ชาวไทยอย่างพวกเราคงได้เตรียมไม้กายสิทธิ์ให้พร้อมสำหรับร่ายคาถาผู้พิทักษ์ “เอกซ์เปกโต พาโตรนุม!” อย่างแน่นอน เมื่อมีการจดทะเบียนแมลงที่ค้นพบว่ามีถิ่นกำเนิดในไทยชื่อ “Ampulex dementor”
ทีม National History Museum ในเบอร์ลินได้ทำการขึ้นทะเบียนตัวต่อสายพันธุ์ใหม่ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศ ไทยเรา เจ้าตัวต่อชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่จากต่อสาบ (cockroach wasp) ถูกขนานนามว่า “ต่อคุมวิญญาณ” ตามความอันตรายเช่นเดียวกับชื่อของมัน ที่ถูกตั้งชื่อตาม ผู้คุมวิญญาณ (dementor) ในแฮร์รี่ พอตเตอร์
Ampulex dementor มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้คุมวิญญาณที่จะกลืนกินวิญญาณของเหยื่อจนหลงเหลือไว้เพียงความว่างเปล่า แต่กระบวนการต่างๆ ในร่างกายยังดำเนินได้เหมือนปกติหากแต่ไร้ตัวตนและความรู้สึก มันใช้วิธีการอันคล้ายคลึงนี้ในการทำให้แมลงสาบเป็นอัมพาต
ต่อสาบ หรือ cockroach wasp เป็นตัวต่อที่มักใช้แมลงชนิดอื่นเป็นรังฟักตัวอ่อน ซึ่งแมลงสาบเป็นเหยื่อที่มันนิยมใช้มากที่สุด ซึ่งบรรดาต่อสาบเหล่านี้จะทำการใช้ร่างของเหยื่อเป็นที่ฟักตัวอ่อน ซึ่งเจ้า Ampulex dementor จะทำให้แมลงสาบเป็นอัมพาตแล้วควบคุมร่างทั้งหมดของเหยื่อตามที่มันต้องการ เหยื่อจะไม่สามารถขยับได้เองแม้จะยังมีชีวิตอยู่ ตัวต่อชนิดนี้จะใช้เหยื่อเป็นรังฟักไข่และใช้เป็นอาหารให้ตัวอ่อนอีกด้วย
โดยชื่อนี้ได้รับการโหวตจากประชาชน ภายใต้การค้นพบของ Stefanie Krause และเพื่อนร่วมทีมของเธอ (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับตัวต่อ “Ampulex dementor” แบบละเอียดได้ที่ PLOS ONE) โดย Ampulex dementor ได้รับการโหวตถึง 105 เสียง
ก่อนที่จะได้รับการโหวตชื่อนี้ยังมีชื่ออื่นที่ถูกเสนอ ได้แก่
Ampulex bicolor : ตั้งตามลักษณะทางกายภาพของตัวต่อที่มีสองสีคือดำแดง
ได้รับการโหวต 41 เสียง
Ampulex mon : ตั้งตาม “มอญ” ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธุ์เก่าแก่ที่สุดของไทย โดยตั้งชื่อนี้ตามแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย
ได้รับการโหวต 36 เสียง
Ampulex plagiator : สายพันธุ์ใหม่ที่เลียนแบบมด มันพยายามเลียนแบบลักษณะทางกายภาพของมดรวมถึงลักษณะการเคลื่อนที่ ซึ่งถือได้ว่าตัวต่อชนิดนี้มีความสามารถในการเลียนแบบลักษณะของมด
ได้รับการโหวต 90 เสียง
โดยตัวต่อที่ได้รับการค้นพบสปีชีส์ใหม่นี้ จัดอยู่ในจีนัส Ampulex สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายมด มีลำตัวสีดำ-แดง มีปีก แน่นอนว่ายังมีสปีชีส์อื่นๆ ที่อยู่ในจีนัสเดียวกันนี้อีก แต่ Ampulex dementor เป็นสายพันธุ์ที่ถูกค้นพบในประเทศไทยเท่านั้น! ซึ่งได้รับการประกาศชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 เมษายน ปี 2014
[divider type=2 bg_color=”brown”]
*หากมีการให้ข้อมูลวิชาการที่ผิดพลาดประการใด ผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้สามารถเสริมได้นะครับ