ก่อนที่จะไปเที่ยวตามรอยแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่สหรัฐอเมริกา แน่นอนว่าเที่ยวข้ามทวีปกันขนาดนี้ต้องเตรียมตัวกันให้ดี งั้นมาทำความเข้าใจเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ก่อนเลยค่ะ
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกา
พื้นที่:
ประเทศนี้มีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ครอบคลุมอาณาเขตทวีปอเมริกาเหนือเยอะ ประเทศนี้แบ่งพื้นที่ได้เป็น 50 มลรัฐ กับอีก 1 เขตการปกครองพิเศษ (District) และยังมีพื้นที่อาณาเขตในการปกครอง (territories) อีกหลายที่ ทั้งที่มีคนอาศัยอยู่ 5 ที่ และไม่มีคนอาศัยอยู่อีก 9 ที่ ประเทศนี้มีพรมแดนติดกับประเทศแคนาดาและประเทศเม็กซิโก รวมถึงมีมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแบริง มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแอตแลนติก อ่าวเม็กซิโก และทะเลแคริบเบียนเป็นผืนน้ำล้อมรอบ
สำหรับ 50 มลรัฐกับอีก 1 เขตการปกครองพิเศษ 14 พื้นที่อาณาเขตในการปกครอง ได้แก่
50 มลรัฐคือ Alabama, Alaska, Arizona, Arkansas, California, Colorado, Connecticut, Delaware, Florida, Georgia, Hawaii, Idaho, Illinois, Indiana, Iowa, Kansas, Kentucky, Louisiana, Maine, Maryland, Massachusetts, Michigan, Minnesota, Mississippi, Missouri, Montana, Nebraska, Nevada, New Hampshire, New Jersey, New Mexico, New York, North Carolina, North Dakota, Ohio, Oklahoma, Oregon, Pennsylvania, Rhode Island, South Carolina, South Dakota, Tennessee, Texas, Utah, Vermont, Virginia, Washington, West Virginia, Wisconsin, Wyoming
1 เขตการปกครองพิเศษ (District) คือ District of Columbia ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Washington D.C.
5 พื้นที่อาณาเขตในการปกครอง (territories) ที่มีคนอาศัยอยู่คือ American Samoa, Guam, Northern Mariana Islands, Puerto Rico, U.S. Virgin Islands
9 พื้นที่อาณาเขตในการปกครอง (territories) ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่คือ Baker Island, Howland Island, Jarvis Island, Johnston Atoll, Kingman Reef, Midway Atoll, Navassa Island, Palmyra Atoll, Wake Island
สภาพอากาศและฤดูกาล:
ประเทศนี้มีฤดูหลัก ๆ 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม) ฤดูร้อน (มิถุนายน-สิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) และฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) เนื่องจากประเทศนี้พื้นที่กว้างมากอุณหภูมิในแต่ละพื้นที่จึงหลากหลาย เช่นว่า เดือนธันวาคม ถ้าเป็นมลรัฐทางตอนเหนือ เช่น นิวยอร์ค ก็จะหนาวมากมีหิมะ ในขณะที่ถ้าเป็นมลรัฐทางตอนใต้ เช่น ฟลอริด้า ก็จะอากาศสบาย ๆ ช่วงกลางวันบางวันก็อาจเจออุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส ดังนั้นก่อนไปเที่ยวต้องเช็คสภาพอากาศดี ๆ และดูด้วยว่าจะมีโอกาสเสี่ยงเจอพายุอะไรหรือไม่
เวลา:
