ครบรอบหนังสือ “แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ”

แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ หรือ Harry Potter and the Chamber of Secrets วางจำหน่ายขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1998 ในรูปแบบของหนังสือปกแข็ง ซึ่งวาดปกโดย Cliff Wright ด้วยจำนวนทั้งสิ้นเพียง 706 เล่มเท่านั้น ขณะที่เล่มแบบปกอ่อนจำหน่ายภายหลังในวันที่ 28 มกราคม 1999 (อ้างอิงหนังสือ J.K. Rowling – A Bibliography 1997-2013)

ซึ่งในวันที่มีการออกอากาศรายการ Harry Potter and Me ทางช่อง BBC television เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ปี 2001 เจ.เค.โรว์ลิ่งได้เปิดเผยว่า รถฟอร์ดแองเกลียของครอบครัววีสลีย์ที่รอนพามารับแฮร์รี่ พอตเตอร์ ออกจากบ้านเลขที่ 4 ซอยพรีเว็ตนั้น ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพื่อนสนิทคนหนึ่งของเธอที่ชื่อ Séan P.F. Harris เพื่อนร่วมชั้นเรียนเจ้าของรถฟอร์ดแองเกลียสีเทอร์คอยซ์จริงๆ ที่พาเธอออกไปผจญภัยโลกภายนอกเหมือนที่แฮร์รี่ได้รับจากรอนนั่นเอง

นอกจากนั้น เจ.เค.โรว์ลิ่งยังเปิดเผยอีกว่า เธอส่งหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับในภาษาต่างประเทศให้กับแฮร์ริสประมาณ 13 เล่ม แต่การจัดส่งเกิดพลัดหลง บางส่วนถูกนำไปขาย (มีประมาณ 7-8 เล่มที่ได้รับกลับคืนมาในภายหลัง) หนังสือที่มีคำอุทิศในแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ ภาษาต่างประเทศมีแนวโน้มว่าจะมาจากแหล่งเดียวกันนี้

การตีพิมพ์หนังสือภาคต่อ

เมื่อหนังสือเล่มแรกประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ความกดดันทั้งหมดจึงตกมาอยู่ในเล่มที่ 2 และในช่วงนี้เองที่เธอให้สัมภาษณ์ว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์ จะมีทั้งหมด 7 เล่ม

นี่คือข้อความการติดต่อระหว่าง เอ็มม่า แมตทิวสัน (Senior Commisioning Editor ของสำนักพิมพ์ Bloomsbury) ถึง เจ.เค.โรว์ลิ่ง เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1997 ซึ่งเก็บไว้ในจดหมายเหตุของ Bloomsbury

… I am writing now with my thoughts on HARRY POTTER AND THE CHAMBER OF SECRETS. My first thought I should say right now is that it is going to be absolutely brilliant! There is no doubt about that – and no danger of the sequel not coming up to the expectations of the first… … enclosed is the manuscript where I have written on various comments and suggestions… generally, as we’ve discussed, the manuscript is over-long. I have suggested some possible places for cuts…

… ฉันเขียนความคิดเห็นของฉันสำหรับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ มาให้แล้วนะคะ ความคิดแรกของฉันในตอนนี้ก็คือมันเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมมากค่ะ! ไม่ต้องสงสัยเลย และไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงสำหรับกลุ่มความคาดหวังจากเล่มแรกที่จะกระทบมาถึงเล่มนี้ค่ะ… … ที่แนบมาด้วยนี้คือต้นฉบับที่ฉันเขียนความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ… ปกติแล้วเราต้องใช้เวลาพูดคุยถึงต้นฉบับกันนานอยู่แล้ว ฉันพอจะมีที่ดีๆ สำหรับตัด…

หลังจากนั้นการพูดคุยถึงต้นฉบับหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ ก็เกิดขึ้นในช่วงบ่ายของวันที่ 20 สิงหาคม 1997 ระหว่างการนัดพบกันของ Emma Matthewson และ J.K.Rowling ที่เอดินบะระ และเนื้อหาบางส่วนถูกตัดออกไปจากการตีพิมพ์จริง อย่างบทกลอนของนิกหัวเกือบขาด ที่เธอมองว่าการตัดเนื้อหาส่วนนี้ออกเป็นอะไรที่สร้างความกลัดกลุ้มใจไม่น้อย แต่ก็ยอมรับว่ามันเป็น “ความฟุ่มเฟือยของเนื้อหาเกินจำเป็น” และต่อมาเจ.เค.โรว์ลิ่ง ก็ได้ลงบทกลอนนี้ในเว็บไซต์ทางการของเธอ www.jkrowling.com ที่ปัจจุบันไม่มีเนื้อหานี้แล้ว แต่คุณสามารถอ่านได้ผ่านทาง Muggle-V ทั้งต้นฉบับและแปลไทย คลิก! และได้เขียนอีกอย่างน้อยสองครั้ง ครั้งหนึ่งเพื่อนำเข้าประมูลในวันที่ 24 มีนาคม 2005 เพื่อระดมทุนให้กับพจนานุกรมภาษาสก๊อต โดยใช้ชื่อเพลงว่า ‘The Ballad of Nearly Headless Nick’ ด้วยรายได้จากการประมูล £2,000

