เนื้อหาต่อจากนี้เป็นเพียงเนื้อหน้าที่คัดเอาเฉพาะส่วนสำคัญหลักจากเนื้อหาต้นฉบับใน The Guardian คุณสามารถอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษเต็มๆ ได้ที่นี่
เจ.เค.โรว์ลิ่ง: “จากบทส่งท้ายในเล่มที่เจ็ดมันค่อนข้างบอกชัดเจนว่าเนื้อเรื่องที่ฉันสนใจจะเดินต่อไปทางไหน มันชัดเจนมากว่าตัวละครในบทส่งท้ายที่ฉันให้ความสำคัญคือ อัลบัส เซเวอรัส พอตเตอร์ และคุณก็เห็น สกอร์เปียส อยู่ที่ชานชาลาด้วย”
“เมื่อคืนฉันตื่นตั้งแต่ตีสี่ เราอยู่ในโรงละครทั้งคืน และฉันได้ดูบทหนึ่งที่สำคัญในใจฉันในฉากและเครื่องแต่งกายจริง มันตื้นตันมากเลยล่ะ”
“คุณคงพอจะนึกภาพออกว่ามีคนขอให้ฉันทำอะไรกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ต่อ อาทิตย์ละห้าครั้งหลังจากที่หนังสือจบลง Sonia Friedman โปรดิวเซอร์ อยากจะทำอะไรเกี่ยวกับละครเวที และฉันได้ยินชื่อเสียงของเธอมาด้วย ฉันเลยอยากจะเจอเธอมากๆ เพื่อจะได้คุยกันว่าเธอมีไอเดียอะไรบ้าง”
“Jack Thorne (ผู้เขียนบท) และฉันคล้ายกันในหลาย ๆ เรื่อง เราทั้งสองคน ที่แม้ตอนนี้จะดูร่าเริงมาก ๆ ค่อนข้างชอบเก็บตัวในมุมห้องเงียบ ๆ และรูปแบบการทำงานของเราทั้งสองคนก็ไปในทิศทางเดียวกัน ฉันคิดว่าเขาเป็นหนึ่งในทีม”
“สิ่งที่แจคพูดถึง ET… ทำให้เขาเป็นคนที่ใช่สำหรับงานนี้ เพราะเขาเข้าใจมัน มันเพอร์เฟกต์มาก เหตุผลที่คนชอบแฮร์รี่ พอตเตอร์เป็นจำนวนมากเป็นเพราะมันให้ความรู้สึกที่เป็นไปได้ ความรู้สึกที่มันสามารถมีอะไรได้มากกว่านี้ในโลกที่เราอยู่ ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้ว่ามันจะสัมผัสได้ในระยะใกล้ ๆ แต่เราก็รู้สึกได้ว่ามีอะไรมากกว่านั้น มันเหมือนเป็นเครื่องบอกเราว่ามีโลกอื่นที่แตกต่างออกไป มันไม่จำเป็นต้องเป็นโลกเวทมนตร์ แต่สำหรับเด็กที่โดดเดี่ยวหรือคนที่ไม่มีความมั่นใจ คนที่รู้สึกแตกต่างหรือแปลกแยก ความรู้สึกที่ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของโลก ๆ นั้น ๆ เปรียบได้กับทุกอย่าง”
เมื่อคุณได้เจอกับเจ.เค. คุณจะรู้สึกได้เลยว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์ไม่เคยไปจากเธอเลย “มันเป็นเวลาถึง 17 ปี ถึงฉันไม่ได้เขียนมันอีกแล้ว ไม่ได้หมายความว่าเรื่องราวจะต้องหยุด” เธอกล่าว “มันเหมือนกับการวิ่งมาอย่างยาวนาน คุณจะไม่หยุดกึกที่เส้นชัยในทันที ฉันมีข้อมูล ไอเดีย และธีมในหัวของฉัน และเรา (เธอหันไปหา Tiffany และ Thorne) สร้างเนื้อเรื่องขึ้นมา”
มันเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้วที่เธอได้เขียนบทส่งท้ายในหนังสือเล่มสุดท้าย “แต่ฉันมีโลกนั้นอยู่ในหัวฉันตลอดเวลา” เธอยอมรับ “ฉันไม่มีทางที่จะเกลียดโลกนั้น ฉันรักมันมาก แต่ฉันก็อยากเล่าเรื่องราวในเรื่องอื่น ๆ บ้าง ถ้าจะให้พูดตามตรง ฉันรู้สึกว่า ถ้าฉันมีความสุขฉันก็จะทำมัน แต่ถ้าไม่ ฉันก็จะไม่ทำ”
อันที่จริง ทั้งภาพยนตร์และละครเวทีทำให้ปี 2016 เป็นเหมือนคำที่เธออธิบายไว้ว่า “ปีแห่งโลกเวทมนตร์” “ฉันไม่เคยบอกว่าจะไม่ทำเลย และเหตุผลที่ฉันพูดอย่างงั้น เป็นเพราะว่าฉันมีไอเดียค้างอยู่ทั้งสองทาง ในสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ได้เล่าเรื่องก่อนหน้า และในละครเวทีจะเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่ต่อมา เพราะฉะนั้นฉันมีข้อมูลพวกนี้ในหัวของฉัน”