ประเทศนี้มีพื้นที่กว้างจึงมีการแบ่งโซนเวลาพื้นฐานทั้งหมด 9 โซน แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึงแค่ 6 โซนซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 50 มลรัฐ กับ 1 เขตการปกครองพิเศษ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งเวลาแบบ Daylight Saving Time ในช่วงวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม – วันอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนด้วย ซึ่งจะทำให้เวลาเร็วขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว 1 ชั่วโมง แต่จะมีมลรัฐฮาวายกับมลรัฐแอริโซน่าที่ไม่นับเวลาแบบ Daylight Saving Time ด้วย ตามนี้
โซนเวลา Hawaii-Aleutian เวลาปกติ (HST) ช้ากว่าประเทศไทย 17 ชั่วโมง
โซนเวลา Alaska เวลาปกติ (AKST) ช้ากว่าประเทศไทย 16 ชั่วโมง ส่วนช่วงเวลาแบบ Daylight saving time (AKDT) เวลาช้ากว่าประเทศไทย 15 ชั่วโมง
โซนเวลา Pacific เวลาปกติ (PST) ช้ากว่าประเทศไทย 15 ชั่วโมง ส่วนช่วงเวลาแบบ Daylight saving time (PDT) เวลาช้ากว่าประเทศไทย 14 ชั่วโมง
โซนเวลา Mountain เวลาปกติ (MST) ช้ากว่าประเทศไทย 14 ชั่วโมง ส่วนช่วงเวลาแบบ Daylight saving time (MDT) เวลาช้ากว่าประเทศไทย 13 ชั่วโมง
โซนเวลา Central เวลาปกติ (CST) ช้ากว่าประเทศไทย 13 ชั่วโมง ส่วนช่วงเวลาแบบ Daylight saving time (CDT) เวลาช้ากว่าประเทศไทย 12 ชั่วโมง
โซนเวลา Eastern เวลาปกติ (EST) ช้ากว่าประเทศไทย 12 ชั่วโมง ส่วนช่วงเวลาแบบ Daylight saving time (EDT) เวลาช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง
ระบบเงินตรา:
ค่าเงินที่ใช้กันในประเทศนี้คือค่าเงิน ‘ดอลลาร์สหรัฐ’ (US Dollar) สัญลักษณ์สากลคือ $ หรือ โดยค่าเงินนี้ถ้าคิดเป็นเงินไทย ก็แล้วแต่จังหวะความผันผวนของค่าเงินค่ะ ซึ่งผู้อ่านก็ต้องเช็คดูค่าเงินจากธนาคารดู ตัวอย่างเช่น เว็บธนาคารไทยพาณิชย์
เบื้องต้นเงินเหรียญและธนบัตรที่ใช้ปัจจุบันจะเป็นตามนี้
ถ้าเป็นเหรียญ (เรียงตามภาพ)
1 เซนต์ (เรียกอีกชื่อว่าเหรียญ ‘เพนนี’) / 5 เซนต์ (เรียกอีกชื่อว่าเหรียญ ‘นิกเคิล’) / 10 เซนต์ (เรียกอีกชื่อว่าเหรียญ ‘ไดม์’) / 25 เซนต์ (เรียกอีกชื่อว่าเหรียญ ‘ควอร์เตอร์’) / 50 เซนต์ (เรียกอีกชื่อว่าเหรียญ ‘ฮาล์ฟดอลลาร์’) / 1 ดอลลาร์ (เรียกอีกชื่อว่าเหรียญ ‘บั๊ค’)
เหรียญ 25 เซนต์ กับเหรียญ 1 ดอลลาร์จะมีหลายลายมากให้ได้สะสม โดยมากเหรียญควอร์เตอร์ที่จะเจอทั่วไปจะเป็นรูปสัญลักษณ์มลรัฐต่าง ๆ ส่วนเหรียญดอลลาร์ส่วนใหญ่จะเจอรูปอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ
หมายเหตุ: 100 เซนต์ = 1 ดอลลาร์
ถ้าเป็นธนบัตร (เรียงตามภาพ)
1 ดอลลาร์ / 2 ดอลลาร์ / 5 ดอลลาร์ / 10 ดอลลาร์ / 20 ดอลลาร์ / 50 ดอลลาร์ / 100 ดอลลาร์
การใช้จ่ายเงินและการให้ทิป:
ประเทศนี้มีภาษีสินค้าที่จำนวนเปอร์เซ็นต์แต่ละที่ต่างกัน แม้แต่ในมลรัฐเดียวกันแต่คนละเขตภาษีก็ต่างกันได้ เช่น ภาษีสินค้าของที่ออร์แลนโด้ ฟลอริด้าคือ 6.5% ส่วนภาษีสินค้าของที่ลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนียคือ 9-9.5% นอกจากนี้สินค้าที่ซื้อนั้น ราคาที่โชว์ติดป้ายไว้ยังไม่รวมภาษีนะคะ ดังนั้นสมมติว่าถ้าเราจะซื้อของแบบเดียวกัน แบรนด์เดียวกันที่มีราคาต้นคือ 10 ดอลลาร์ แต่ต่างสถานที่กัน ราคาก็จะต่างค่ะ ราคารวมของสินค้าที่ว่านี้ถ้าซื้อที่ออร์แลนโด้ก็ต้องจ่าย 10.65 ดอลลาร์ (คิดภาษีโดยเอา 10 ÷ 100 x 6.5) แต่ถ้าซื้อที่ลอสแองเจลิสก็ต้องจ่าย 10.95 ดอลลาร์ (คิดภาษีโดยเอา 10 ÷ 100 x 9.5)