rowlingSUM_1719740c

แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ ในต่างประเทศ

แน่นอน ทันทีที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับความนิยมในอังกฤษ และเล่มที่สองวางจำหน่าย กระแสแฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็เริ่มไปถึงต่างประเทศ สำนักพิมพ์ Scholastic ของอเมริกามีการตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับขึ้นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ปี 1999 โดยบันทึกวันวางจำหน่ายแตกต่างกัน บางแหล่งระบุวันที่ 1 ขณะที่สื่ออีกส่วนระบุวันที่ 2 มิถุนายน ซึ่งทางสำนักพิมพ์ระบุวันวางจำหน่ายครั้งแรกคือวันที่ 2 มิถุนายน 1999 จำนวน 250,000 เล่ม (อ้างอิง Scholastic)

ในการตั้งชื่อภาคแต่ละภาคในต่างประเทศ บางแห่งมีการเปลี่ยนใจความไปจากเดิม อย่างในภาษาเยอรมันใช้ชื่อว่า Harry Potter und die Kammer des Schreckens มีความหมายว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องที่น่าหวาดกลัว

ที่น่าสนใจที่สุดในหนังสือเล่มนี้คือชื่อของลอร์ดโวลเดอมอร์ ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ หลายประเทศตัดสินใจให้ชื่อของโวลเดอมอร์เปลี่ยนไปตามการสลับที่ของตัวอักษรให้ตรงตามกลวิธีการตั้งชื่อ เพราะในหนังสือเล่มนี้ ทอม มาร์โวโล ริดเดิ้ล (TOM MARVOLO RIDDLE) เปิดเผยวิธีการตั้งชื่อของเขาว่ามาจากการสลับที่ตัวอักษรจนเป็นคำว่า “I am Lord Voldemort” อย่างในภาษาสเปนใช้ว่า “SOY LORD VOLDEMORT” ทำให้ชื่อจริงของโวลเดอมอร์เปลี่ยนไปเป็น Tom Sorvolo Ryddle หรือในภาษาเดนนิชชื่อจริงของโวลเดอมอร์คือ Romeo G. Detlev ถ้าอยากรู้ว่าแต่ละประเทศเปลี่ยนชื่อของโวลเดอมอร์ยังไงบอก ลองดูได้จากใน Harry Potter Wiki เลยครับ

แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ ในไทย

แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ มาถึงเมืองไทยพร้อมกันกับเล่ม 1 และเล่ม 3 ในปี 2000 โดยได้รับการแนะนำแก่สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ โดยอาจารย์สุมาลี ผู้แปลแฮร์รี่ พอตเตอร์ ภาค 1 และ 2 โดยตีพิมพ์เล่มสองในไทยครั้งแรกเดือนกันยายน ปี 2000 (2543) ทั้งสิ้น 40,000 เล่ม

HPBook2-CoS-thai

ซึ่งงานเปิดตัวของหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ ฉบับภาษาไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2000 (พ.ศ.2543) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ในการตีพิมพ์ครั้งแรกชื่อต่างๆ ยังไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข เนื่องจากการถอดเสียงที่ถูกต้องนั้นเกิดขึ้นภายหลัง เราจึงจะได้เห็นคำแปลกๆ น่ารักที่คนกลุ่มปัจจุบันคงไม่ได้เห็นกันแล้ว อย่างคำว่า “สไลธีริน, ยอร์ช วีสลีย์, ออบลิเวียต! หรือลอร์ดโวลเดอมอร์ต”

ที่น่ารักไปกว่าปัจจุบันคือบรรดาข้อความของผู้อ่านที่เขียนถึงสำนักพิมพ์และได้รับการคัดเลือกมาตีพิมพ์ในใบเปิดของหนังสือ

HPBook2-CoS-thai-inside1