นๆ เล่ม มีชั้นหนังสือเป็นพันๆ ชั้น มีแถวแคบๆ เป็นร้อยๆ แถว หรือ มีหนังสือเป็นหมื่นๆ เล่ม บนชั้นวางหนังสือหลายพันชั้น ที่เรียงแน่นเป็นแนวหลายร้อยแถว

พิกัด : หน้า 162 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 18-19

แหล่งอ้างอิง : เนื่องจากต้นฉบับใช้ว่า tens of thousands of books; thousands of shelves; hundreds of narrow rows. และหากอ้างอิงภาพจาก pottermore จะอธิบายแถวแคบๆ ได้ชัดเจน และจัดวางในลักษณะของชั้นหนังสือไม่ใช่ตู้หนังสือครับ shelves จึงน่าจะเป็น ชั้นหนังสือมากกว่าตู้หนังสือ แต่ละชั้นเรียงเป็นแถวแคบๆ เป็นร้อยๆ แถว

B1C12M1

 

แก้ไขจาก : ไส้กรอกเล็กๆ อวบๆ > ให้เป็น : ไส้กรอกชิปโปลาต้า

พิกัด : หน้า 166 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 7-8

แหล่งอ้างอิง : เล่มสามใช้การทับศัพท์ตรงตัว

หมายเหตุ : เสนอให้ใช้เชิงอรรถอธิบายแทน

 

แก้ไขจาก : คุ ณจ ะมิได้เ ห็นใบห น้าหา กแต่เห็ นควา มปรารถ นาในหั วใจ

ให้เป็น : เสนอ 2 แบบ

1.) แอริเซด สตรา เอห์รู โอยต์ อูเบ คาฟรู โอยต์ ออนโวซี

2.) จใวหันใานถรารปมาวคนห็เต่แกาหาน้หบในห็เด้ไมิะจณคุ

พิกัด : หน้า 169 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 13-15

แหล่งอ้างอิง : รูปแบบการแปลเนื้อหา “กระจกเงาแห่งแอริเซด” ของภาษาจีน, ญี่ปุ่น และเวียดนาม

หมายเหตุ : คำโปรยดังกล่าวมีต้นฉบับว่า ERISED STRA EHRU OYT UBE CAFRU OYT ONWOHSI ซึ่งหากอ่านจากหลังไปหน้า (สะท้อนแบบเดียวกับกระจก) จะได้ว่า I SHOW NOT YOUR FACE BUT YOUR HEART DESIRE หมายถึงกระจกบานนี้ไม่ได้สะท้อนรูปลักษณ์ภายนอก แต่สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่ปรารถนามากที่สุด

หากอิงจากลิงก์ที่กล่าวไว้ข้างต้น จะได้เห็นวิธีการแปลที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 : ถอดเสียงจากประโยคภาษาอังกฤษ ให้เป็นภาษาแปล (แบบเดียวกับภาษาจีน) เป็นที่มาของประโยคที่แนะนำประโยคที่ 1 (เป็นประโยคแบบเดียวกันกับที่พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2543 ด้วย)

แบบที่ 2 : แปลจากความหมาย (ประโยคที่กลับด้าน) ให้เป็นภาษาต้นฉบับ จากนั้นเขียนย้อนกลับจากหลังไปหน้า (แบบเดียวกับภาษาญี่ปุ่น) เป็นที่มาของประโยคที่แนะนำประโยคที่ 2

ประโยคเดิมนั้น เป็นการแปลจากความหมายโดยตรง แต่ไม่ได้กลับด้านกระจก อีกทั้งค้านกับเนื้อหาก่อนหน้าที่ว่า “เขียนเป็นภาษาที่แฮร์รี่ไม่เข้าใจ”

 

แก้ไขจาก : ในอีกหลายปีต่อมา แฮร์รี่จำไม่ได้ทีเดียวนักว่าเขาสามารถผ่านการสอบไล่มาได้อย่างไร > ให้เป็น : ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปแล้วอีกหลายปี เมื่อแฮร์รี่นึกย้อนอดีตกลับไป เขานึกไม่ออกเลยว่าสอบไล่ผ่านมาได้อย่างไร

พิกัด : หน้า 212 คอลัมน์ซ้าย บรรทัดที่ 1

แหล่งอ้างอิง : เนื่องจากในภาษาอังกฤษมีการบอกปัจจุบัน อนาคต ผ่านคำในประโยค แต่ภาษาไทยไม่มี ทำให้ประโยคนี้เกิดความสับสนได้ว่า เหตุการณ์ ณ ตอนนี้ผ่านไปหลายปีแล้ว แต่จริงๆ เป็นการพูดถึงอนาคต จึงได้สอบถามกับทางอาจารย์สุมาลีผู้แปล มีความเห็นชอบในการเติมความเป็นอนาคตเข้าไปในประโยคเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้นแก่ผู้อ่านครับ ซึ่งทางอาจารย์สุมาลีเสนอขยายประโยคนี้โดยเพิ่มเติมจากต้นฉบับ

 

แก้ไขจาก : เจ้าพวกลูกครึ่งนักดูดาว > ให้เป็น : ไอ้พวกบ้าดูดาว

พิกัด : หน้า 207 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 7-8

แหล่งอ้างอิง : ฉบับภาษาอังกฤษใช้ว่า Ruddy stargazers ซึ่งผู้แปลได้ระบุในหนังสือ เรียนศัพท์กับแฮร์รี่ พอตเตอร์ (หน้า 212) ไว้ด้วยว่า “ถ้ามีโอกาสแปลแก้ตัว จะแปลใหม่”

 

แก้ไขจาก : ร่วมงานเลี้ยงสิ้นปีให้ได้ และ คืนนั้นแฮร์รี่ลงไปงานเลี้ยงสิ้นปีตามลำพัง ตามลำดับ > ให้เป็น : ร่วมงานเลี้ยงสิ้นปีการศึกษาให้ได้ และ คืนนั้นแฮร์รี่ลงไปงานเลี้ยงสิ้นปีการศึกษาตามลำพัง ตามลำดับ

พิกัด :

  • หน้า 241 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 20
  • หน้า 242 คอลัมน์ขวา บรรทัดที่ 18

หมายเหตุ : งานเลี้ยงสิ้นปีอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจสับสนว่าเป็นงานเลี้ยงปีใหม่ เลยคิดว่าเปลี่ยนเป็น “งานเลี้ยงสิ้นปีการศึกษา” เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากกว่า เพราะต้นฉบับใช้ end-of-year feast

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2558