เจ.เค.โรว์ลิ่ง ผู้ประพันธ์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้ฝังไทม์แคปซูล ลงพื้นดินเพื่อเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นทำงานวิจัยคลีนิค เพื่อผู้ป่วยด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองตีบ ณ มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก ภาพของโจที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก ซึ่งเธอบริจาคเงินไป 10 ล้านปอนด์ ในชื่อของแม่ที่เสียไปแล้วของเธอ
ในไทม์แคปซูลประกอบด้วยรายชื่อผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ และโรคต่างๆ ที่มีการทำลายของเซลล์ประสาทในสมอง ที่เป็นผลงานการรักษาโดยคลินิก ความหวังการให้คำแนะนำ การรักษาในอนาคต
‘คลินิกฟื้นฟูระบบประสาท แอนน์ โรว์ลิ่ง’ (Anne Rowling Regenerative Neurology) เน้นการวิจัยในระดับคลินิก เพื่อหาทางรักษาหรือชะลอการลุกลามของโรคเหล่านี้ รวมไปถึงความหวังในการฟื้นฟูผู้ป่วยด้วย
การทำงานที่คลีนิกยังต้องพยายามเข้าใจและรับกับสภาพเหล่านี้ เช่น โรคสมองเสื่อม, โรคฮันติงตั้น, โรคพาร์กินสัน และโรคเซลล์ประสาทการเคลื่อนไหวผิดปกติ
เจ.เค.โรว์ลิ่ง: “ฉันรู้สึกดีใจกับสองอย่างนี้มากเมื่อไปถึงแล้วทำสัญลักษณ์ หรือสัญญาณว่าฉันได้เริ่มทำงานที่คลินิกฟื้นฟูระบบประสาท แอนน์ โรว์ลิ่ง (Anne Rowling Regenerative Neurology) ไทม์ แคปซูลนี้รวบรวมวิธีที่จะอยู่อย่างไรกับ โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis MS) และโรคอื่นๆ ที่ผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ปัจจุบันยังอยู่ในช่วงการวิจัย”
“ฉันเชื่อว่าคลินิกแห่งนี้จะมีผลใน เชิงบวกในสองพื้นที่นี้ในอนาคต ฉันรู้สึกประทับใจอย่างมากที่ได้ตั้งคลีนิกในที่ที่ห่างไกล ฉันหวังว่าจะได้เห็นมันเสร็จสมบูรณ์ยิ่งใหญ่และก้าวหน้าในทางการวิจัยและการรักษา”
คลีนิกแห่งนี้จะสามารถใช้งานได้ในปี 2012 จะตั้งอยู่ในสถานที่ในมหาวิทยาลัย ที่อยู่ถัดจากโรงพยาบาลรอยัล อินเฟอมารี ในเอดินเบิร์ก และภายในเรือโปรเจ็กของนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ประสาทวิทยาของไบโอควอเตอร์ มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก
Siddharthan Chandran ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาของมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก ผู้เป็นหัวหน้าของคลินิกนี้ กล่าวว่า “โรคต่างที่มีการทำลายของเซลล์ประสาทในสมอง 1 ในปัญหาที่หลักที่ใช้การแพทย์ที่ทันสมัย ภายในกลุ่มของผู้มีความผิดปกติร้ายแรง ในกลุ่มของผู้ป่วยผิดปกติร้ายแรงโรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis) ไม่ได้มีผลกระทบต่อชาวสกอตแลนด์”
“ผู้ป่วยทุกรายที่เป็นโรคนี้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อที่จะชะลออาการ หรือหยุด และการคิดย้อนกลับความเสียหาย คลินิกนี้จะเป็นผู้บุกเบิกในช่วงการศึกษาที่เวลาผ่านไป จะช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้ป่วยที่ผ่านการวิจัยทางคลินิก”