ส่วนธรรมเนียมการให้ทิปการบริการต่าง ๆ ซึ่งจะให้มากหรือน้อย เปอร์เซ็นต์แต่ละหมวดจะต่างกันไป ในแง่ภาพรวมมักให้ทิปกันที่ประมาณ 15-20% ของราคาค่าบริการที่แท้จริง โดยปกติถ้าเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดหรือการซื้อของใด ๆ ที่ต้องบริการตัวเองเองก็ไม่ต้องจ่ายค่าทิปค่ะ
ระบบขนส่งสาธารณะ:
ประเทศนี้จะมีระบบขนส่งหลากหลายแล้วแต่พื้นที่ ในเมืองใหญ่บางแห่ง เช่น นิวยอร์คซิตี้ หรือลอสแองเจลิส จะมีระบบรถไฟฟ้าครอบคลุมพื้นที่ในตัวเมือง ในขณะที่บางพื้นที่จะต้องอาศัยระบบรถประจำทางเป็นหลัก เช่น ออร์แลนโด้ ส่วนการเดินทางระหว่างมลรัฐ อาจใช้บริการรถไฟหรือเครื่องบินก็ได้ สำหรับสายการบินภายในประเทศ (โลว์คอส) อย่างสายการบินเดลต้า เค้าอนุญาตให้เอาสัตว์เลี้ยง เช่น หมา ขึ้นเครื่องไปด้วยได้ค่ะ อยู่ด้วยกันตรงที่นั่งเลย (แน่นอนว่าถ้าเจอน้องหมาเห่าหอนตลอดทางคือวิบากกรรมสุดฤทธิ์ค่ะ) ขึ้นอยู่กับความสะดวกเรื่องเวลาและราคา ส่วนรถแท็กซี่นั้นราคาแพงใช่เล่นนะคะ แถมต้องจ่ายค่าทิปด้วย ทางที่ดีเรียกอูเบอร์จะถูกกว่าค่ะ
สำหรับข้อมูลรถไฟระหว่างมลรัฐ (รถไฟ Amtrak) >>คลิกที่นี่<<
สำหรับข้อมูลสายรถไฟฟ้า-รถไฟใต้ดินที่นิวยอร์คซิตี้ >>คลิกที่นี่<<
สำหรับข้อมูลสายรถไฟฟ้า-รถไฟใต้ดินที่ลอสแองเจลิส >>คลิกที่นี่<<
สำหรับข้อมูลสายรถบัสที่จะผ่าน Universal Orlando Resort รถสาย 37 >>คลิกที่นี่<<
สำหรับข้อมูลสายรถบัสที่จะผ่าน Warner Bros. Studios Tour Hollywood รถสาย 222 >>คลิกที่นี่<<
ระบบไฟฟ้า:
ระบบไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกานั้นจะต่างจากที่ประเทศไทยคือ 120 V, 60 Hz ใช้ปลั๊กเสียบแบบ 2 ขา และ 3 ขา ทรงแบน อย่างไรก็ดีเราสามารถใช้ Adapter เพื่อแปลงกระแสไฟฟ้าได้กรณีนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยไปใช้ (ในอาคารและที่พักอาศัยสมัยใหม่ ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่ใช้ปลั๊กเสียบแบบ 3 ขา) โดยปกติที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์จะรองรับความแตกต่างของกระแสไฟได้อยู่แล้ว
สถานเอกอัครราชทูตไทยและสถานกงสุลใหญ่:
เนื่องจากเป็นประเทศที่ใหญ่จึงแบ่งอาณาเขตรับผิดชอบกันดังนี้ (อ้างอิง)
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
ที่อยู่: 1024 Wisconsin Ave. N.W., Washington, DC 20007
ข้อมูลติดต่ออื่น ๆ >>คลิกที่นี่<<
อาณาเขตรับผิดชอบ
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ค
ที่อยู่: 351 East 52nd Street New York, NY. 10022
ข้อมูลติดต่ออื่น ๆ >>คลิกที่นี่<<
อาณาเขตรับผิดชอบ
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส
ที่อยู่: 611 N.Larchmont Blvd., 2nd Floor, Los Angeles, CA 90004
ข้อมูลติดต่ออื่น ๆ >>คลิกที่นี่<<
อาณาเขตรับผิดชอบ
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก้
ที่อยู่: 700 North Rush Street, Chicago, IL 60611-2504
ข้อมูลติดต่ออื่น ๆ >>คลิกที่นี่<<
อาณาเขตรับผิดชอบ
ข้อมูลการทำวีซ่า:
ประเทศนี้มีประเภทวีซ่าหลากหลาย อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>คลิกที่นี่<< เบื้องต้นหากจะขอวีซ่าท่องเที่ยวจะเป็นวีซ่าประเภท B2 ซึ่งโดยทั่วไปถ้าทำวีซ่าผ่าน จะได้วีซ่าแบบ Multiple 10 ปี ซึ่งสามารถเดินทางเข้า-ออกประเทศนี้ได้ตลอดในระยะเวลา 10 ปีนับจากได้วีซ่าท่องเที่ยว
สำหรับขั้นตอนการกรอกแบบฟอร์มยื่นวีซ่า ดูตัวอย่างที่นี่ >>คลิกที่นี่<<