“มีคนถามฉันเยอะมากว่าจะทำละครเพลงไหม ฉันไม่ชอบละครเพลง” เธอบอกพร้อมแบะปาก “แต่ในทางตรงกันข้ามฉันรักละครเวที มันเป็นโลกที่ดึงดูด มันไม่มีอะไรเหมือนเวลาคุณเห็นนักแสดงแสดงสดบนเวที แต่ฉันยังไม่เคยมีใครที่มาหาหรือเสนอไอเดียที่น่าสนใจกับฉันเท่ากับตอนนี้”
“ฉันคิดว่า ด้วยประสบการณ์ละครเวทีและบทละครเวทีเรื่องนี้ ผู้คนจะไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน และเมื่อคนได้มาดูแล้วก็จะเข้าใจทันทีว่าทำไมเรื่องนี้ถึงใช้วิธีการนำเสนอในรูปแบบละครเวที”
ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ Noma Dumezweni ได้รับบทเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และปฏิกิริยาตอบรับจากแฟน ๆ ทั้งโลก
“จากประสบการณ์ของฉันในสื่อโซเชียล ฉันคิดว่าพวกงี่เง่าก็จะงี่เง่าอยู่อย่างนั้น” เธอบอก “แต่ฉันจะพูดยังไงได้? ก็โลกของเรามันเป็นแบบนี้ โนมาได้รับบทนี้เพราะเธอเป็นนักแสดงที่มีความสามารถที่สุดสำหรับบทนี้ ตอนจอห์นบอกฉันว่าได้เลือกเธอมา ฉันบอกว่า “โอ้ นั่นดีมาก เพราะฉันได้เห็นเธอตอนเวิร์กชอปและเธอก็เยี่ยมมาก”
“With my experience of social media, I thought that idiots were going to idiot,” she says. “But what can you say? That’s the way the world is. Noma was chosen because she was the best actress for the job. When John told me he’d cast her, I said, ‘Oh, that’s fabulous’ because I’d seen her in a workshop and she was fabulous.”
“ฉันได้รับข้อความเหยียดผิวเป็นจำนวนมากบอกว่า เฮอร์ไมโอนี่ ‘หน้าสีขาว’ ซึ่งมาจากการที่หน้าเธอถอดสีหลังจากเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เธอช็อก มันต้องแปลว่าเธอเป็นผู้หญิงผิวขาว (เพิ่งเติมโดยผู้แปล ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า turned white ซึ่งแปลตรงตัวว่าเปลี่ยนเป็นสีขาว แต่สามารถแปลได้อีกอย่างว่าหน้าถอดสี ไม่ได้จำเป็นว่าหมายถึงสีขาวเท่านั้น) ซึ่งฉันรู้สึกว่ามันเป็นปัญหามากๆ แต่ฉันก็ตัดสินใจที่จะให้กำลังใจและบอกอย่างมั่นใจว่า เฮอร์ไมโอนี่เป็นคนผิวดำได้ และฉันก็รู้สึกดีใจและตื่นเต้น”
“ฉันเคยผ่านเรื่องแบบนี้มาเยอะมาก” โรว์ลิ่งกล่าว “และฉันก็อยากให้ไปถึงจุดนั้นโดยไม่มีการโดยสปอยล์เนื้อหาในส่วนสำคัญ อันที่จริงแล้วเป็นเพราะว่าคนที่มาดูจะได้ประสบการณ์ที่สุดยอดถ้าเขาไม่รู้ว่าจะมาเจอกับอะไรบ้าง”
“พูดในแง่ทั่วไปแล้ว แฟนแฮร์รี่ พอตเตอร์เหมือนชุมชน ทุกคนคอยช่วยเหลือกัน ทุกคนอยากรู้สึกถึงความลึกลับและประหลาดใจ เราเลยมีความหวัง แต่ถึงแม้จะไม่ได้เป็นไปอย่างนั้นมันก็ไม่ใช่จุดจบของทุกอย่าง เราคงไม่ออกมาโวยวายกับเรื่องนี้ แต่เราหวังว่า เพื่อผู้ชมเอง สปอยล์จะไม่หลุดออกไป”
ละครเวที Harry Potter and the Cursed Child ทั้ง ภาค มีกำหนดแสดงอย่างเป็นทางการในรอบปฐมทัศน์วันที่ 30 กรกฎาคมนี้ และจะเปิดรอบพรีวิว 7 มิถุนายนนี้ ณ โรงละคร Palace Theatre ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และหากคุณไม่มีโอกาสที่จะได้รับชมการแสดงละครเวทีเรื่องนี้ ก็สามารถรับรู้เรื่องราวทั้งหมดได้ในหนังสือรวมบทละครเวที ได้ในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้พร้อมกันทั่วโลก (แต่ยังไม่มีแผนการผลิตเป็นภาษาไทย)